แหล่งอ้างอิงสำหรับชีวิตและงานรับใช้—คู่มือประชุม
วันที่ 2-8 กันยายน
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | ฮีบรู 7-8
“ปุโรหิตตลอดไปตามอย่างเมลคีเซเดค”
(ฮีบรู 7:1, 2) เมลคีเซเดคคนนี้เป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองซาเลมและเป็นปุโรหิตของพระเจ้าองค์สูงสุด เขาออกไปพบอับราฮัมที่กำลังกลับจากการรบชนะกษัตริย์หลายองค์และอวยพรอับราฮัม 2 อับราฮัมถวายส่วน 1 ใน 10 ของทุกสิ่งที่ได้มาให้เขา ชื่อเมลคีเซเดคแปลว่า “กษัตริย์ที่มีความถูกต้องชอบธรรม” และเขาเป็นกษัตริย์ของซาเลมด้วยซึ่งหมายถึง “กษัตริย์ที่ทำให้มีสันติสุข”
it-2-E น. 366
เมลคีเซเดค
กษัตริย์ของเมืองซาเลมในสมัยโบราณ และ “ปุโรหิตของพระเจ้าองค์สูงสุด” ซึ่งก็คือพระยะโฮวา (ปฐก 14:18, 22) เขาเป็นปุโรหิตคนแรกที่พระคัมภีร์พูดถึง เขาได้รับตำแหน่งนี้ช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนปี 1933 ก่อน ค.ศ. เขาเป็นกษัตริย์เมืองซาเลมซึ่งแปลว่า “สันติสุข” เปาโลจึงเรียกเขาว่า “กษัตริย์ที่ทำให้มีสันติสุข” และยังเรียกเขาด้วยว่า “กษัตริย์ที่มีความถูกต้องชอบธรรม” ตามความหมายของชื่อเขา (ฮบ 7:1, 2) หลายคนเข้าใจว่าเมืองซาเลมในสมัยโบราณเคยเป็นศูนย์กลางของเมืองที่ต่อมาคือเยรูซาเล็ม และชื่อเมืองนี้ถูกรวมอยู่ในชื่อเมืองเยรูซาเล็มซึ่งบางครั้งเรียกว่า “ซาเลม”—สด 76:2
หลังจากอับราม (อับราฮัม) เอาชนะเคโดร์ลาโอเมอร์กับพวกกษัตริย์ที่เป็นพันธมิตรแล้ว เขาก็มาถึงที่ราบชาเวห์หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หุบเขากษัตริย์” ที่นั่นเมลคีเซเดค “เอาขนมปังกับเหล้าองุ่นมาให้อับราม” และอวยพรเขาว่า “ขอให้อับรามได้รับพรจากพระเจ้าองค์สูงสุด ผู้สร้างฟ้าและโลก ขอให้พระเจ้าองค์สูงสุดได้รับการสรรเสริญ พระองค์เป็นผู้ที่มอบศัตรูไว้ในมือคุณ” แล้วอับราฮัมก็ถวาย “ส่วน 1 ใน 10 ของทุกสิ่ง” ให้เมลคีเซเดค ซึ่งสิ่งเหล่านั้นเป็น “ส่วนที่ดีที่สุดจากของที่ยึดมาได้” จากการชนะกษัตริย์ต่าง ๆ—ปฐก 14:17-20; ฮบ 7:4
(ฮีบรู 7:3) ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับพ่อแม่และลำดับวงศ์ตระกูลของเขา รวมทั้งวันเกิดและวันตาย แต่เขาเป็นเหมือนลูกของพระเจ้าและเป็นปุโรหิตตลอดไป
it-2-E น. 367 ว. 4
เมลคีเซเดค
เป็นไปได้อย่างไรที่เมลคีเซเดค ‘ไม่มีทั้งวันเกิดและวันตาย’?
