แหล่งอ้างอิงสำหรับชีวิตและงานรับใช้—คู่มือประชุม
วันที่ 3-9 สิงหาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | อพยพ 13-14
“ทำใจดี ๆ ไว้ ให้รอดูว่าวันนี้พระยะโฮวาจะช่วยพวกคุณให้รอดยังไง”
it-1-E น. 1117
ทางหลวง, ถนน
ในอดีต เส้นทางหลวงและถนนสายต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงเส้นทางการค้าสำคัญ ๆ จะเชื่อมเมืองและอาณาจักรต่าง ๆ ในปาเลสไตน์เข้าด้วยกัน (กดว 20:17-19; 21:21, 22; 22:5, 21-23; ยชว 2:22; วนฉ 21:19; 1ซม 6:9, 12; 13:17, 18) เส้นทางที่ดูเหมือนว่าเป็นสายหลักคือเส้นทางที่เริ่มจากอียิปต์ไปเมืองกาซาและอัชเคโลนของฟีลิสเตีย และค่อย ๆ โค้งไปทางตะวันออกเฉียงเหนือไปยังเมืองเมกิดโด และมุ่งหน้าต่อไปยังเมืองฮาโซร์ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของทะเลสาบกาลิลี จากนั้นก็ไปยังเมืองดามัสกัส เส้นทางนี้เป็นทางที่ใกล้ที่สุดจากอียิปต์ไปแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญา แต่พระยะโฮวาก็พาชาติอิสราเอลไปอีกทางหนึ่งเพื่อพวกเขาจะไม่ต้องเจอการโจมตีของชาวฟีลิสเตีย—อพย 13:17
it-1-E น. 782 ว. 2-3
อพยพ
มีจุดหนึ่งที่น่าสังเกตคือ หลังจากการเดินทางช่วงที่ 2 คือหลังจากตั้งค่ายพักที่เอธาม “ริมเขตแดนของที่กันดาร” พระเจ้าสั่งโมเสส “ให้วกกลับไปตั้งค่ายที่หน้าปีหะหิโรท . . . ที่ริมทะเล” คำสั่งแบบนี้คงทำให้ฟาโรห์คิดว่าชาวอิสราเอล “กำลังหลงทาง” (อพย 13:20; 14:1-3) ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าชาวอิสราเอลใช้เส้นทางเอลฮาจ พวกเขาเชื่อว่าเมื่อชาวอิสราเอลมาถึงตอนบนของอ่าวสุเอซ ก็ย้อนกลับไปและอ้อมไปทางตะวันออกของเทือกเขาเจเบลอะทาคาที่อยู่ทางตะวันตกของอ่าวสุเอซ เมื่อไปอยู่ตรงนั้นชาวอิสราเอลที่เป็นกลุ่มใหญ่คงไม่สามารถหนีไปทางอื่นได้ถ้าถูกไล่ล่าจากทางเหนือเพราะมีทะเลขวางอยู่ข้างหน้า
ถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนไม่ได้บอกแบบนี้ แต่แหล่งอ้างอิงของชาวยิวในศตวรรษแรกก็บอกตรงกันกับข้อมูลข้างต้น ที่สำคัญกว่านั้นคือข้อมูลนี้ตรงกับที่คัมภีร์ไบเบิลบอกไว้ (อพย 14:9-16) ดูเหมือนว่า จุดที่ชาวอิสราเอลข้ามทะเลแดงต้องอยู่ห่างจากตอนบนของอ่าวพอสมควร (ซึ่งเป็นส่วนทางตะวันตกของทะเลแดง) และกองทัพฟาโรห์ไม่สามารถอ้อมเพื่อมาดักชาวอิสราเอลอีกฝั่งหนึ่ง—อพย 14:22, 23
วันที่ 10-16 สิงหาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | อพยพ 15-16
“สรรเสริญพระยะโฮวาด้วยเสียงเพลง”
it-2-E น. 454 ว. 1
ดนตรี
