ห้องสมุดออนไลน์ของวอชเทาเวอร์
ห้องสมุดออนไลน์
ของวอชเทาเวอร์
ไทย
  • คัมภีร์ไบเบิล
  • สิ่งพิมพ์
  • การประชุม
  • รร บทเรียน 3 น. 89-น. 92 ว. 4
  • การ​ออก​เสียง​อย่าง​ถูก​ต้อง

ไม่มีวีดีโอสำหรับรายการนี้

ขออภัย โหลดวีดีโอนี้ไม่ได้

  • การ​ออก​เสียง​อย่าง​ถูก​ต้อง
  • การรับประโยชน์จากโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า
  • เรื่องที่คล้ายกัน
  • ทำไมควรใช้พระนามของพระเจ้าแม้ไม่แน่ใจว่าออกเสียงอย่างไร?
    หอสังเกตการณ์ประกาศราชอาณาจักรของพระยะโฮวา 2008
  • “ยะโฮวา” หรือ “ยาห์เวห์”?
    หอสังเกตการณ์ประกาศราชอาณาจักรของพระยะโฮวา 1999
การรับประโยชน์จากโรงเรียนการรับใช้ตามระบอบของพระเจ้า
รร บทเรียน 3 น. 89-น. 92 ว. 4

บทเรียน 3

การ​ออก​เสียง​อย่าง​ถูก​ต้อง

คุณ​ต้อง​ทำ​อะไร?

พูด​แต่​ละ​คำ​ให้​ถูก​ต้อง. นี่​เกี่ยว​ข้อง​กับ (1) การ​พูด​คำ​ต่าง ๆ ด้วย​การ​ออก​เสียง​ถูก​ต้อง, (2) การ​เน้น​พยางค์​ที่​ถูก​ต้อง, และ (3) ใน​หลาย​ภาษา การ​เอา​ใจ​ใส่​ให้​ดี​ต่อ​เครื่องหมาย​การ​ออก​เสียง.

เหตุ​ใด​จึง​สำคัญ?

การ​ออก​เสียง​ที่​ถูก​ต้อง​ทำ​ให้​ข่าวสาร​ที่​เรา​ประกาศ​สั่ง​สอน​มี​คุณค่า​มาก​ขึ้น. ผู้​ฟัง​จะ​มุ่ง​ความ​สนใจ​ไป​ยัง​ข่าวสาร​ที่​เรา​ประกาศ ไม่​ใช่​ที่​การ​ออก​เสียง​ใด ๆ ที่​ไม่​ถูก​ต้อง.

ไม่​ใช่​คริสเตียน​ทุก​คน​มี​การ​ศึกษา​สูง. แม้​แต่​อัครสาวก​เปโตร​และ​โยฮัน​ก็​ยัง​ได้​รับ​การ​พรรณนา​ว่า “มี​ความ​รู้​น้อย และ​มิ​ได้​เล่า​เรียน​มาก.” (กิจ. 4:13) กระนั้น เป็น​สิ่ง​สำคัญ​ที่​คุณ​พึง​หลีก​เลี่ยง​การ​ทำ​ให้​ผู้​ฟัง​เขว​ไป​จาก​การ​ประกาศ​ความ​จริง​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ด้วย​การ​ออก​เสียง​ไม่​ถูก​ต้อง.

ปัจจัย​ต่าง ๆ ที่​ต้อง​คำนึง​ถึง. หลักการ​ออก​เสียง​แบบ​หนึ่ง​ใช่​ว่า​จะ​นำ​ไป​ใช้​ได้​กับ​ทุก​ภาษา. หลาย​ภาษา​มี​การ​เขียน​ใน​ระบบ​พยัญชนะ. นอก​จาก​ตัว​พยัญชนะ​ใน​ภาษา​ไทย​แล้ว ภาษา​อื่น ๆ เช่น กรีก, ซีริลลิก, ลาติน, อะระบิก, และ​ฮีบรู ก็​มี​การ​ใช้​ตัว​พยัญชนะ​เช่น​กัน. ใน​ภาษา​จีน แทน​ที่​จะ​เขียน​เป็น​พยัญชนะ ตัว​อักษร​ที่​ใช้​ใน​การ​เขียน​อาจ​ประกอบ​ด้วย​อักขระ​ย่อย​หลาย​ตัว. ตาม​ปกติ​ตัว​อักษร​เหล่า​นี้​คือ​คำ​หนึ่ง​หรือ​เป็น​ส่วน​ของ​คำ​หนึ่ง ๆ. ถึง​แม้​ภาษา​ญี่ปุ่น​และ​เกาหลี​ยืม​ตัว​อักษร​จีน​ไป​ใช้ แต่​การ​ออก​เสียง​ตัว​อักษร​นั้น​ก็​อาจ​แตกต่าง​กัน​มาก​และ​อาจ​มี​ความ​หมาย​ไม่​เหมือน​กัน.