เปาโลเน้นข้อเท็จจริงสำคัญเกี่ยวกับเมลคีเซเดคว่า “ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับพ่อแม่และลำดับวงศ์ตระกูลของเขา รวมทั้งวันเกิดและวันตาย แต่เขาเป็นเหมือนลูกของพระเจ้าและเป็นปุโรหิตตลอดไป” (ฮบ 7:3) เมลคีเซเดคมีวันเกิดและวันตายเหมือนคนอื่น ๆ แต่ไม่มีการพูดถึงชื่อพ่อแม่ของเขา และไม่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับบรรพบุรุษกับลูกหลานของเขา และพระคัมภีร์ไม่มีข้อมูลว่าเขาเกิดและตายวันไหน ดังนั้น เมลคีเซเดคเหมาะที่จะเป็นภาพเล็งถึงพระเยซูคริสต์ปุโรหิตตลอดไป เพราะไม่มีบันทึกว่าใครทำหน้าที่ก่อนเมลคีเซเดคและสืบทอดตำแหน่งต่อจากเขา พระคริสต์ก็เหมือนกัน ก่อนหน้าท่านไม่มีมหาปุโรหิตคนไหนที่เหมือนท่านและคัมภีร์ไบเบิลบอกว่าจะไม่มีใครสืบทอดตำแหน่งต่อจากท่าน ยิ่งกว่านั้น แม้พระเยซูเกิดในตระกูลยูดาห์และมีเชื้อสายกษัตริย์โดยทางดาวิด แต่ตระกูลของท่านไม่ได้เป็นตระกูลปุโรหิต และบรรพบุรุษของพระเยซูก็ไม่มีใครเป็นทั้งกษัตริย์และปุโรหิต การที่พระเยซูเป็นทั้งกษัตริย์และปุโรหิตก็เป็นเพราะพระยะโฮวาสัญญาไว้กับท่าน
(ฮีบรู 7:17) เหมือนที่พระคัมภีร์ยืนยันว่า “เจ้าจะเป็นปุโรหิตตลอดไปตามอย่างเมลคีเซเดค”
it-2-E น. 366
เมลคีเซเดค
เมลคีเซเดคเป็นภาพเล็งถึงการเป็นปุโรหิตของพระคริสต์ ในคำพยากรณ์เกี่ยวกับเมสสิยาห์ พระยะโฮวาสัญญากับ “ผู้เป็นนาย” ของดาวิดว่า “เจ้าจะเป็นปุโรหิตตลอดไปตามอย่างเมลคีเซเดค” (สด 110:1, 4) ดังนั้น เพลงสดุดีที่ได้รับการดลใจนี้ทำให้ชาวฮีบรูมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าเมสสิยาห์ตามคำสัญญาจะเป็นทั้งปุโรหิตและกษัตริย์ ในจดหมายที่อัครสาวกเปาโลเขียนถึงชาวฮีบรูทำให้ไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับผู้ที่พระเจ้าบอกไว้ล่วงหน้า ซึ่งก็คือ ‘พระเยซูมหาปุโรหิตตลอดกาลแบบเมลคีเซเดค’—ฮบ 6:20; 5:10
ขุดค้นหาความรู้ที่มีค่าของพระเจ้า
(ฮีบรู 8:13) เมื่อพระองค์พูดถึง “สัญญาใหม่” พระองค์ก็ทำให้สัญญาเดิมล้าสมัยไป สิ่งที่ล้าสมัยและเก่าลงเรื่อย ๆ ใกล้จะสาบสูญไปแล้ว
it-1-E น. 523 ว. 5
สัญญา
สัญญาเกี่ยวกับกฎหมาย “ล้าสมัย” ไปแล้วอย่างไร?
สัญญาเกี่ยวกับกฎหมาย “ล้าสมัย” เมื่อพระเจ้าประกาศโดยทางผู้พยากรณ์เยเรมีย์ว่าจะมีสัญญาใหม่ (ยรม 31:31-34; ฮบ 8:13) ในปี ค.ศ. 33 สัญญาเกี่ยวกับกฎหมายได้ถูกยกเลิกตอนที่พระคริสต์ตายบนเสาทรมาน (คส 2:14) สัญญาใหม่จึงเข้ามาแทนที่—ฮบ 7:12; 9:15; กจ 2:1-4
วันที่ 9-15 กันยายน
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | ฮีบรู 9-10
“เงาของสิ่งดี ๆ ที่จะมีมา”