กลุ่มนักร้องส่วนใหญ่ในอิสราเอลร้องเพลงแบบโต้ตอบกัน อาจเป็นการร้องโต้ตอบระหว่างนักร้องประสานเสียงที่แบ่งเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กัน หรือระหว่างนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้องประสานเสียง โดยเนื้อเพลงที่แต่ละฝ่ายร้องโต้ตอบกันจะมีความหมายคล้ายกัน พระคัมภีร์เรียกการร้องเพลงแบบนี้ว่าการ “ร้องตอบ” (อพย 15:21; 1ซม 18:6, 7) เพลงสดุดีบางเพลงถูกเขียนขึ้นเพื่อให้ร้องแบบนี้ เช่น สดุดี บท 136 ในสมัยเนหะมีย์ คัมภีร์ไบเบิลบอกว่ามีคณะนักร้องเพลงขอบคุณกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม และบอกว่าตอนที่อุทิศกำแพงกรุงเยรูซาเล็มพวกเขาก็ร้องเพลงในลักษณะนี้—นหม 12:31, 38, 40-42
it-2-E น. 698
ผู้พยากรณ์หญิง
มิเรียมเป็นผู้หญิงคนแรกที่คัมภีร์ไบเบิลบอกว่าเป็นผู้พยากรณ์ ดูเหมือนว่าพระเจ้าส่งข่าวผ่านทางเธอซึ่งอาจเป็นการร้องเพลงที่ได้รับการดลใจ (อพย 15:20, 21) บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลบอกว่าเธอกับอาโรนพูดกับโมเสสว่า “พระองค์ [พระยะโฮวา] ไม่ได้พูดผ่านพวกเราด้วยหรือ?” (กดว 12:2) โดยทางผู้พยากรณ์มีคาห์ พระยะโฮวาบอกว่าพระองค์ส่ง “โมเสส อาโรน และมิเรียม” มาเพื่อพาชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ (มคา 6:4) ถึงจะมีสิทธิพิเศษที่ได้รับใช้เป็นผู้ส่งข่าวของพระเจ้า แต่เธอก็ไม่ได้สำคัญเท่ากับโมเสสที่เป็นน้องชาย เมื่อเธอต่อต้านโมเสส พระเจ้าจึงลงโทษเธออย่างหนัก—กดว 12:1-15
วันที่ 17-23 สิงหาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | อพยพ 17-18
“ผู้ชายที่เจียมตัวจะฝึกอบรมและมอบหมายงานให้คนอื่น”
it-1-E น. 406
สารบบ
หลักฐานที่เห็นได้จากข้อเขียนของโมเสสทำให้เรามั่นใจว่า ข้อเขียนเหล่านั้นมาจากพระเจ้า เป็นส่วนหนึ่งของสารบบในคัมภีร์ไบเบิล และเป็นคำแนะนำสำหรับการนมัสการบริสุทธิ์ โมเสสเองไม่ได้คิดอยากตั้งตัวเป็นผู้นำหรือคนออกคำสั่งของชาวอิสราเอล ตอนแรกเขาปฏิเสธหน้าที่นี้ (อพย 3:10, 11; 4:10-14) แต่ตอนหลังพระเจ้าช่วยให้เขามีอำนาจทำการอัศจรรย์ซึ่งแม้แต่พวกนักบวชที่มีเวทมนตร์คาถาของฟาโรห์ก็ยังยอมรับว่าสิ่งที่โมเสสทำเกิดจากอำนาจของพระเจ้า (อพย 4:1-9; 8:16-19) ดังนั้น ที่โมเสสได้เป็นนักพูดหรือนักเขียนไม่ใช่เพราะความต้องการของเขาเอง แต่เป็นเพราะเขาเชื่อฟังคำสั่งของพระเจ้าและถูกกระตุ้นจากพลังบริสุทธิ์ เขาจึงพูดและภายหลังก็เขียนส่วนหนึ่งที่อยู่ในสารบบของคัมภีร์ไบเบิล—อพย 17:14
วันที่ 24-30 สิงหาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | อพยพ 19-20
it-2-E น. 687 ว. 1-2
ปุโรหิต
