-
จักรภพที่สูญหายไปซึ่งทำให้นักวิจารณ์คัมภีร์ไบเบิลอึดอัดใจหอสังเกตการณ์ 1993 | 1 มิถุนายน
-
-
ความเห็นนี้ขัดแย้งกับเยเนซิศบท 10 ซึ่งแถลงว่านิมโรดเหลนของโนฮาได้ตั้งรัฐทางการเมืองแรกขึ้นในเขตแดนบาเบล หรือบาบูโลน. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวต่อไปว่า “นิมโรดได้แผ่อาณาจักรจากประเทศนั้นไปยังแผ่นดินอาซูร [อัสซีเรีย] ได้สร้างเมืองนีนะเว เมืองระโฮโบธ เมืองคาลา และเมืองเรเซ็นซึ่งอยู่หว่างกลางเมืองนีนะเวกับเมืองคาลา นั้นก็เป็นเมืองใหญ่.” (เยเนซิศ 10:8-12) โปรดสังเกตว่า ข้อคัมภีร์นั้นพรรณนาถึงเมืองของอัสซีเรียสี่เมืองนั้นว่าเป็น “เมืองใหญ่” เมืองเดียว.
-
-
จักรภพที่สูญหายไปซึ่งทำให้นักวิจารณ์คัมภีร์ไบเบิลอึดอัดใจหอสังเกตการณ์ 1993 | 1 มิถุนายน
-
-
ระหว่างนั้น ออสเทน เฮ็นรี เลยาร์ด นักโบราณคดีอีกคนหนึ่งเริ่มขุดซากปรักหักพัง ณ สถานที่ซึ่งเรียกว่านิมรุด อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของคอร์ซาบาดราว ๆ 42 กิโลเมตร. ซากปรักหักพังนั้นปรากฏว่าเป็นเมืองคาลา—หนึ่งในเมืองอัสซีเรียสี่เมืองที่มีการกล่าวถึงที่เยเนซิศ 10:11. ครั้นแล้ว ในปี 1849 เลยาร์ดได้ขุดค้นซากปรักหักพังของราชวังที่ใหญ่โตมโหฬาร ณ สถานที่ซึ่งเรียกว่าคูยันจิก ระหว่างเมืองคาลากับคอร์ซาบาด. ปรากฏว่าวังนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนีนะเว. ระหว่างเมืองคอร์ซาบาดกับคาลามีซากปรักหักพังของชุมชนอื่น รวมทั้งเนินเดินที่เรียกว่าคารามลัส. เลยาร์ดให้ข้อสังเกตว่า “หากเราเอาเนินดินใหญ่ทั้งสี่ของนิมรุด [คาลา], คูยันจิก [นีนะเว], คอร์ซาบาด, และคารามลัส เป็นมุมของสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก็จะพบว่าสี่ด้านของเนินดินนั้นตรงกันอย่างถูกต้องทีเดียวกับ 480 สเทเดีย หรือ 96 กิโลเมตรของนักภูมิศาสตร์ ซึ่งเท่ากับการเดินทางเป็นเวลาสามวันของผู้พยากรณ์ [โยนา].”
ดันั้น ปรากฏชัดว่าโยนารวมเอาชุมชนเหล่านี้ทั้งหมดเป็น “เมืองใหญ่” เมืองเดียว โดยเรียกชุมชนเหล่านี้ด้วยชื่อของเมืองที่มีรายชื่อแรกที่เยเนซิศ 10:11 กล่าวคือนีนะเว. มีการทำเช่นเดียวกันในทุกวันนี้. ตัวอย่างเช่น มีความแตกต่างระหว่างกรุงลอนดอนดั้งเดิมกับชานเมืองของกรุงนั้น ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “ลอนดอนใหญ่.”