(ฮีบรู 9:12-14) ท่านเข้าไปในสถานบริสุทธิ์โดยเอาเลือดของท่านเองเข้าไปด้วย ไม่ใช่เลือดแพะและเลือดวัวหนุ่ม ท่านเข้าไปเพียงครั้งเดียวและรับเอาความรอดตลอดไปมาให้เรา 13 ถ้าเลือดแพะกับเลือดวัวตัวผู้ และเถ้าของวัวสาวที่พรมบนคนที่ไม่สะอาดตามพิธีกรรมนั้นชำระตัวเขาให้บริสุทธิ์ในสายตาพระเจ้าได้ 14 เลือดของพระคริสต์ก็ต้องทำได้มากกว่านั้นอีก ท่านทำตามการชี้นำของพลังบริสุทธิ์ที่คงอยู่ตลอดไปและถวายตัวเองให้พระเจ้าเป็นเครื่องบูชาที่ไม่มีตำหนิ เลือดของท่านจึงลบล้างความรู้สึกผิดของเราซึ่งเกิดจากการกระทำที่ไร้ประโยชน์ เพื่อเราจะได้ทำงานรับใช้ที่ศักดิ์สิทธิ์ให้กับพระเจ้าผู้มีชีวิตอยู่
it-1-E น. 862 ว. 1
การให้อภัย
กฎหมายที่พระเจ้าให้กับชาวอิสราเอลบอกว่า เพื่อคนที่ทำบาปต่อพระเจ้าหรือต่อคนอื่น ๆ จะได้รับการอภัย สิ่งแรกที่เขาต้องทำคือแก้ไขความผิดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และส่วนใหญ่แล้วเขาต้องถวายเลือดเป็นเครื่องบูชาต่อพระยะโฮวาด้วย (ลนต 5:5-6:7) ดังนั้น เปาโลจึงพูดถึงหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ตามกฎหมายของโมเสส เกือบทุกสิ่งถูกชำระด้วยเลือด ถ้าไม่มีการหลั่งเลือดก็ไม่มีการให้อภัย” (ฮบ 9:22) ที่จริง เลือดของสัตว์ที่ถวายเป็นเครื่องบูชาไม่สามารถขจัดบาปและความรู้สึกผิดให้หมดไปได้ (ฮบ 10:1-4; 9:9, 13, 14) แต่สัญญาใหม่ที่บอกไว้ล่วงหน้าสามารถให้อภัยบาปได้อย่างแท้จริงโดยอาศัยค่าไถ่ของพระเยซูคริสต์ (ยรม 31:33, 34; มธ 26:28; 1คร 11:25; อฟ 1:7) พระเยซูแสดงให้เห็นว่า ท่านมีอำนาจในการอภัยบาปโดยรักษาคนที่เป็นอัมพาตแม้แต่ตอนที่ท่านอยู่บนโลก—มธ 9:2-7
(ฮีบรู 10:1-4) กฎหมายของโมเสสเป็นเงาของสิ่งดี ๆ ที่จะมีมา ไม่ใช่ของจริง กฎหมายนั้นจึงไม่สามารถทำให้คนที่มาหาพระเจ้าเป็นมนุษย์สมบูรณ์ได้ ถึงแม้พวกเขาจะเอาเครื่องบูชาแบบเดิม ๆ มาถวายปีแล้วปีเล่า 2 ถ้าพวกเขาเอาเครื่องบูชามาถวาย แล้วได้รับการชำระจนไม่รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนบาปอีกต่อไป พวกเขาก็คงเลิกถวายไปแล้ว จริงไหม? 3 แต่จริง ๆ แล้วไม่เป็นอย่างนั้น เครื่องบูชากลับเตือนพวกเขาทุกปีให้รู้ว่าตัวเองมีบาป 4 เพราะเลือดวัวตัวผู้และเลือดแพะขจัดบาปไม่ได้
it-1-E น. 602-603
ความสมบูรณ์แบบ
ความสมบูรณ์แบบของกฎหมายโมเสส กฎหมายที่พระเจ้าให้ชาวอิสราเอลโดยทางโมเสสพูดถึงการจัดเตรียมในเรื่องปุโรหิตและเครื่องบูชาที่เป็นสัตว์ชนิดต่าง ๆ ด้วย แม้กฎหมายนี้จะสมบูรณ์แบบเพราะมาจากพระเจ้า แต่กฎหมายนี้ ปุโรหิต หรือเครื่องบูชาก็ไม่ได้ทำให้คนที่อยู่ใต้กฎหมายนี้กลายเป็นคนสมบูรณ์แบบเหมือนกับที่เปาโลอธิบายไว้ตามที่พระเจ้าดลใจ (ฮบ 7:11, 19; 10:1) แทนที่จะทำให้เป็นอิสระจากบาปและความตาย จริง ๆ แล้วกฎหมายนี้ทำให้บาปเห็นชัดเจนมากขึ้น (รม 3:20; 7:7-13) แม้จะเป็นอย่างนั้น การจัดเตรียมทั้งหมดนี้ของพระเจ้าก็ได้เป็นไปตามที่พระองค์ตั้งใจแล้วคือ ให้กฎหมายของโมเสสเป็นเหมือน “พี่เลี้ยง” ที่พาไปหาพระคริสต์ และเป็น “เงาของสิ่งดี ๆ ที่จะมีมา” ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ (กท 3:19-25; ฮบ 