พยานที่กระตือรือร้นของพระยะโฮวารุดหน้าไป!
พยานของพระยะโฮวาในศตวรรษแรกเป็นประชาชนผู้ที่ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญและร้อนรน. พวกเขาปฏิบัติหน้าที่มอบหมายของพระเยซูให้ลุล่วงไปด้วยใจจดจ่อที่ว่า: “จงออกไป . . . ทำให้ชนจากทุกชาติเป็นสาวก.”—มัดธาย 28:19, 20, ล.ม.
แต่เราทราบได้อย่างไรว่าพวกสาวกรุ่นแรกของพระคริสต์ปฏิบัติหน้าที่มอบหมายนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง? เอาละ พระธรรมกิจการของอัครสาวกในพระคัมภีร์พิสูจน์ว่าพวกเขาเป็นพยานที่กระตือรือร้นของพระยะโฮวา รุดหน้าไปอย่างแท้จริง!
ผลประโยชน์และลักษณ์เด่นอื่น ๆ
ความคล้ายคลึงกันในด้านภาษาและลีลาการเขียนระหว่างกิตติคุณเล่มที่สามกับพระธรรมกิจการนั้นบ่งชี้ถึงผู้เขียนคนเดียวคือ ลูกา “แพทย์ที่รัก.” (โกโลซาย 4:14) ในบรรดาลักษณะเด่นอันหาที่เปรียบไม่ได้ของพระธรรมนั้นก็คือการสนทนาและคำอธิษฐานที่ได้รับการรักษาไว้ในพระธรรมกิจการ. ราว ๆ ร้อยละ 20 ของหนังสือนั้นประกอบด้วยคำปราศรัย เช่นที่เสนอโดยเปโตรและเปาโลอันเป็นการสนับสนุนความเชื่อแท้.
พระธรรมกิจการได้รับการเขียนในกรุงโรม ราว ๆ ปีสากลศักราช 61. ดูเหมือนว่านั้นเป็นสาเหตุที่พระธรรมนั้นมิได้กล่าวถึงการปรากฏตัวของเปาโลต่อหน้ากายะซา หรือการข่มเหงที่เนโรขับเคี่ยวต่อคริสเตียนราว ๆ ปีสากลศักราช 64.—2 ติโมเธียว 4:11.
เช่นเดียวกับกิตติคุณของลูกา กิจการมุ่งไปยังเธโอฟีโล. พระธรรมนี้เขียนขึ้นเพื่อสนับสนุนความเชื่อและรายงานเกี่ยวกับการเผยแพร่ศาสนาคริสเตียน. (ลูกา 1:1-4; กิจการ 1:1, 2) หนังสือนี้พิสูจน์ว่าพระหัตถ์ของพระยะโฮวาอยู่กับผู้รับใช้ที่จงรักภักดีของพระองค์ ทั้งทำให้เราสำนึกถึงพลังแห่งพระวิญญาณของพระองค์และเสริมสร้างความมั่นใจของเราในคำพยากรณ์ที่ได้รับการดลบันดาลจากพระเจ้า. กิจการยังช่วยเราให้อดทนการข่มเหง กระตุ้นเราให้เป็นพยานพระยะโฮวาที่เสียสละตัวเอง และก่อร่างสร้างความเชื่อของเราขึ้นในความหวังเรื่องราชอาณาจักร.
ความถูกต้องแม่นยำทางประวัติศาสตร์
ในฐานะเพื่อนร่วมงานของเปาโล ลูกาบันทึกการเดินทางของพวกเขา.ท่านได้สนทนาปราศรัยกับประจักษ์พยานด้วย. ปัจจัยเหล่านี้ และการค้นคว้าโดยละเอียดทำให้บทจารึกของท่านเป็นผลงานชิ้นเอก ตราบเท่าที่ความถูกต้องแม่นยำทางประวัติศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย.
