แหล่งอ้างอิงสำหรับชีวิตและงานรับใช้—คู่มือประชุม
แหล่งอ้างอิงสำหรับชีวิตและงานรับใช้—คู่มือประชุม
วันที่ 5-11 มิถุนายน
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | เยเรมีย์ 51-52
“รายละเอียดทุกอย่างที่พระยะโฮวาบอกไว้เกิดขึ้นจริงทั้งหมด”
it-2-E น. 360 ว. 2-3
ชาวมีเดีย, มีเดีย
ร่วมกับชาวเปอร์เซียเอาชนะบาบิโลน ในศตวรรษที่ 8 ก่อน ค.ศ. ผู้พยากรณ์อิสยาห์บอกล่วงหน้าว่าพระยะโฮวาจะกระตุ้นให้มีการโจมตีบาบิโลน “พวกนี้ [มีเดีย] ไม่สนใจเงิน และไม่ไยดีทองคำ คันธนูของพวกเขาจะสังหารชายหนุ่ม” (อสย 13:17-19; 21:2) คำว่า “พวกมีเดีย” ในที่นี้อาจรวมถึงพวกเปอร์เซียด้วย เพราะแม้แต่นักประวัติศาสตร์โบราณชาวกรีกหลายคนก็ใช้คำนี้เพื่อหมายถึงทั้งชาวมีเดียและชาวเปอร์เซีย การที่พวกเขาดูถูกเงินและทองเป็นหลักฐานที่ทำให้รู้ว่าแรงจูงใจหลักของพวกเขาคือชัยชนะเหนือบาบิโลน ไม่ใช่ทรัพย์สินที่จะยึดได้จากเมืองนี้ ดังนั้น ไม่มีสินบนหรือของบรรณาการใด ๆ จะทำให้พวกเขาเปลี่ยนใจไปจากการทำลายบาบิโลน ชาวมีเดียก็เหมือนกับชาวเปอร์เซียที่ใช้ธนูเป็นอาวุธหลัก คันธนูของพวกเขาทำจากไม้ซึ่งอาจเคลือบด้วยทองแดง (เทียบกับ สด 18:34) ลูกธนูที่ถูกขัดเงาเพื่อให้แทงทะลุได้ดีขึ้นจำนวนมากมายที่ตกจากฟ้าเหมือนกับลูกเห็บคงสังหารชายหนุ่มของบาบิโลนไปมากมาย—ยรม 51:11
ขอสังเกตว่าเยเรมีย์ (51:11, 28) พูดถึง “กษัตริย์ [หลายองค์] ของชาวมีเดีย” ที่ไปโจมตีบาบิโลน กษัตริย์หลายองค์ในที่นี้อาจหมายถึง กษัตริย์มีเดียองค์อื่น ๆ ที่มีอำนาจน้อยกว่าไซรัสซึ่งได้ไปร่วมโจมตีบาบิโลนด้วย ซึ่งนี่เป็นเรื่องปกติในสมัยโบราณ (เทียบกับ ยรม 25:25) เช่นเดียวกับที่เราพบว่า ตอนที่มีการโจมตีบาบิโลนโดยกองกำลังผสมของชาวมีเดีย เปอร์เซีย เอลาม และชาติอื่น ๆ โดยรอบ เป็นช่วงที่ดาริอัสชาวมีเดีย “ได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ในอาณาจักรของชาวเคลเดีย” โดยกษัตริย์ไซรัสชาวเปอร์เซียเป็นผู้แต่งตั้งเขา—ดนล 5:31; 9:1; ดู ดาริอัสที่ 1
it-2-E น. 459 ว. 4
นะโบไนดัส
น่าสนใจ บันทึกทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคืนที่บาบิโลนล่มสลายบอกว่า “กองทัพของไซรัสบุกเข้าเมืองบาบิโลนโดยไม่มีการสู้รบ” นี่ดูเหมือนไม่มีการต่อสู้ใด ๆ เกิดขึ้น และเรื่องนี้ก็สอดคล้องกับคำพยากรณ์ของเยเรมีย์ที่บอกว่า ‘พวกนักรบบาบิโลนจะหยุดต่อสู้’—ยรม 51:30
it-1-E น. 237 ว. 1
บาบิโลน
หลังจากเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ในปี 539 ก่อน ค.ศ. ความสง่างามของเมืองบาบิโลนก็เริ่มลดน้อยลง มี 2 ครั้งที่บาบิโลนกบฏต่อดาริอัสที่ 1 (ฮิสตาสพิส) จักรพรรดิแห่งเปอร์เซีย และในการกบฏครั้งที่ 2 บาบิโลนก็ถูกทำลายลงอย่างย่อยยับ จากนั้น เมืองบาบิโลนที่ได้รับการฟื้นฟูบางส่วนก็กบฏอีกครั้งต่อการปกครองของเซอร์ซิสที่ 1 แต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้น อเล็กซานเดอร์มหาราชอยากจะทำให้บาบิโลนเป็นเมืองหลวง แต่ในปี 323 ก่อน ค.