-
คนของพระยะโฮวา “ละทิ้งการชั่ว”หอสังเกตการณ์ 2014 | 15 กรกฎาคม
-
-
9. “คำถามเหลวไหลไร้สาระ” ส่งผลต่อประชาคมคริสเตียนในยุคแรกอย่างไร?
9 ในจดหมายที่เปาโลเขียนถึงติโมเธียว เปาโลแนะนำวิธีปฏิเสธสิ่งชั่ว เช่น เปาโลบอกติโมเธียวว่า “อย่าเถียงกันเรื่องถ้อยคำ” และ “หลีกเลี่ยงการพูดไร้สาระ” (อ่าน 2 ติโมเธียว 2:14, 16, 23) นี่หมายความว่าอย่างไร? คริสเตียนบางคนในประชาคมกำลังสนับสนุนคำสอนที่บิดเบือนความจริง และบางคนก็แพร่คำสอนที่ทำให้เกิดการโต้เถียงกัน ถึงแม้ว่าแนวคิดอย่างนั้นอาจไม่ขัดกับคำสอนของพระคัมภีร์โดยตรง แต่ก็บ่อนทำลายความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในประชาคม นี่เป็นเหตุผลที่เปาโลบอกติโมเธียวว่า “อย่าสนใจคำถามเหลวไหลไร้สาระ”
10. เราควรทำอย่างไรเมื่อเจอพวกผู้ออกหาก?
10 ทุกวันนี้ เราอาจไม่ได้เผชิญหน้ากับผู้ออกหากในประชาคมเหมือนสมัยเปาโล แต่ถ้าเราเจอคำสอนที่ไม่เป็นไปตามหลักพระคัมภีร์ไม่ว่าจากแหล่งไหนเราต้องปฏิเสธทันที ไม่ฉลาดเลยที่จะติดต่อกับพวกผู้ออกหากไม่ว่าจะพบปะพูดคุยกันต่อหน้าหรือผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือวิธีอื่น ๆ แม้ว่าเราอยากจะช่วยพวกเขาแต่ถ้าเราติดต่อพูดคุยกับคนพวกนั้นก็เท่ากับว่าเราไม่เชื่อฟังพระเจ้า เพราะพระองค์สั่งเราไม่ให้เข้าไปยุ่งกับพวกผู้ออกหากอย่างเด็ดขาด
11. อะไรที่อาจก่อกวนความสงบสุขของประชาคม และผู้ดูแลควรวางตัวอย่างที่ดีอย่างไร?
11 นอกจากความคิดของพวกผู้ออกหากแล้วยังมีสิ่งอื่น ๆ อีกที่ก่อกวนความสงบสุขในประชาคม ตัวอย่างเช่น มีความคิดเห็นส่วนตัวที่แตกต่างกันว่าความบันเทิงแบบไหนเหมาะหรือไม่เหมาะสำหรับคริสเตียน ถ้าเราพยายามบังคับให้คนอื่นคิดเหมือนเราก็จะทำให้เกิด “คำถามเหลวไหลไร้สาระ” แต่จะทำอย่างไรถ้ามีบางคนในประชาคมส่งเสริมความบันเทิงที่ขัดกับมาตรฐานของพระเจ้า? ผู้ดูแลต้องไม่ยอมให้พฤติกรรมแบบนั้นมีอยู่ในประชาคม (เพลง. 11:5; เอเฟ. 5:3-5) ขณะเดียวกัน ผู้ดูแลประชาคมต้องระวังที่จะไม่ส่งเสริมแนวความคิดของตัวเอง แต่ผู้ดูแลต้องทำตามคำแนะนำของพระคัมภีร์ที่ว่า “จงบำรุงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าซึ่งอยู่ในความดูแลของท่านทั้งหลาย . . . ไม่ใช่เป็นนายเหนือคนเหล่านั้นที่เป็นทรัพย์สมบัติของพระเจ้า แต่เป็นแบบอย่างให้ฝูงแกะนั้น”—1 เป. 5:2, 3; อ่าน 2 โครินท์ 1:24
-
-
คนของพระยะโฮวา “ละทิ้งการชั่ว”หอสังเกตการณ์ 2014 | 15 กรกฎาคม
-
-
13 หลักการของคัมภีร์ไบเบิลที่พูดถึงก่อนหน้านี้สามารถช่วยเราตัดสินใจเรื่องอื่น ๆ ในชีวิตได้อย่างฉลาดด้วย ตัวอย่างเช่น มีความเห็นที่แตกต่างกันเรื่องเสื้อผ้าการแต่งกาย เรื่องสุขภาพและอาหารการกิน หรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ บางคนอาจกดดันให้คนอื่นคิดเหมือนเขาแต่นี่จะทำให้เกิดความเห็นที่ไม่ลงรอยกันได้ แต่ถ้าไม่มีอะไรที่ขัดกับหลักการของพระคัมภีร์ก็ไม่มีเหตุผลเลยที่จะมาเถียงกันว่าอะไรที่คริสเตียนทำได้หรือทำไม่ได้ คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ทาสขององค์พระผู้เป็นเจ้าไม่ควรทะเลาะวิวาท แต่ต้องสุภาพอ่อนโยนต่อทุกคน”—2 ติโม. 2:24
-