เพราะฉะนั้น ผู้เชี่ยวชาญชื่อวิลเลียม แรมเซย์จึงพูดได้ว่า “ลูกาเป็นนักประวัติศาสตร์ชั้นแนวหน้า. ไม่เพียงการแถลงข้อเท็จจริงของท่านเป็นที่น่าไว้วางใจเท่านั้น ท่านยังมีจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์แท้ด้วย . . . ควรจัดลำดับนักประพันธ์ผู้นี้ไว้ร่วมกับนักประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด.”
เปโตร—พยานผู้ซื่อสัตย์
งานที่พระเจ้ามอบหมายให้ในการประกาศข่าวดีอาจปฏิบัติให้ลุล่วงไปได้เฉพาะแต่โดยพลังอำนาจแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระยะโฮวา. ด้วยเหตุนี้ เมื่อเหล่าสาวกของพระเยซูได้รับพระวิญญาณบริสุทธิ์ พวกเขาจะได้เป็นพยานของพระองค์ในกรุงยะรูซาเลม มณฑลยูดาย และมณฑลซะมาเรีย และ “จนถึงที่สุดปลายแผ่นดินโลก.” ณ เทศกาลเพ็นเตคอสเตปีสากลศักราช 33 พวกเขาเปี่ยมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์. เนื่องจากตอนนั้นเป็นเวลาเพียง 9:00 น. เท่านั้น พวกเขาไม่ได้เมาเหล้าแน่ ๆ อย่างที่บางคนคิด. เปโตรให้คำพยานที่น่าตื่นเต้น และ 3,000 คนได้รับบัพติสมา. บรรดาผู้ต่อต้านทางศาสนาพยายามจะทำให้ผู้ประกาศราชอาณาจักรเงียบเสียง แต่โดยตอบคำทูลอธิษฐาน พระเจ้าทรงทำให้พยานของพระองค์สามารถกล่าวคำของพระองค์ด้วยความกล้าหาญ. เมื่อถูกข่มขู่อีก พวกเขาตอบว่า “พวกข้าพเจ้าต้องเชื่อฟังพระเจ้าในฐานะเป็นผู้ครอบครองยิ่งกว่าเชื่อฟังมนุษย์.” งานนั้นดำเนินต่อไปขณะที่พวกเขาประกาศตามบ้านเรือนต่อ ๆ ไป.—1:1–5:42.
การพึ่งอาศัยพระวิญญาณของพระยะโฮวาทำให้พวกพยานของพระองค์สามารถอดทนการข่มเหงได้. เนื่องจากเหตุนี้ ภายหลังซะเตฟาโนพยานผู้ซื่อสัตย์ถูกหินขว้างตาย พวกสาวกของพระเยซูกระจัดกระจายไป แต่นี้ก็มีแต่จะทำให้พระคำ แพร่ไปเท่านั้น. ฟิลิปผู้เผยแพร่กิตติคุณเป็นไพโอเนียร์ในมณฑลซะมาเรีย. โดยคาดไม่ถึง เซาโลแห่งเมืองตาระโซ ผู้ข่มเหงอย่างดุเดือดได้เปลี่ยนศาสนา. ในฐานะเป็นอัครสาวกเปาโล ท่านประสบความรุนแรงแห่งการข่มเหงในเมืองดาเมเซ็ก แต่ก็รอดพ้นแผนสังหารของพวกยิว. เวลาสั้น ๆ เปาโลคบหาสมาคมกับพวกอัครสาวกในกรุงยะรูซาเลม และครั้นแล้วก็ก้าวหน้าไปในงานรับใช้ของท่าน.—6:1–9:31.
พระหัตถ์ของพระยะโฮวาอยู่กับพยานของพระองค์ ดังที่พระธรรมกิจการแสดงให้เห็นต่อไป. เปโตรปลุกโดระกา (ตะบีธา) ขึ้นมาจากตาย. โดยตอบรับการเรียก ท่านประกาศข่าวดีแก่โกระเนเลียว ครอบครัวและมิตรสหายของเขาในเมืองกายซาไรอา. พวกเขาได้รับบัพติสมาฐานะเป็นคนต่างชาติกลุ่มแรกที่เข้ามาเป็นสาวกของพระเยซู. “เจ็ดสิบสัปดาห์” จึงจบลงด้วยวิธีนี้ นำเรามาถึงปีสากลศักราช 33. (ดานิเอล 9:24) หลังจากนั้นไม่นาน เฮโรด อาฆะริปาที่ 1 ประหารชีวิตอัครสาวกยาโกโบ และสั่งให้จับกุมเปโตร. แต่อัครสาวกได้รับการช่วยให้พ้นจากคุกโดยทูตสวรรค์ และ ‘คำของพระยะโฮวาก็ยังแผ่เจริญมากขึ้น.’—9:32–12:25.
การเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาสามรอบของเปาโล
พระพรหลั่งไหลมายังคนเหล่านั้นที่ทุ่มเทตัวเองในการรับใช้พระเจ้า เช่นเดียวกับเปาโล. การเดินทางไปเผยแพร่ศาสนารอบแรกของท่านเริ่มต้นที่เมืองอันติโอเกีย มณฑลซีเรีย. บนเกาะกุบโร (ไซปรัส) ผู้ว่าราชการเมืองชื่อเซระเฆียวเปาโลและคนอื่น ๆ หลายคนเข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ. ณ เมืองเประเฆ ในมณฑลปัมฟูเลีย โยฮันมาระโกได้ออกเดินทางไปยังกรุงยะรูซาเลม แต่เปาโลกับบารนาบา รุดหน้าต่อไปยังอันติโอเกียในมณฑลปิซิเดีย. ในเมืองลุศตรา พวกยิวปลุกปั่นให้เกิดการข่มเหง. ถึงแม้ถูกหินขว้างและปล่อยทิ้งไว้ให้ตายเปาโลฟื้นตัวอีกและดำเนินต่อไปในงานรับใช้. ในที่สุด ท่านกับบาระนาบากลับไปยังเมืองอันติโอเกียในมณฑลซีเรีย เสร็จสิ้นการเดินทางรอบแรก.—13:1–14:28.
เช่นเดียวกับคู่เทียบในศตวรรษแรก คณะกรรมการปกครองในปัจจุบันแก้ปัญหาโดยการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์. การรับสุหนัตหาได้อยู่ในบรรดา “สิ่งเหล่านั้นที่จำเป็น” ไม่ ซึ่งรวมเอา “การงดรับประทานสิ่งของซึ่งเขาได้บูชาแก่รูปพระเท็จ และการรับประทานเลือด และการรับประทานเนื้อสัตว์ซึ่งถูกรัดคอตายและการล่วงประเวณี.” (15:28, 29) ขณะที่เปาโลเริ่มต้นการเดินทางรอบที่สอง ซีลาไปด้วยกันกับท่าน และที่หลังติโมเธียวสมทบกับพวกท่าน. ปฏิบัติการโดยฉับพลันเป็นผลติดตามคำขอร้องให้มาช่วยในมากะโดเนีย. ณ เมืองฟิลิปปอย การให้คำพยานยังผลด้วยความชุลมุนวุ่นวายและการจำคุก. แต่เปาโลกับซีลาได้รับการปลดปล่อยเนื่องจากแผ่นดินไหวและประกาศแก่นายคุกกับครอบครัวของเขา และคนเหล่านี้ได้เข้ามาเป็นผู้เชื่อถือที่รับบัพติสมา.—15:1–16:40.
ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาควรเป็นนักศึกษาพระวจนะของพระองค์ที่ขยันเช่นเดียวกับเปาโลและชาวเบรอยะที่ค้นคว้าพระคัมภีร์. บนเนินเขาอาเรียวปากัสในเมืองอะเธนาย (เอเธนส์) ท่านให้คำพยานในเรื่องพระยะโฮวาเป็นพระผู้สร้าง และบางคนได้เข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ. ในเมืองโกรินโธมีการสำแดงความสนใจมาก จนกระทั่งท่านคงอยู่ในเมืองนั้นต่อไปเป็นเวลา 18 เดือน. ระหว่างอยู่ที่นั่น ท่านเขียนพระธรรมเธซะโลนิเกฉบับที่หนึ่งและที่สอง. เมื่อแยกจากซีลาและติโมเธียวแล้ว อัครสาวกแล่นเรือไปยังเมืองเอเฟโซ ต่อจากนั้นก็ลงเรือไปยังเมืองกายซาไรอา แล้วเดินทางต่อไปยังกรุงยะรูซาเลม. เมื่อท่านกลับไปยังเมืองอันติโอเกีย ซีเรีย การเดินทางเผยแพร่ศาสนารอบที่สองของท่านได้สิ้นสุดลง.—17:1–18:22.