ใน​ภาษา​ที่​ใช้​ตัว​พยัญชนะ การ​ออก​เสียง​ถูก​ต้อง​จำเป็น​ต้อง​ออก​เสียง​พยัญชนะ​แต่​ละ​ตัว​หรือ​แต่​ละ​กลุ่ม​อย่าง​ถูก​ต้อง. เมื่อ​ภาษา​นั้น​มี​กฎ​แน่นอน​ที่​ต้อง​ติด​ตาม ดัง​เช่น​ใน​ภาษา​กรีก, สเปน, และ​ซูลู การ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​นั้น​จึง​ไม่​ใช่​เรื่อง​ยาก​จน​เกิน​ไป. อย่าง​ไร​ก็​ตาม อิทธิพล​จาก​ต่าง​ประเทศ​ที่​มี​ต่อ​ภาษา​หนึ่ง ๆ อาจ​มี​ผล​ต่อ​การ​ออก​เสียง​ซึ่ง​แสดง​ให้​เห็น​แหล่ง​ที่​มา​ของ​คำ​ต่าง ๆ. ผล​ก็​คือ พยัญชนะ​บาง​ตัว​หรือ​บาง​กลุ่ม​อาจ​ออก​เสียง​ได้​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี หรือ​บาง​ครั้ง​อาจ​ไม่​ออก​เสียง​เลย. คุณ​อาจ​ต้อง​ท่อง​จำ​ข้อ​ยก​เว้น​เหล่า​นั้น​แล้ว​ใช้​บ่อย ๆ ใน​การ​พูด​ของ​คุณ. ใน​ภาษา​จีน การ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​จำเป็น​ต้อง​จด​จำ​ตัว​อักษร​หลาย​พัน​ตัว. ใน​บาง​ภาษา ความ​หมาย​ของ​คำ​หนึ่ง​เปลี่ยน​ไป​เมื่อ​มี​การ​เปลี่ยน​ระดับ​เสียง. การ​ไม่​เอา​ใจ​ใส่​อย่าง​เพียง​พอ​ใน​แง่​มุม​นี้​ของ​ภาษา​อาจ​ทำ​ให้​ถ่ายทอด​แนว​คิด​อย่าง​ผิด ๆ ก็​ได้.

ถ้า​คำ​ใน​ภาษา​หนึ่ง​ประกอบ​ด้วย​หลาย​พยางค์ เป็น​เรื่อง​สำคัญ​ที่​จะ​อ่าน​เน้น​ให้​ถูก​พยางค์. หลาย​ภาษา​ที่​มี​โครง​สร้าง​เช่น​นั้น​มี​แบบ​แผนที่​เป็น​มาตรฐาน​พอ​สม​ควร​เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​เน้น. ถ้า​ไม่​เป็น​ไป​ตาม​แบบ​แผน​หรือ​เป็น​กรณี​ยก​เว้น ก็​อาจ​จะ​มี​การ​ทำ​เครื่องหมาย​เน้น​เสียง​ใน​คำ​นั้น. เครื่องหมาย​นี้​ช่วย​ให้​ง่าย​ขึ้น​ที่​จะ​ออก​เสียง​อย่าง​ถูก​ต้อง. อย่าง​ไร​ก็​ตาม หาก​แบบ​แผน​นั้น​ไม่​คง​เส้น​คง​วา ปัญหา​ก็​คง​ยุ่งยาก​มาก​ขึ้น. ต้อง​อาศัย​การ​จด​จำ​อย่าง​มาก​เพื่อ​จะ​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ ได้​อย่าง​ถูก​ต้อง.

เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​นั้น มี​หลุมพราง​บาง​อย่าง​ที่​พึง​หลีก​เลี่ยง. การ​ออก​เสียง​ชัด​ถ้อย​ชัด​คำ​มาก​เกิน​ไป​อาจ​ทำ​ให้​รู้สึก​ว่า​เป็น​การ​เสแสร้ง หรือ​อาจ​ถึง​กับ​ถูก​มอง​ว่า​เป็น​การ​วาง​ภูมิ. อาจ​กล่าว​ได้​เช่น​เดียว​กัน​กับ​การ​ออก​เสียง​แบบ​ที่​เลิก​ใช้​กัน​ไป​แล้ว. ผล​ที่​เกิด​ขึ้น​นั้น​จะ​เป็น​การ​นำ​ความ​สนใจ​มา​สู่​ผู้​พูด. ใน​อีก​ด้าน​หนึ่ง นับ​ว่า​ดี​ที่​จะ​หลีก​เลี่ยง​การ​พูด​ที่​ไม่​สนใจ​จะ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง​เอา​เสีย​เลย. มี​การ​พิจารณา​เรื่อง​เหล่า​นี้​ไป​บ้าง​แล้ว​ใน​บท​เรียน “การ​พูด​ให้​ชัด​ถ้อย​ชัด​คำ.”

ภาษา​หนึ่ง​อาจ​มี​การ​ใช้​พูด​กัน​ใน​หลาย​ประเทศ และ​การ​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ อัน​เป็น​ที่​ยอม​รับ​ก็​อาจ​แตกต่าง​กัน​ไป​ใน​ประเทศ​เหล่า​นั้น แม้​แต่​ใน​ประเทศ​เดียว​กัน ภูมิภาค​ต่าง ๆ ของ​ประเทศ​ก็​อาจ​ออก​เสียง​แตกต่าง​กัน. คน​ที่​มา​จาก​อีก​ประเทศ​หนึ่ง​อาจ​พูด​ภาษา​ดัง​กล่าว​ด้วย​สำเนียง​เฉพาะ​ตัว. พจนานุกรม​อาจ​บอก​วิธี​ออก​เสียง​อัน​เป็น​ที่​ยอม​รับ​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี. โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง ถ้า​คน​ใด​ที่​ไม่​มี​โอกาส​เรียน​สูง หรือ​ถ้า​ภาษา​ที่​เขา​พูด​ขณะ​นี้​ไม่​ใช่​ภาษา​แม่ เขา​จะ​ได้​รับ​ประโยชน์​มาก​หาก​ตั้งใจ​ฟัง​ผู้​ที่​พูด​ภาษา​นั้น​ได้​ดี​และ​ฝึก​ออก​เสียง​แบบ​เขา. ฐานะ​เป็น​พยาน​พระ​ยะโฮวา เรา​ปรารถนา​จะ​พูด​ใน​วิธี​ที่​ทำ​ให้​ข่าวสาร​ที่​เรา​ประกาศ​มี​ศักดิ์ศรี และ​ทำ​ให้​ผู้​คน​ใน​เขต​ของ​เรา​เข้าใจ​ได้​ง่าย.

