เฮนรีที่ 8 กับคัมภีร์ไบเบิล
ในหนังสือที่ชื่อประวัติศาสตร์ชนชาติที่พูดภาษาอังกฤษ (เล่ม 2, ภาษาอังกฤษ) วินสตัน เชอร์ชิลล์เขียนไว้ว่า “ในด้านความเชื่อทางศาสนา การปฏิรูปคริสตจักรได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่. ในตอนนั้น คัมภีร์ไบเบิลได้กลายมาเป็นแหล่งแห่งอำนาจแหล่งใหม่ซึ่งได้รับการยอมรับในขอบเขตที่กว้างขวาง. คนรุ่นก่อนหน้านั้นถือว่าคำจารึกศักดิ์สิทธิ์เป็นอันตรายหากอยู่ในมือของผู้ที่ไม่มีความรู้ และควรให้พวกบาทหลวงเท่านั้นอ่าน.”
หนังสือข้างต้นกล่าวต่อไปอีกว่า “คัมภีร์ไบเบิลครบชุดที่ได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยทินเดลและคัฟเวอร์เดล ได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกปลายฤดูใบไม้ร่วงปี 1535 และมีการผลิตฉบับพิมพ์ต่าง ๆ หลายฉบับในเวลานั้น. รัฐบาลได้มีคำสั่งออกมาให้นักเทศน์นักบวชสนับสนุนการอ่านคัมภีร์ไบเบิล.” หลังจากหลายศตวรรษที่ผู้คนไม่มีความรู้ในคัมภีร์ไบเบิล อังกฤษจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิลมากขึ้น แต่ก็เป็นเพราะรัฐบาลของกษัตริย์เฮนรีที่ 8 มากกว่าจะเป็นเพราะคริสตจักร.a
“เพื่อตีกลุ่มคนหัวเก่าต่อไปอีก รัฐบาลได้สั่งพิมพ์คัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษจำนวนมากที่ปารีส ซึ่งหรูหรากว่าฉบับใด ๆ ก่อนหน้านั้น และในเดือนกันยายน 1538 ได้สั่งให้เขตปกครองของคริสตจักรทุกแห่งในประเทศซื้อคัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเล่มหนึ่ง เพื่อจัดวางไว้ในโบสถ์แต่ละแห่ง ในที่ที่สมาชิกโบสถ์จะเข้าไปอ่านได้สะดวกที่สุด. มีการจัดวางคัมภีร์ไบเบิลไว้หกเล่มในมหาวิหารเซนต์ปอลในกรุงลอนดอน และฝูงชนจำนวนมากหลั่งไหลไปที่มหาวิหารตลอดวันเพื่อจะอ่านพระคัมภีร์ และตามที่เราทราบ เป็นเช่นนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาสามารถหาคนที่มีเสียงดังฟังชัดที่จะอ่านให้พวกเขาฟัง.”
น่าเสียดาย ในหลายประเทศ ผู้คนมากมายไม่ฉวยประโยชน์จากสิทธิพิเศษในการอ่านคัมภีร์ไบเบิลเป็นประจำ. เรื่องนี้นับว่าน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เนื่องจากเฉพาะคัมภีร์ไบเบิลเท่านั้นที่ “มีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์เพื่อการสั่งสอน, เพื่อการว่ากล่าว, เพื่อจัดการเรื่องราวให้เรียบร้อย, เพื่อตีสอนด้วยความชอบธรรม.”—2 ติโมเธียว 3:16, ล.ม.
[เชิงอรรถ]
a กษัตริย์เฮนรีที่ 8 ปกครองอังกฤษตั้งแต่ปี 1509 ถึง 1547.
[ที่มาของภาพหน้า 32]
Henry VIII: Painting in the Royal Gallery at Kensington, from the book The History of Protestantism (Vol. I)