ดังที่เปาโลชี้แจงนั้น การให้คำพยานตามบ้านเรือนเป็นส่วนสำคัญแห่งงานรับใช้ฝ่ายคริสเตียน. การเดินทางรอบที่สามของอัครสาวก (ปีสากลศักราช 52-56) ส่วนใหญ่เป็นการย้อนรอยการเดินทางรอบที่สอง. การรับใช้ของเปาโลกระตุ้นให้เกิดการต่อต้าน ณ เมืองเอเฟโซ ที่ซึ่งท่านเขียนพระธรรมโกรินโธฉบับแรก. โกรินโธฉบับที่สองได้รับการเขียนในมากะโดเนีย และท่านเขียนถึงชาวโรมันระหว่างอยู่ในเมืองโกรินโธ. ณ เมืองมีเลโต เปาโลประชุมกับพวกผู้ปกครองจากเมืองเอเฟโซ และกล่าวถึงวิธีที่ท่านได้สั่งสอนพวกเขาในที่สาธารณะและตามบ้านเรือน. การเดินทางรอบที่สามของท่านสิ้นสุดลงเมื่อท่านมาถึงกรุงยะรูซาเลม.—18:23–21:14.
การข่มเหงไร้ผล
การข่มเหงมิได้ปิดริมฝีปากพยานผู้ซื่อสัตย์ของพระยะโฮวา. ดังนั้นเมื่อเปาโลได้เผชิญกับความบ้าระห่ำของฝูงชนที่วุ่นวาย ณ พระวิหารในกรุงยะรูซาเลม ท่านให้คำพยานอย่างกล้าหาญแก่ผู้ก่อการจลาจลที่เดือดพล่าน. แผนที่จะสังหารท่านล้มเหลวเมื่อท่านถูกส่งตัวไปยังผู้ว่าราชการเมืองเฟลิกซ์ ณ เมืองกายซาไรอาพร้อมกับทหารยาม. เปาโลถูกคุมขังเป็นเวลาสองปี เนื่องจากเฟลิกซ์หวังจะได้สินบนซึ่งไม่เคยมีมาเลย. เฟศโต ผู้รับช่วงต่อจากเขาได้ยินเปาโลอุทธรณ์ถึงกายะซา. อย่างไรก็ดี ก่อนมุ่งหน้าไปยังกรุงโรม อัครสาวกได้ทำการแก้คดีอย่างที่เร้าใจจำเพาะพระพักตร์กษัตริย์อะฆะริปา.—21:15–26:32.
โดยไม่หวาดกลัวเนื่องจากการทดลองต่าง ๆ ผู้รับใช้ของพระยะโฮวาประกาศต่อ ๆ ไป. เป็นจริงเช่นนี้กับเปาโลแน่ ๆ. เนื่องจากท่านอุทธรณ์ถึงกายะซา อัครสาวกจึงเริ่มเดินทางไปยังกรุงโรมพร้อมกับลูการาว ๆ ปีสากลศักราช 58. ณ เมืองมุราในมณฑลลุเกีย พวกเขาย้ายไปลงเรืออีกลำหนึ่ง. แม้พวกเขาประสบเรือแตก แล้วขึ้นฝั่งบนเกาะเมลีเตก็ตาม ภายหลังก็มีเรืออีกลำหนึ่งพาพวกเขาไปยังประเทศอิตาลี. ถึงแม้อยู่ภายใต้ทหารยามในกรุงโรมก็ตาม เปาโลได้เรียกประชาชนมาหาท่านและประกาศข่าวดีแก่พวกเขา. ระหว่างการจำคุกครั้งนี้ ท่านเขียนถึงชาวเอเฟโซ ชาวฟิลิปปอย โกโลซาย ฟิเลโมน และชาวฮีบรู.—27:1–28:31.
รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
พระธรรมกิจการพิสูจน์ว่างานที่พระบุตรของพระเจ้าได้เริ่มต้นนั้นดำเนินต่อไปด้วยความซื่อสัตย์โดยพยานพระยะโฮวาในศตวรรษแรก. ถูกแล้ว ภายใต้พลังแห่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าพวกเขาให้คำพยานอย่างกระตือรือร้น.
เพราะพวกสาวกรุ่นแรกของพระเยซูพึ่งอาศัยพระเจ้าโดยการอธิษฐาน พระหัตถ์ของพระองค์อยู่กับพวกเขา. ด้วยเหตุนี้หลายพันคนได้เข้ามาเป็นผู้เชื่อถือ และ ‘กิตติคุณได้ประกาศแล้วแก่มนุษย์ทุกคนที่อยู่ใต้ฟ้า.’ (โกโลซาย 1:23) ที่จริง ทั้งในครั้งนั้นและในขณะนี้ คริสเตียนแท้ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นพยานพระยะโฮวาที่กระตือรือร้นซึ่งรุดหน้าไป!
[กรอบ/รูปภาพหน้า 25]
นายร้อยโกระเนเลียว: เป็นข้าราชการทหาร หรือนายร้อยคนหนึ่ง. (10:1) เงินเดือนประจำปีของนายร้อยเป็นจำนวนห้าเท่าของเงินเดือนพลทหารราบ หรือราว ๆ 1,200 เดนารี แต่อาจจะสูงกว่านี้มาก. เมื่อปลดเกษียณ เขาได้รับทรัพย์สินเป็นเงินหรือมิฉะนั้นก็ที่ดิน. เครื่องแต่งตัวชุดทหารของเขามีสีสันตั้งแต่หมวกเกราะเงินไปจนถึงเสื้อผ้าเหมือนกระโปรงสั้น เสื้อคลุมที่ทำด้วยขนแกะอย่างประณีต เกราะหุ้มที่ประดับประดา. พลพรรคของนายร้อยคาดคะเนว่าประกอบด้วยชาย 100 คน แต่บางครั้งก็มีเพียง 80 คนหรือราว ๆ นั้น. ทหารใหม่สำหรับ “กองอิตาลี” ดูเหมือนจะมาจากท่ามกลางพลเมืองชาวโรมันและทาสที่ได้รับการปล่อยเป็นอิสระในอิตาลี.
[กรอบ/รูปภาพหน้า 25]
คำอธิษฐานบนหลังคาตึก: เปโตรใช่ว่าแสดงการโอ้อวดไม่เมื่อท่านอธิษฐานตามลำพังบนหลังคา. (10:9) อิฐที่ก่อขึ้นเป็นขอบรอบหลังคาแบนราบนั้นคงจะบังท่านไว้พ้นสายตา. (พระบัญญัติ 22:8) หลังคาบ้านเป็นสถานที่สำหรับพักผ่อนและหนีพ้นจากเสียงอึกทึกของถนนในยามค่ำด้วย.
[กรอบหน้า 25]
พระเจ้าที่สมมุติเอาว่าอยู่ในร่างมนุษย์: การที่เปาโลรักษาชายง่อยให้หายนั้นทำให้ชาวเมืองลุศตราคิดว่าพวกพระได้ปรากฏฐานะเป็นมนุษย์. (14:8-18) ซูศ พระเจ้าองค์สำคัญของชาวกรีก มีวิหารอยู่ที่เมืองนั้น และเฮระโมน โอรสของเขา ผู้ส่งข่าวของพระเจ้าทั้งหลาย มีชื่อเสียงเลื่องลือในด้านคารมคมคาย. เนื่องจากประชาชนคิดว่าเปาโลเป็นเฮระเมเพราะท่านนำหน้าในการพูด พวกเขาจึงถือว่าบาระนาบาเป็นพระซูศ. เป็นธรรมเนียมที่จะเอาพวงมาลัยที่ทำด้วยดอกไม้หรือใบสนมาสวมให้รูปเคารพของพระเท็จ แต่เปาโลกับบาระนาบาได้ปฏิเสธการปฏิบัติเป็นเชิงไหว้รูปเคารพเช่นนั้น.