ใน​การ​สนทนา​ประจำ​วัน มัก​จะ​ดี​ที่​สุด​ที่​จะ​ใช้​คำ​ซึ่ง​คุณ​รู้​จัก​ดี. โดย​ปกติ​แล้ว คน​เรา​มัก​ไม่​มี​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​การ​ออก​เสียง​ใน​การ​สนทนา​ทั่ว​ไป. อย่าง​ไร​ก็​ตาม เมื่อ​คุณ​อ่าน​ออก​เสียง คุณ​อาจ​พบ​บาง​คำ​ที่​คุณ​ไม่​ได้​ใช้​ใน​การ​สนทนา​ประจำ​วัน. และ​พยาน​พระ​ยะโฮวา​ต้อง​อ่าน​ออก​เสียง​บ่อย ๆ. เรา​อ่าน​คัมภีร์​ไบเบิล​ให้​ประชาชน​ฟัง​เมื่อ​เรา​ให้​คำ​พยาน​กับ​พวก​เขา. พี่​น้อง​ชาย​บาง​คน​ถูก​ขอ​ให้​อ่าน​วรรค​ต่าง ๆ ณ การ​ศึกษา​วารสาร​หอสังเกตการณ์ หรือ​การ​ศึกษา​หนังสือ​ประจำ​ประชาคม. เป็น​สิ่ง​สำคัญ​ที่​เรา​จะ​อ่าน​อย่าง​ถูก​ต้อง​และ​ไม่​ทำ​ให้​ข่าวสาร​นั้น​ด้อย​ค่า​ลง​เนื่อง​จาก​การ​ออก​เสียง​ไม่​ถูก​ต้อง.

คุณ​พบ​ว่า​มี​บาง​ชื่อ​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล​ไหม​ที่​ออก​เสียง​ยาก? ใน​ภาษา​ไทย​มี​กฎเกณฑ์​การ​อ่าน​ที่​แน่นอน การ​ออก​เสียง​สั้น​หรือ​ยาว​นั้น​ขึ้น​อยู่​กับ​รูป​สระ. ยก​ตัว​อย่าง ถ้า​คำ​นั้น​อยู่​ใน​รูป​สระ -า จะ​ออก​เสียง​ยาว เช่น กา. แต่​ถ้า​คำ​นั้น​อยู่​ใน​รูป​สระ -ะ จะ​ออก​เสียง​สั้น เช่น กะ. เมื่อ​คำ​นั้น​ลง​ท้าย​ด้วย ล จะ​ออก​เสียง​เหมือน​สะกด​ด้วย น เช่น ดานิเอล จะ​ออก​เสียง​เป็น ดา-นิ-เอน ไม่​ใช่ ดา-นิ-เอว. จำ​ต้อง​ออก​เสียง​ควบ​กล้ำ​ให้​ชัดเจน​ว่า​เป็น​ตัว ร หรือ​ตัว ล เช่น “ครับ” และ “คลับ.”

วิธี​ปรับ​ปรุง​ให้​ดี​ขึ้น. หลาย​คน​ที่​มี​ปัญหา​ใน​การ​ออก​เสียง​ไม่​รู้​ว่า​ตัว​เอง​มี​ปัญหา​นั้น. ถ้า​ผู้​ดู​แล​โรง​เรียน​ชี้​ให้​เห็น​ว่า​คุณ​มี​ปัญหา​ใน​การ​ออก​เสียง​ที่​ต้อง​เอา​ใจ​ใส่ จง​หยั่ง​รู้​ค่า​ความ​กรุณา​ของ​เขา. เมื่อ​รู้​ปัญหา​แล้ว คุณ​จะ​ปรับ​ปรุง​ให้​ดี​ขึ้น​ได้​อย่าง​ไร?

ก่อน​อื่น เมื่อ​คุณ​ได้​รับ​มอบหมาย​ให้​อ่าน​ออก​เสียง จง​ใช้​เวลา​เพื่อ​ค้น​ดู​ใน​พจนานุกรม. จง​เปิด​ดู​คำ​ที่​ไม่​รู้​จัก. ถ้า​คุณ​ไม่​เคย​ใช้​พจนานุกรม จง​เปิด​ไป​หน้า​แรก ๆ เพื่อ​ดู​คำ​อธิบาย​วิธี​ใช้​พจนานุกรม​และ​บัญชี​อักษร​ย่อ​และ​คำ​ย่อ​ที่​ใช้​ใน​พจนานุกรม​นั้น หรือ​ถ้า​จำเป็น จง​ถาม​ใคร​สัก​คน​ที่​อธิบาย​วิธี​ใช้​แก่​คุณ​ได้. พจนานุกรม​จะ​แสดง​ให้​เห็น​วิธี​ออก​เสียง​และ​วิธี​สะกด​คำ​ต่าง ๆ. ใน​บาง​กรณี คำ​หนึ่ง​อาจ​ออก​เสียง​ได้​มาก​กว่า​หนึ่ง​วิธี ขึ้น​อยู่​กับ​คำ​แวด​ล้อม. ไม่​ว่า​คุณ​เปิด​ดู​คำ​ไหน จง​อ่าน​ออก​เสียง​คำ​นั้น​หลาย ๆ ครั้ง​ก่อน​ที่​จะ​ปิด​พจนานุกรม.

