จงใช้หนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักอย่างสุขุม
1, 2. หลายคนรู้สึกอย่างไรกับหนังสือของเรา และมีคำถามอะไรที่ยกขึ้นมา?
1 “ผมอ่านหนังสือของคุณตั้งแต่ปี 1965. ผมเปิดคัมภีร์ไบเบิลไปด้วยเมื่ออ่านหนังสือของคุณ และทุกเรื่องสอดคล้องลงรอยกับคัมภีร์ไบเบิล. ผมอยากรู้จักความจริงเกี่ยวกับพระเจ้าและพระเยซูเสมอ และผมพูดจากใจจริงว่า ผมพบคำตอบที่แท้จริงจากหนังสือของคุณและคัมภีร์ไบเบิล.” นั่นเป็นจดหมายที่ชายคนหนึ่งเขียนถึงสำนักงานใหญ่ของพยานพระยะโฮวา. ในจดหมายฉบับเดียวกันนี้ เขาขอศึกษาคัมภีร์ไบเบิล.
2 เช่นเดียวกับชายผู้หยั่งรู้ค่าคนนี้ ผู้คนนับล้านจากทั่วทุกมุมโลกหยั่งรู้ค่าคู่มือสำหรับการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลที่จัดเตรียมโดย “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม.” (มัด. 24:45, ล.ม.) มีการผลิตหนังสือจำนวนมากทุกปีเพื่อช่วยผู้คนที่มีหัวใจสุจริตให้ “บรรลุความรู้ถ่องแท้เรื่องความจริง.” (1 ติโม. 2:4, ล.ม.) เราจะใช้หนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลักอย่างสุขุมได้อย่างไร?
3. เราจะหลีกเลี่ยงการทำให้หนังสือถูกทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์ได้อย่างไร?
3 อย่าทิ้งไว้ให้เสียเปล่า: เมื่อเวลาผ่านไป เราอาจมีหนังสือเก็บไว้เกินกว่าที่เราจะเอาไปเสนอจริง ๆ. เราจะทำเช่นไรเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้หนังสือที่มีคุณค่าถูกทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์? เราต้องมีความสังเกตเข้าใจเมื่อรับหนังสือไว้เสนอในงานรับใช้. แทนที่จะรับหนังสือหลาย ๆ เล่มเพื่อนำไปเสนอ เราอาจรับเพียงหนึ่งหรือสองเล่ม แล้วค่อยมารับเพิ่มทีหลังหากเสนอหมดแล้ว. การทำเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้มีหนังสือจำนวนมากกองสุมอยู่ในบ้านของเรา. ในทำนองเดียวกัน หากเรามีวารสารจำนวนมากที่ยังไม่ได้เสนอ คงดีกว่าถ้าจะลดจำนวนที่เราขอ.
4. จะทำอะไรได้บ้างถ้าประชาคมมีหนังสือเหลืออยู่ในคลังมากเกินไป?
4 มีหนังสือมากเกินไปในคลัง: หากประชาคมมีหนังสือบางอย่างมากเกินไปในคลังของประชาคม ผู้ประสานงานสรรพหนังสืออาจต้องการสอบถามประชาคมอื่นที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อดูว่าพวกเขาจะใช้หนังสือที่เหลืออยู่นี้ได้หรือไม่. ผู้ประกาศอาจเสนอหนังสือเล่มเก่า ๆ ให้กับสมาชิกครอบครัวที่ไม่เชื่อ, นักศึกษาพระคัมภีร์, และคนอื่น ๆ. คนใหม่ที่มาสมทบกับประชาคมอาจอยากได้หนังสือเก่าเหล่านี้ไว้ในห้องสมุดส่วนตัวสำหรับเก็บหนังสือตามระบอบของพระเจ้า.
5. เราจะแสดงความหยั่งรู้ค่าต่อหนังสือของเราได้อย่างไร?
5 เราปรารถนาให้หนังสือของเราบรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งหมายไว้ กล่าวคือ ช่วยผู้คนที่จริงใจให้เรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับพระประสงค์อันยอดเยี่ยมของพระยะโฮวา. เช่นเดียวกับที่พระเยซูไม่ได้ทิ้งอาหารเหลือในคราวที่พระองค์ทรงเลี้ยงผู้คนจำนวนมากด้วยการอัศจรรย์ เราก็ควรมีเป้าหมายจะใช้หนังสือที่อาศัยคัมภีร์ไบเบิลซึ่งมีการจัดเตรียมไว้อย่างคุ้มค่าที่สุด. (โย. 6:11-13) ข่าวสารที่ช่วยชีวิตในหนังสือของเราไม่อาจเข้าถึงหัวใจคนที่มีแนวโน้มเพื่อความชอบธรรมได้ หากหนังสือเหล่านั้นยังคงวางอยู่บนชั้นหรือเก็บไว้ในกระเป๋าของเราต่อไป. ด้วยเหตุนั้น เราต้องเป็นคนมีเหตุผลเมื่อจะรับหนังสือไว้ใช้ในงานประกาศและใช้หนังสือเหล่านั้นอย่างสุขุมเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น.—ฟิลิป. 4:5.