[กรอบ/รูปภาพหน้า 25]
นายคุกเชื่อถือ: เมื่อแผ่นดินไหวทำให้ประตูคุกเปิดออก และทำให้เครื่องจำจองหลุดจากนักโทษที่อยู่ร่วมคุก นายคุกชาวฟิลิปปอยคิดจะฆ่าตัวตาย. (16:25-27) ทำไม? เพราะกฎหมายของโรมบัญญัติไว้ว่านายคุกต้องรับโทษของนักโทษที่หลบหนีไป. นายคุกดูเหมือนจะเลือกที่จะตายด้วยการทำอัตวินิบาตกรรมยิ่งกว่าที่จะประสบความตายด้วยการทรมาน ซึ่งคงจะรอนักโทษบางคนอยู่. อย่างไรก็ดี เขาได้ยอมรับข่าวดี และ “ในขณะนั้นนายคุกก็ได้รับบัพติสมาพร้อมทั้งครัวเรือนของเขา.”—16:28-34.
[กรอบ/รูปภาพหน้า 26]
การอุทธรณ์ต่อกายะซา: ในฐานะพลเมืองโรมันมาแต่กำเนิด เปาโลมีสิทธิ์ที่จะอุทธรณ์ถึงกายะซาและได้รับการพิจารณาคดีในกรุงโรม. (25:10-12) ไม่ควรมัด เฆี่ยนหรือลงโทษพลเมืองโรมันโดยปราศจากการพิจารณาคดี.—16:35-40; 22:22-29; 26:32.
[ที่มาของภาพ]
Musei Capitolini Roma
[กรอบ/รูปภาพหน้า 26]
ผู้รักษาวิหารของอาระเตมี: เนื่องจากหัวเสียในการที่เปาโลประกาศ ช่างเงินชื่อเดเมเตรียวได้ปลุกปั่นให้เกิดการจลาจล. แต่นายอำเภอได้ทำให้ฝูงชนสลายตัวไป. (19:23-41) ช่างเงินได้ทำศาลเจ้าเงินเล็ก ๆ ของส่วนอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของวิหารซึ่งรูปปั้นของอาระเตมีเทพธิดาแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งมีเต้านมหลายเต้านั้นตั้งอยู่. เมืองต่าง ๆ แข่งขันกันและกันเพื่อเกียรติยศในการเป็นเนโอโคʹรอส หรือ “ผู้รักษาวิหาร” ของพระนางนั้น.
[กรอบ/รูปภาพหน้า 26]
มรสุมที่ทะเล: เมื่อเรือกำปั่นที่บรรทุกเปาโลไปถูกโหมกระหน่ำด้วยลมพายุกล้าที่เรียกว่ายุโรอะกิโล ‘พวกเขาจึงยกเรือเล็ก [เรือบด] ขึ้นผูกไว้ได้แต่มีความลำบากมาก.’ (27:15, 16) เรือบดเป็นเรือลำเล็ก ๆ ซึ่งตามปกติผูกติดกับเรือใหญ่. เรือกำปั่นบรรทุกเชือกพวนไปด้วยซึ่งจะใช้พันโอบรอบลำเรือ และป้องกันเรือไว้จากแรงดึงที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเสากระโดงระหว่างที่มีพายุนั้น. (27:17) กะลาสีเหล่านี้ได้ทอดสมอสี่ตัวและคลายเชือกโยงของกรรเชียงหางเสือ หรือพายที่ใช้สำหรับคุมทิศทางของเรือ. (27:29, 40) เรือกำปั่นจากเมืองอาเล็กซันดะเรียมีรูปแกะสลัก “ลูกแฝด”—คาสเทอร์และพอลลักซ์ซึ่งถือว่าเป็นผู้พิทักษ์ของชาวเรือ.—28:11.