-
“สติปัญญาอยู่กับคนเจียมตัว”หอสังเกตการณ์ 2000 | 1 สิงหาคม
-
-
เปาโล—“ผู้ที่อยู่ใต้บัญชา” และ “ผู้อารักขา”
4. เปาโลได้รับสิทธิพิเศษเช่นไรที่ไม่มีอะไรเทียบ?
4 เปาโลเป็นคนหนึ่งที่โดดเด่นในท่ามกลางคริสเตียนสมัยแรก ซึ่งก็ไม่แปลกที่เป็นอย่างนั้น. ในเส้นทางงานรับใช้ของท่าน ท่านเดินทางหลายพันกิโลเมตรทั้งทางบกและทางทะเล และท่านได้ก่อตั้งประชาคมขึ้นเป็นจำนวนมาก. นอกจากนี้ พระยะโฮวาทรงอวยพรเปาโลด้วยนิมิตและของประทานในการพูดภาษาต่างประเทศ. (1 โกรินโธ 14:18; 2 โกรินโธ 12:1-5) พระองค์ทรงดลใจเปาโลให้เขียนจดหมาย 14 ฉบับซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนของพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีกด้วย. เห็นได้ชัด อาจกล่าวได้ว่าเปาโลได้ทำการงานอันเหนื่อยยากยิ่งกว่าอัครสาวกคนอื่น ๆ ทั้งหมด.—1 โกรินโธ 15:10.
5. เปาโลแสดงอย่างไรว่าท่านมองตัวเองอย่างเจียมตัว?
5 เนื่องจากเปาโลอยู่ในระดับแนวหน้าของกิจการงานคริสเตียน บางคนอาจคาดหมายว่าท่านคงจะชอบเป็นจุดสนใจ หรือแม้กระทั่งวางอำนาจด้วยซ้ำ. อย่างไรก็ตาม เปาโลไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะท่านเป็นคนเจียมตัว. ท่านเรียกตัวเองว่า “ผู้น้อยที่สุดในพวกอัครสาวก” และยังกล่าวอีกด้วยว่า “[ข้าพเจ้า] ไม่สมควรจะได้ชื่อว่าเป็นอัครสาวก, เพราะว่าข้าพเจ้าได้เคี่ยวเข็ญคริสตจักรของพระเจ้า.” (1 โกรินโธ 15:9) ในฐานะอดีตผู้ข่มเหงคริสเตียน เปาโลไม่เคยลืมว่าเป็นเพราะพระกรุณาอันไม่พึงได้รับเท่านั้นที่ทำให้ท่านสามารถมีสัมพันธภาพกับพระเจ้าได้ ยังไม่ต้องพูดถึงการที่ท่านได้รับสิทธิพิเศษแห่งงานรับใช้. (โยฮัน 6:44; เอเฟโซ 2:8) ด้วยเหตุนั้น เปาโลไม่คิดว่าความสำเร็จเป็นพิเศษในงานรับใช้ทำให้ท่านเหนือกว่าคนอื่น.— 1 โกรินโธ 9:16.
6. เปาโลแสดงความเจียมตัวอย่างไรในปฏิสัมพันธ์กับชาวโกรินโธ?
6 ความเจียมตัวของเปาโลเห็นได้ชัดเป็นพิเศษในปฏิสัมพันธ์ที่ท่านมีกับชาวโกรินโธ. ดูเหมือนว่า พวกเขาบางคนชื่นชอบหลงใหลคนที่เขาคิดว่าเป็นผู้ดูแลที่โดดเด่น อย่างเช่น อะโปโล, เกฟา, และเปาโลเอง. (1 โกรินโธ 1:11-15) แต่เปาโลไม่ได้ร้องขอคำสรรเสริญจากชาวโกรินโธ อีกทั้งไม่ได้แสวงหาประโยชน์จากความนิยมชมชอบของพวกเขา. เมื่อเยี่ยมพวกเขา ท่านไม่ได้แสดงตัวเอง “พร้อมด้วยคำพูดหรือสติปัญญาเลิศลอยเกินความจริง.” แทนที่จะเป็นอย่างนั้น เปาโลกล่าวถึงตัวท่านเองและเพื่อนร่วมเดินทางว่า “ให้ผู้คนถือว่าเราเป็นผู้ที่อยู่ใต้บัญชาพระคริสต์และเป็นผู้อารักขาความลับอันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า.”a—1 โกรินโธ 2:1-5; 4:1, ล.ม.
7. เปาโลแสดงความเจียมตัวอย่างไรแม้กระทั่งเมื่อให้คำแนะนำ?
7 เปาโลแสดงความเจียมตัวแม้แต่เมื่อท่านต้องให้คำแนะนำและการชี้นำที่หนักแน่น. ท่านวิงวอนเพื่อนคริสเตียนโดย “อาศัยความเมตตาสงสารของพระเจ้า” และ “เพราะเห็นแก่ความรัก” ยิ่งกว่าจะอาศัยอิทธิพลแห่งอำนาจอัครสาวกของท่าน. (โรม 12:1, 2, ล.ม.; ฟิเลโมน 8, 9) เหตุใดเปาโลทำอย่างนี้? เพราะท่านมองตัวเองว่าเป็น “เพื่อนร่วมทำงาน” กับพี่น้องของท่านอย่างแท้จริง ไม่ใช่ ‘นายเหนือความเชื่อของพวกเขา.’ (2 โกรินโธ 1:24, ล.ม.) ไม่ต้องสงสัย ความเจียมตัวของเปาโลนั่นเองที่ทำให้ท่านเป็นที่รักเป็นพิเศษของประชาคมคริสเตียนสมัยศตวรรษแรก.—กิจการ 20:36-38.
-
-
“สติปัญญาอยู่กับคนเจียมตัว”หอสังเกตการณ์ 2000 | 1 สิงหาคม
-
-
a คำภาษากรีกที่แปลในที่นี้ว่า “ผู้ที่อยู่ใต้บัญชา” อาจหมายถึงทาสที่พายเรือในแถวฝีพายชั้นล่างของเรือใหญ่. เมื่อเทียบกัน “ผู้อารักขา” อาจได้รับมอบหมายงานที่ต้องรับผิดชอบมากกว่า ซึ่งก็อาจได้แก่การดูแลทรัพย์สิน. อย่างไรก็ตาม ในสายตาของนายส่วนใหญ่ ผู้อารักขาอยู่ในสภาพข้ารับใช้เหมือน ๆ กับทาสฝีพายในเรือใหญ่.
-