-
พระธรรมเล่มที่ 27—ดานิเอล“พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์”
-
-
20. นิมิตสี่เรื่องอะไรที่มีบันทึกไว้ซึ่งเกี่ยวกับมหาอำนาจต่าง ๆ ของโลก และเหตุใดการพิจารณานิมิตเหล่านั้นในสมัยนี้จึงเสริมความเชื่อให้เข้มแข็ง?
20 นิมิตของดานิเอลน่าตื่นเต้นและเสริมความเชื่อให้เข้มแข็งซึ่งน่าจะพิจารณา. ประการแรก จงพิจารณานิมิตสี่เรื่องเกี่ยวกับมหาอำนาจต่าง ๆ ของโลก: (1) นิมิตเรื่องรูปปั้นที่น่ากลัว ซึ่งศีรษะทองคำแสดงถึงราชวงศ์ของกษัตริย์บาบูโลนซึ่งเริ่มด้วยนะบูคัดเนซัร หลังจากบาบูโลนก็มีอีกสามอาณาจักรเกิดขึ้น ตามที่แสดงไว้โดยส่วนอื่นของรูปปั้น. อาณาจักรเหล่านี้คืออาณาจักรที่ถูกบดขยี้โดย “หิน” ซึ่งต่อมาได้เป็น ‘อาณาจักรหนึ่งซึ่งจะไม่มีวันถูกทำลาย’ คือราชอาณาจักรของพระเจ้า. (2:31-45, ล.ม.) (2) แล้วต่อมาก็เป็นนิมิตของดานิเอลเอง เรื่องแรกเป็นนิมิตเกี่ยวกับสัตว์ร้ายสี่ตัวที่แสดงถึง “กษัตริย์สี่องค์.” สัตว์เหล่านี้เหมือนสิงโต, หมี, เสือดาวสี่หัว, และสัตว์ที่มีฟันเหล็กซี่ใหญ่, มีสิบเขา, และต่อมาก็มีเขาเล็ก ๆ อีกหนึ่งอัน. (7:1-8, 17-28) (3) ต่อจากนั้นก็มีนิมิตเกี่ยวกับแกะตัวผู้ (มีโด-เปอร์เซีย), แพะตัวผู้ (กรีซ), และเขาเล็ก. (8:1-27) (4) สุดท้าย เรามีนิมิตเกี่ยวกับกษัตริย์ทิศใต้และกษัตริย์ทิศเหนือ. ดานิเอล 11:5-19 พรรณนาอย่างถูกต้องถึงการแข่งขันชิงดีกันระหว่างชาวอียิปต์กับราชวงศ์เซเลอคิดซึ่งแตกแขนงจากจักรวรรดิกรีซของอะเล็กซานเดอร์หลังจากท่านสิ้นชีพในปี 323 ก.ส.ศ. ตั้งแต่ข้อ 20 คำพยากรณ์พรรณนาถึงชาติต่าง ๆ ของทิศใต้และทิศเหนือที่สืบทอดอำนาจ. ที่พระเยซูอ้างอิงถึง “สิ่งน่าสะอิดสะเอียนซึ่งทำให้ร้างเปล่า.” (11:31, ล.ม.) ในคำพยากรณ์เรื่องหมายสำคัญแห่งการประทับของพระองค์นั้นแสดงให้เห็นว่า การต่อสู้ชิงอำนาจของกษัตริย์ทั้งสองยังดำเนินต่อมาจนถึง “ช่วงอวสานของระบบนี้.” (มัด. 24:3, ล.ม.) คำรับรองในคำพยากรณ์นี้นับว่าให้การปลอบโยนจริง ๆ ที่ว่า ใน “ยุคของความยากลำบาก, ตั้งแต่เกิดเป็นชาติมาจนถึงสมัยนั้นก็ยังไม่เคยมีลำบากใดเท่า” มิคาเอลเองจะยืนขึ้นเพื่อกำจัดชาติที่ไม่เลื่อมใสพระเจ้าและนำสันติสุขมาสู่มนุษยชาติที่เชื่อฟัง!—ดานิ. 11:20–12:1.
-
-
พระธรรมเล่มที่ 27—ดานิเอล“พระคัมภีร์ทุกตอนมีขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้าและเป็นประโยชน์”
-
-
23. (ก) มีการเน้นความหวังเรื่องราชอาณาจักรอย่างไรตลอดพระธรรมดานิเอล? (ข) หนังสือแห่งคำพยากรณ์เล่มนี้น่าจะหนุนใจเราให้ทำอะไร?
23 มีการเน้นความหวังเรื่องราชอาณาจักรตลอดพระธรรมดานิเอลในแบบที่กระตุ้นให้เกิดความเชื่อ! มีการเผยให้เห็นว่าพระยะโฮวาเจ้าทรงเป็นองค์บรมมหิศรที่ตั้งราชอาณาจักรหนึ่งขึ้นซึ่งไม่มีวันถูกทำลายและซึ่งจะทำลายอาณาจักรอื่น ๆ ทั้งสิ้น. (2:19-23, 44; 4:25) แม้แต่นะบูคัดเนซัรและดาระยาศกษัตริย์นอกรีตก็จำต้องยอมรับฐานะสูงสุดของพระยะโฮวา. (3:28, 29; 4:2, 3, 37; 6:25-27) พระยะโฮวาได้รับการเชิดชูและถวายเกียรติในฐานะผู้ทรงพระชนม์แต่เบื้องบรรพ์ผู้ทรงตัดสินประเด็นเรื่องราชอาณาจักรและทรงประทานให้ผู้หนึ่ง “รูปร่างดังบุตรของมนุษย์” มี “รัช, และเกียรติยศและอาณาจักร, เพื่อทุกประเทศทุกชาติทุกภาษาจะได้ปฏิบัติท่าน.” “เหล่าผู้บริสุทธิ์แห่งพระเจ้าผู้สูงสุด” คือผู้ที่ร่วมกับพระคริสต์เยซู “บุตรมนุษย์” ในราชอาณาจักร. (ดานิ. 7:13, 14, 18, 22; มัด. 24:30; วิ. 14:14) พระองค์คือมิคาเอล เจ้าชายองค์ยิ่งใหญ่ซึ่งสำแดงราชอำนาจของพระองค์เพื่อบดขยี้และนำอวสานมาสู่อาณาจักรทั้งปวงของโลกเก่านี้. (ดานิ. 12:1; 2:44; มัด. 24:3, 21; วิ. 12:7-10) การเข้าใจคำพยากรณ์เหล่านี้และนิมิตต่าง ๆ ควรหนุนใจผู้รักความชอบธรรมให้กระตือรือร้นและค้นดูหน้าต่าง ๆ แห่งพระคำของพระเจ้าเพื่อจะพบ “สิ่งมหัศจรรย์” ที่แท้จริงในจุดประสงค์ต่าง ๆ แห่งราชอาณาจักรพระเจ้าซึ่งเปิดเผยแก่เราโดยทางพระธรรมดานิเอลที่มีขึ้นโดยการดลใจและเป็นประโยชน์.—ดานิ. 12:2, 3, 6.
-