ศ. เขาก็เสียชีวิตอย่างกะทันหัน ต่อมา นิคาเตอร์ยึดเมืองนี้ได้ในปี 312 ก่อน ค.ศ. และเขาส่งวัสดุจากที่นี่ไปริมฝั่งแม่น้ำไทกริสเพื่อสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ที่เมืองเซลูเคีย อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก ๆ ของยุคคริสเตียน ยังคงมีเมืองและมีชาวยิวอยู่ที่บาบิโลน อัครสาวกเปโตรจึงต้องไปเยี่ยมที่บาบิโลนด้วยตามที่เราเห็นในจดหมายของเขา (1ปต 5:13) นอกจากนั้น จารึกต่าง ๆ ที่ค้นพบที่นั่นแสดงให้เห็นว่าวิหารของพระเบลแห่งบาบิโลนยังคงมีอยู่จนถึงปี ค.ศ. 75 แต่พอถึงศตวรรษที่ 4 บาบิโลนก็เหลือเพียงซากปรักหักพังและสุดท้ายบาบิโลนก็มีสภาพร้างเปล่าไม่มีใครอยู่อีกต่อไป เมืองนี้กลายเป็นเพียง “กองหิน” เท่านั้น—ยรม 51:37
ขุดค้นความรู้ที่มีค่าของพระเจ้า
it-2-E น. 444 ว. 9
เขา, ภูเขา
หมายถึงรัฐบาลต่าง ๆ ภูเขาที่พูดถึงในคัมภีร์ไบเบิลอาจเป็นภาพถึงอาณาจักรต่าง ๆ หรือรัฐบาลต่าง ๆ ที่ปกครองอยู่ (ดนล 2:35, 44, 45; เทียบกับ อสย 41:15; วว 17:9-11, 18) บาบิโลนทำลายหลายดินแดนด้วยกองทัพทหาร บาบิโลนจึงถูกเรียกว่า “ภูเขาแห่งการทำลายล้าง” (ยรม 51:24, 25) เพลงสดุดีพูดเกี่ยวกับสิ่งที่พระยะโฮวาทำเพื่อต่อต้านคนที่ทำสงคราม โดยบอกว่า “พระองค์ส่องแสงเจิดจ้า พระองค์ยิ่งใหญ่กว่าภูเขาที่มีสัตว์ป่า” (สด 76:4) “ภูเขาที่มีสัตว์ป่า” อาจหมายถึงอาณาจักรที่โหดร้าย (เทียบกับ นฮม 2:11-13) ดาวิดพูดถึงพระยะโฮวาว่า “พระองค์ทำให้ผมแข็งแกร่งเหมือนภูเขา” ซึ่งอาจหมายความว่าพระยะโฮวาทำให้อาณาจักรของเขายิ่งใหญ่และมั่นคง (สด 30:7; เทียบกับ 2ซม 5:12) เมื่อเราได้รู้ว่าภูเขาอาจใช้เพื่อหมายถึงรัฐบาลต่าง ๆ เราจึงเข้าใจความหมายของสิ่งที่พูดถึงในวิวรณ์ 8:8 ที่บอกว่า “สิ่งหนึ่งที่เหมือนกับภูเขาลูกใหญ่ที่มีไฟลุกอยู่” สิ่งที่คล้ายกับภูเขาที่มีไฟลุกอยู่ อาจชี้ถึงความเกี่ยวข้องกับรูปแบบการปกครองที่ชอบทำลายล้างเหมือนกับไฟ
it-2-E น. 882 ว. 3
ทะเล
กองทัพมากมาย เยเรมีย์อธิบายว่าเสียงของกองทัพที่จะมาโจมตีบาบิโลนเป็นเหมือน “ทะเลที่ปั่นป่วน” (ยรม 50:42) ดังนั้น เมื่อเขาบอกว่า “ทะเล” จะมาท่วมบาบิโลน เขาคงต้องหมายถึงกองทัพของชาวมีเดียและชาวเปอร์เซียที่มีมากมายเหมือนน้ำท่วม—ยรม 51:42; เทียบกับ ดนล 9:26
วันที่ 19-25 มิถุนายน
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | เอเสเคียล 1-5
it-1-E น. 1214
ลำไส้
ลำไส้ช่วยดูดซึมอาหารที่เรากินเข้าไป และเรื่องนี้ถูกใช้เปรียบเทียบกับการย่อยทางความคิดหรือความรู้ของพระเจ้า ในนิมิต เอเสเคียลถูกสั่งให้กินม้วนหนังสือเข้าไปในท้อง [ลำไส้] (ภาษาฮีบรู เมอิมʹ) เอเสเคียลคงได้รับกำลังทางความเชื่อโดยการคิดใคร่ครวญและจดจำถ้อยคำที่เขียนไว้ในม้วนหนังสือ โดยการทำอย่างนี้ ความเชื่อของเขาจึงได้รับการหล่อเลี้ยงและรู้ว่าจะพูดข่าวสารอะไร—อสค 3:1-6; เทียบกับ วว 10:8-10