ปุโรหิตในยุคคริสเตียน พระยะโฮวาสัญญาว่า ถ้าชาติอิสราเอลทำตามที่สัญญากับพระองค์ พวกเขาจะเป็น “รัฐบาลที่มีปุโรหิตปกครองเป็นกษัตริย์ และเป็นชาติบริสุทธิ์” (อพย 19:6) แต่ปุโรหิตที่เป็นลูกหลานของอาโรนจะมีอยู่ต่อไปจนกว่ามหาปุโรหิตที่ยิ่งใหญ่กว่าจะมาตามที่มีบอกไว้ล่วงหน้า (ฮบ 8:4, 5) นี่ต้องรอจนถึงสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายสิ้นสุดลงและมีการเริ่มใช้สัญญาใหม่ (ฮบ 7:11-14; 8:6, 7, 13) ตอนแรกชาวอิสราเอลได้รับโอกาสที่จะเป็นปุโรหิตของพระยะโฮวาที่จะรับใช้ในรัฐบาลของพระองค์ที่สัญญาไว้ หลังจากนั้นก็มีการเสนอโอกาสนี้ให้กับคนต่างชาติ—กจ 10:34, 35; 15:14; รม 10:21
มีชาวยิวจำนวนไม่มากที่ยอมรับพระคริสต์ ขณะที่คนส่วนใหญ่ในชาติพลาดโอกาสที่จะเป็นสมาชิกของรัฐบาลที่มีปุโรหิตปกครองเป็นกษัตริย์และเป็นชาติบริสุทธิ์ที่แท้จริง (รม 11:7, 20) เนื่องจากชาวอิสราเอลไม่ซื่อสัตย์ พระเจ้าได้เตือนพวกเขาหลายร้อยปีล่วงหน้าผ่านผู้พยากรณ์โฮเชยาว่า “เพราะพวกเขาไม่รู้จักเรา พวกเขาไม่ยอมเรียนรู้เกี่ยวกับเรา เราก็จะไม่ยอมให้พวกเขาเป็นปุโรหิตของเรา และเมื่อพวกเขาลืมกฎหมายของเรา เราก็จะลืมลูก ๆ ของพวกเขา” (ฮชย 4:6) สอดคล้องกับเรื่องนี้ พระเยซูบอกผู้นำศาสนาชาวยิวว่า “พวกคุณจะหมดโอกาสเข้ารัฐบาลของพระเจ้า แล้วอีกชนชาติหนึ่งจะได้รับโอกาสนั้นแทนเพราะพวกเขาเกิดผลอย่างที่พระเจ้าต้องการ” (มธ 21:43) ถึงจะเป็นอย่างนั้น ตอนที่อยู่บนโลกพระเยซูก็ทำตามกฎหมายของโมเสสและยอมรับตำแหน่งปุโรหิตที่เป็นลูกหลานของอาโรน อย่างเช่นตอนที่ท่านรักษาคนโรคเรื้อนแล้ว ท่านบอกให้เขาไปให้ปุโรหิตตรวจดูและถวายสิ่งของตามที่กฎหมายของโมเสสกำหนดไว้—มธ 8:4; มก 1:44; ลก 17:14
วันที่ 31 สิงหาคม–6 กันยายน
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | อพยพ 21-22
“มองชีวิตเหมือนที่พระยะโฮวามอง”
it-1-E น. 271
เฆี่ยนตี
เจ้าของทาสซึ่งเป็นชาวฮีบรูได้รับอนุญาตให้ใช้ไม้เฆี่ยนตีทาสผู้ชายหรือทาสผู้หญิงถ้าทาสนั้นไม่เชื่อฟังหรือต่อต้านนาย ถ้าทาสนั้นตายคามือ เจ้าของทาสจะต้องถูกลงโทษ แต่ถ้าทาสคนนั้นมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกวันหนึ่งหรือสองวัน ก็แสดงให้เห็นว่าเจ้าของทาสไม่ได้จงใจฆ่าทาสคนนั้น เขามีสิทธิ์ลงโทษเพื่อเป็นการสั่งสอนเพราะเขาซื้อทาสนั้นมาด้วย “เงินของตัวเอง” ไม่มีใครอยากเสียทรัพย์สินที่มีค่าของตัวเองไป และถ้าทาสนั้นตายหลังจากผ่านไปหนึ่งวันหรือนานกว่านั้น ทาสก็อาจไม่ได้ตายเพราะถูกเฆี่ยนตีแต่อาจตายเพราะสาเหตุอื่น ดังนั้น ถ้าทาสยังมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกหนึ่งหรือสองวัน เจ้าของทาสก็จะไม่ถูกลงโทษ—อพย 21:20, 21
it-1-E น. 1143
เขาสัตว์
อพยพ 21:14 อาจหมายความว่า คนที่จงใจฆ่าคนอื่นถึงแม้จะเป็นปุโรหิตหรือถึงแม้จะไปจับมุมแท่นบูชาที่เป็นรูปเขาสัตว์ก็จะต้องถูกประหาร—เทียบกับ 1พก 2:28-34