วิธี​ที่​สอง​ที่​สามารถ​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​ให้​ดี​ขึ้น​ได้​คือ​โดย​การ​อ่าน​ให้​ใคร​สัก​คน​ฟัง ซึ่ง​เป็น​คน​ที่​ออก​เสียง​คำ​ต่าง ๆ ได้​ดี​และ​ขอ​ให้​เขา​ช่วย​แก้ไข​เมื่อ​คุณ​ออก​เสียง​ผิด.

วิธี​ที่​สาม​ที่​จะ​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​คือ​โดย​การ​ตั้งใจ​ฟัง​ผู้​ที่​บรรยาย​ได้​ดี. ถ้า​มี​ตลับ​เทป​บันทึก​เสียง​พระ​คัมภีร์​ฉบับ​แปล​โลก​ใหม่ หรือ​วารสาร​หอสังเกตการณ์ และ​วารสาร​ตื่นเถิด! ใน​ภาษา​ของ​คุณ ก็​จง​ใช้​ให้​เป็น​ประโยชน์. ขณะ​ที่​ฟัง จง​สังเกต​คำ​ที่​ออก​เสียง​ต่าง​ไป​จาก​วิธี​ที่​คุณ​อ่าน. จง​จด​คำ​เหล่า​นั้น​ไว้ และ​ฝึก​พูด​คำ​เหล่า​นั้น. ใน​ที่​สุด คุณ​จะ​ออก​เสียง​ได้​ถูก​ต้อง และ​สิ่ง​นี้​จะ​ยก​ระดับ​คำ​พูด​ของ​คุณ​ได้​เป็น​อย่าง​ดี.

วิธี​ปรับ​ปรุง​การ​ออก​เสียง​ให้​ดี​ขึ้น

  • จง​เรียน​รู้​ที่​จะ​ใช้​พจนานุกรม​ให้​เป็น​ประโยชน์.

  • ขอ​ใคร​สัก​คน​ที่​อ่าน​ได้​ดี​ฟัง​คุณ​อ่าน​และ​ให้​คำ​แนะ​นำ​แก่​คุณ.

  • สังเกต​การ​ออก​เสียง​ของ​ผู้​ที่​บรรยาย​ได้​ดี; เปรียบ​เทียบ​การ​ออก​เสียง​ของ​คุณ​กับ​ของ​เขา.

แบบ​ฝึก​หัด: ตรวจ​ดู​การ​ออก​เสียง​คำ​ใด ๆ ที่​ไม่​คุ้น​เคย​ใน​เพลง​สรรเสริญ​บท 83 หรือ​ใน​ส่วน​อื่น​ของ​คัมภีร์​ไบเบิล​ที่​อ่าน​ยาก​เป็น​พิเศษ. ใช้​พจนานุกรม​หรือ​ปรึกษา​กับ​ใคร​สัก​คน​ที่​รู้​หลัก​ภาษา​เป็น​อย่าง​ดี. อ่าน​คำ​ที่​ไม่​คุ้น​เคย​ด้วย​การ​ออก​เสียง​ให้​ถูก​ต้อง. จาก​นั้น​อ่าน​ออก​เสียง​ข้อ​ความ​ทั้ง​หมด.

ฉัน​ต้อง​ฝึก​ออก​เสียง​คำ​เหล่า​นี้​ให้​ถูก​ต้อง

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․ ․․․․․․․․․․․․․․․․․․․․

    หนังสือภาษาไทย (1971-2023)
    ออกจากระบบ
    เข้าสู่ระบบ
    • ไทย
    • แชร์
    • การตั้งค่า
    • Copyright © 2023 Watch Tower Bible and Tract Society of Pennsylvania
    • เงื่อนไขการใช้งาน
    • นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    • การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
    • JW.ORG
    • เข้าสู่ระบบ
    แชร์