กษัตริย์อัสซีเรียผู้หยิ่งยโส
ราชวัง ณ เมืองนีนะเวประกอบด้วยห้อง 70 กว่าห้อง มีฝาผนังยาวเกือบ 3 กิโลเมตร. บนฝาผนังเหล่านี้เป็นซากภาพแกะสลักที่ถูกไฟไหม้ เป็นอนุสรณ์ถึงชัยชนะทางทหารและความสำเร็จอื่น ๆ. ส่วนใหญ่เสียหายมาก. อย่างไรก็ตาม ขณะที่การพักอยู่ของเขาใกล้จะสิ้นสุดลง เลยาร์ดได้ค้นพบห้องหนึ่งในสภาพที่ดีอย่างน่าสังเกต. บนฝาผนังมีการแสดงให้เห็นภาพการยึดเมืองที่มีป้อมปราการแข็งแกร่ง พร้อมกับพวกเชลยเดินแถวมาต่อพระพักตร์กษัตริย์ผู้รุกราน ผู้ประทับบนบัลลังก์ภายนอกเมือง. มีคำจารึกอยู่เหนือกษัตริย์นั้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในด้านตัวหนังสือของอัสซีเรียแปลไว้ดังต่อไปนี้: “ซันแฮริบ ราชันแห่งพิภพ, กษัตริย์แห่งอัสซีเรีย, ประทับบนพระที่นั่ง นิเมดู และทรงตรวจตราของเชลยที่ปล้นมาจากเมืองลาคิศ (ลา-คิ-ซู).”
ปัจจุบันจะชมภาพแสดงและคำจารึกนี้ได้ในพิพิธภัณฑ์ของอังกฤษ. ภาพและคำจารึกนั้นสอดคล้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ซึ่งบันทึกอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลที่ 2 กษัตริย์ 18:13, 14 ว่า “ในปีที่สิบสี่แห่งรัชกาลกษัตริย์ฮีศคียา, ซันแฮริบกษัตริย์อะซูริยะ [อัสซีเรีย] ก็ยกทัพมาตีเอาบรรดาหัวเมืองที่มีกำแพงแห่งประเทศยูดา. ฮีศคียากษัตริย์ยูดา, ใช้ทูตไปเฝ้ากษัตริย์อะซูริยะที่เมืองลาคีศ ทูลว่า ‘ข้าพเจ้าผิดแล้ว: ขอจงกลับไปจากข้าพเจ้า: ท่านจะปรับไหมเท่าไร ข้าพเจ้าจะยอมรับทั้งสิ้น. กษัตริย์อะซูริยะปรับเอาเงินสามร้อยตะลันต์, และทองคำสามสิบตะลันต์จากฮีศคียากษัตริย์ยูดา.”
คำจารึกอื่น ๆ ซึ่งพบอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังของเมืองนีนะเวนั้นให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรุกรานอาณาจักรยูดาของซันแฮริบ และเงินบรรณาการที่ฮีศคียาได้ชำระ. เลยาร์ดได้เขียนว่า “บางทีหนึ่งในความสอดคล้องต้องกันอันโดดเด่นที่สุดของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึก คือจำนวนของสมบัติล้ำค่าที่เป็นทองคำซึ่งได้จากฮีศคียา สามสิบตะลันต์นั้นตรงกันในบันทึกเรื่องราวที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยแม้แต่น้อยสองเรื่อง.” เซอร์เฮ็นรี รอว์ลินสัน ผู้ซึ่งช่วยแปลรหัสตัวหนังสือของอัสซีเรียได้แถลงว่าคำจารึกเหล่านี้ “ทำให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ [ของซันแฮริบ] อยู่เหนือข้อโต้แย้ง.” นอกจากนี้ เลยาร์ดถามในหนังสือนีนะเวและบาบูโลน (ภาษาอังกฤษ) ว่า “ก่อนที่มีการค้นพบสิ่งเหล่านี้ ใครหรือจะเชื่อว่าเป็นไปได้ที่ว่าใต้กองดินกองขยะซึ่งแสดงให้เห็นร่องรอยสถานที่ตั้งเมืองนีนะเวนั้น จะพบประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามระหว่างฮีศคียากับซันแฮริบ บันทึกในเวลาที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้น โดยซันแฮริบเอง และยืนยันบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลกระทั่งในรายละเอียดเล็กน้อยด้วยซ้ำ?”