10:1) ดังนั้น เมื่อเปาโลพูดถึง “สิ่งที่กฎหมายของโมเสสทำไม่ได้เพราะความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์” (รม 8:3) เขาน่าจะหมายถึงสิ่งที่มหาปุโรหิตชาวยิวตามสายเลือดทำไม่ได้ (มหาปุโรหิตเป็นคนที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายของโมเสสให้ดูแลเรื่องการถวายเครื่องบูชา เขาจะเข้าไปในห้องบริสุทธิ์ที่สุดในวันไถ่บาป เพื่อถวายเครื่องบูชาที่เป็นเลือดให้กับพระเจ้า) ซึ่งก็คือช่วยคนที่มาหาเขาให้ “รอดได้อย่างสมบูรณ์” เหมือนที่ฮีบรู 7:11, 18-28 อธิบายไว้ แม้เครื่องบูชาที่ถวายโดยทางปุโรหิตที่เป็นลูกหลานอาโรนทำให้ผู้คนเป็นที่ยอมรับของพระเจ้า แต่ก็ไม่ได้ทำให้คนนั้นรู้สึกว่าตัวเขาไม่มีบาปแล้ว เปาโลพูดถึงเรื่องนี้โดยบอกว่า เครื่องบูชาไถ่บาป “ไม่สามารถทำให้คนที่มาหาพระเจ้าเป็นมนุษย์สมบูรณ์ได้” และไม่สามารถขจัดความรู้สึกผิดให้หมดไปได้ (ฮบ 10:1-4; เทียบกับ ฮบ 9:9) เครื่องบูชาที่มหาปุโรหิตถวายไม่สามารถไถ่บาปได้อย่างแท้จริง มีแต่พระคริสต์ผู้เป็นมหาปุโรหิตตลอดไปและเครื่องบูชาที่ใช้ได้จริงของท่านเท่านั้นที่ไถ่บาปได้—ฮบ 9:14; 10:12-22
วันที่ 30 กันยายน–6 ตุลาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | ฮีบรู 11
“วิธีที่ทำให้เกิดบาปและความตาย”
ขุดค้นหาความรู้ที่มีค่าของพระเจ้า
(ยากอบ 1:17) ของดี ๆ และสมบูรณ์ทุกอย่างมาจากเบื้องบน จากพระเจ้าผู้ทำให้เกิดดวงดาวที่ส่องแสงบนท้องฟ้า พระองค์ไม่เคยเปลี่ยนเหมือนเงาที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
it-2-E น. 253-254
แสง
พระยะโฮวาเป็น “พระเจ้าผู้ทำให้เกิดดวงดาวที่ส่องแสงบนท้องฟ้า” (ยก 1:17) นอกจากพระองค์จะเป็นผู้ที่ “ทำให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงตอนกลางวัน ผู้ตั้งกฎให้ดวงจันทร์และดวงดาวส่องแสงตอนกลางคืน” แล้ว (ยรม 31:35) พระองค์ยังเป็นแหล่งของความรู้ที่เปรียบเหมือนแสงสว่างด้วย (2คร 4:6) กฎหมาย ข้อกำหนด และถ้อยคำของพระองค์เป็นแสงสว่างให้กับคนที่เต็มใจทำตาม (สด 43:3; 119:105; สภษ 6:23; อสย 51:4) ผู้เขียนหนังสือสดุดีบอกว่า “แสงของพระองค์ทำให้พวกเรารู้จักความสว่าง” (สด 36:9; เทียบกับ สด 27:1; 43:3) เหมือนกับแสงของดวงอาทิตย์ที่สว่างขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เช้า “จนถึงเที่ยงวัน” ทางของคนดีก็สว่างขึ้นเรื่อย ๆ เพราะได้รับสติปัญญาจากพระเจ้าเหมือนกัน (สภษ 4:18) การใช้ชีวิตตามแนวทางของพระยะโฮวาคือ การเดินในทางของพระองค์ที่มีความสว่าง (อสย 2:3-5) แต่ถ้าคนหนึ่งมีความคิดที่ไม่บริสุทธิ์และชั่วร้าย เขาก็อยู่ในความมืดมนทางความเชื่อ เหมือนที่พระเยซูบอกไว้ว่า “ถ้าตาของคุณมองคนอื่นด้วยความอิจฉา ทั้งตัวคุณก็จะมืดไป ถ้าแสงสว่างในตัวคุณกลายเป็นความมืด ตัวคุณจะมืดทึบขนาดไหน”—มธ 6:23; เทียบกับ ฉธบ 15:9; 28:54-57; สภษ 28:22; 2ปต 2:14