แน่นอน ข้อปลีกย่อยบางประการเกี่ยวกับบันทึกของซันแฮริบไม่สอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิล. ตัวอย่างเช่น อะลัน มิลลาร์ด นักโบราณคดีให้อรรถาธิบายไว้ว่า “ข้อเท็จจริงอันโดดเด่นที่สุดปรากฏที่ตอนท้าย [ในบันทึกของซันแฮริบ]. ฮีศคียาส่งทูตของท่าน และเงินบรรณาการทั้งหมด ไปถึงซันแฮริบ ‘ภายหลัง ถึงนีนะเว.’ กองทัพอัสซีเรียมิได้นำสิ่งเหล่านั้นกลับประเทศด้วยชัยชนะในแบบปกติ.” คัมภีร์ไบเบิลแถลงว่ามีการถวายเงินบรรณาการก่อนที่กษัตริย์อัสซีเรียกลับไปถึงนีนะเว. (2 กษัตริย์ 18:15-17) ทำไมจึงมีความแตกต่างกัน? และทำไมซันแฮริบไม่สามารถโอ้อวดได้ในเรื่องการพิชิตกรุงยะรูซาเลม เมืองหลวงของอาณาจักรยูดา ในทำนองที่เขาโอ้อวดในเรื่องการพิชิตลาคิศ เมืองที่มีป้อมปราการของยูดาล่ะ? ผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลสามคนให้คำตอบ. ประจักษ์พยานคนหนึ่งในสามคนนั้นได้เขียนว่า “ทูตของพระยะโฮวาก็ออกไปประหารทหารหนึ่งแสนแปดหมื่นห้าพันคนที่อยู่ในกองทัพอะซูระ; และพอคนตื่นขึ้นในเวลาเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น, ทหารเหล่านั้นก็เป็นศพไปหมดแล้ว. ฝ่ายซันเฮริบกษัตริย์ประเทศอะซูระก็เลิกทัพกลับไปเมือง, ประทับอยู่ที่เมืองนีนะเว.”—ยะซายา 37:36, 37; 2 กษัตริย์ 19:35; 2 โครนิกา 32:21.
ในหนังสือสมบัติล้ำค่าจากสมัยคัมภีร์ไบเบิล มิลลาร์ดสรุปว่า “ไม่มีเหตุผลสมควรที่จะสงสัยรายงานนี้ . . . เป็นที่เข้าใจได้ว่า ซันแฮริบคงจะไม่บันทึกความหายนะดังกล่าวไว้ให้ผู้สืบตำแหน่งของท่านอ่าน เพราะนั่นจะทำให้ท่านอัปยศอดสู.” แทนที่จะทำเช่นนั้น ซันแฮริบพยายามสร้างความประทับใจว่าการบุกรุกอาณาจักรยูดาของเขานั้นประสบผลสำเร็จ และฮีศคียายังยอมจำนนต่อท่านอยู่ต่อไป โดยส่งบรรณาการไปยังนีนะเว.
ต้นกำเนิดของอัสซีเรียได้รับการยืนยัน
มีการค้นพบห้องสมุดหลายห้องซึ่งมีแผ่นดินเหนียวหลายหมื่นแผ่นในเมืองนีนะเวด้วย. เอกสารเหล่านี้พิสูจน์ว่าจักรภพอัสซีเรียมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ในบาบูโลน ดังที่เยเนซิศ 10:11 ระบุไว้ทีเดียว. โดยใช้ข้อมูลนี้ พวกนักโบราณคดีเริ่มมุ่งความพยายามของเขาไปทางตอนใต้ต่อไป. สารานุกรมบิบลิกา อธิบายว่า “ซากปรักหักพังทั้งหมดของอัสซีเรียเผยให้เห็นต้นกำเนิดจากบาบูโลน. ภาษาและวิธีการเขียนของพวกเขา, วรรณคดี, ศาสนา, และวิทยาศาสตร์ของพวกเขารับมาจากประเทศใกล้เคียงในตอนใต้ของพวกเขา โดยที่มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย.”
-