แหล่งอ้างอิงสำหรับชีวิตและงานรับใช้—คู่มือประชุม
วันที่ 1-7 มีนาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์
“การตั้งค่ายของชาวอิสราเอลสอนอะไรเรา”
ประชาคม
it-1-E น. 497 ว. 3
ในอิสราเอลจะมีกลุ่มคนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนประชาชน (อสร 10:14) ดังนั้น “พวกหัวหน้าของตระกูลต่าง ๆ” จะเอาของมาถวายหลังจากที่ตั้งเต็นท์ศักดิ์สิทธิ์เสร็จแล้ว (กดว 7:1-11) ในสมัยเนหะมีย์ก็เหมือนกัน ปุโรหิต คนเลวี และ “หัวหน้าประชาชน” ทำหน้าที่เป็นตัวแทน “ทำข้อตกลงยืนยัน” ที่มีการประทับตรารับรอง (นหม 9:38-10:27) ตอนชาวอิสราเอลอยู่ในที่กันดารมีผู้ชายชาวอิสราเอล 250 คน ซึ่งเป็น “เป็นคนที่มีชื่อเสียงและเป็นพวกหัวหน้าที่ถูกเลือกจากประชาชน” ไปสมทบกับโคราห์ ดาธาน อาบีรัม และโอนเพื่อต่อต้านโมเสสและอาโรน (กดว 16:1-3) โมเสสทำตามการชี้นำของพระเจ้า เขาเลือกผู้ชายชาวอิสราเอลสูงอายุ 70 คนที่เป็นเจ้าหน้าที่มาช่วย “แบกภาระที่เกี่ยวกับประชาชน” เพราะโมเสสแบกภาระคนเดียวไว้ไม่ไหว (กดว 11:16, 17, 24, 25) เลวีนิติ 4:15 พูดถึง “พวกผู้นำของชาวอิสราเอล” และดูเหมือนว่าคนที่เป็นตัวแทนของประชาชนก็คือ พวกผู้นำ พวกหัวหน้า พวกผู้พิพากษา และพวกเจ้าหน้าที่—กดว 1:4, 16; ยชว 23:2; 24:1
รูเบน
it-2-E น. 796 ว. 1
ในค่ายพักของชาวอิสราเอล ตระกูลรูเบนจะอยู่ทางทิศใต้ของเต็นท์ศักดิ์สิทธิ์ โดยทั้งสองข้างของตระกูลรูเบนจะเป็นตระกูลสิเมโอนกับกาด ตอนที่ต้องเคลื่อนย้าย ตระกูลรูเบนจะนำหน้าสองตระกูลนี้ ส่วนข้างหน้าของตระกูลรูเบนจะเป็นตระกูลยูดาห์ อิสสาคาร์ และเศบูลุน (กดว 2:10-16; 10:14-20) ตอนที่มีการอุทิศวิหาร ตระกูลต่าง ๆ จะเข้าไปถวายเครื่องบูชาตามลำดับแบบเดียวกันนี้—กดว 7:1, 2, 10-47
ค้นหาความรู้ที่มีค่าของพระเจ้า
ลูกคนโต, สัตว์ตัวแรก
it-1-E น. 835
เนื่องจากลูกชายคนโตของคนอิสราเอลจะกลายเป็นหัวหน้าครอบครัว พวกเขาก็เลยเป็นเหมือนตัวแทนของคนทั้งชาติ ที่จริง พระยะโฮวาบอกว่าชาติอิสราเอลทั้งชาติเป็นเหมือน “ลูกชายคนโต” ของพระองค์ ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะสัญญาที่พระองค์เคยทำกับอับราฮัม (อพย 4:22) และเมื่อนึกถึงตอนที่พระยะโฮวาช่วยชีวิตพวกเขา พระองค์สั่งว่า “ลูกชายคนโตทุกคนและลูกสัตว์ที่เป็นตัวผู้ตัวแรกทุกตัวของชาวอิสราเอล ขอให้แยกไว้ต่างหากให้เรา” (อพย 13:2) ดังนั้น ลูกชายคนโตทุกคนเป็นของพระเจ้า
วันที่ 8-14 มีนาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์
“วิธีที่พระยะโฮวานำประชาชนของพระองค์”
ค่ายพัก
it-1-E น. 398 ว. 3
การเคลื่อนย้ายค่ายพักที่ใหญ่โตจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งแสดงถึงการจัดระเบียบที่ยอดเยี่ยม (ในกันดารวิถีบท 33 พูดถึงการย้ายค่ายพักประมาณ 40 ครั้ง) ถ้าเมฆหยุดอยู่ที่ไหนชาวอิสราเอลก็จะตั้งค่ายพักที่นั่น และถ้าเมฆเคลื่อนที่พวกเขาก็จะเคลื่อนย้ายค่ายพักตามไปด้วย “ชาวอิสราเอลจะออกเดินทางทำตามคำสั่งของพระยะโฮวา และตั้งค่ายพักตามคำสั่งของพระยะโฮวา” (กดว 9:15-23) จะมีการเป่าแตรเงิน 2 ตัวเพื่อถ่ายทอดคำสั่งของพระยะโฮวาให้กับคนในค่าย (กดว 10:2, 5, 6) มีการเป่าแตรเป็นเสียงสูงต่ำเพื่อให้สัญญาณว่าถึงเวลาออกเดินทาง ครั้งแรกที่มีการทำแบบนี้คือในวันที่ 20 เดือน 2 ปีที่ 2 [ปี 1512 ก่อน ค.ศ.] จะมีการแบกหีบสัญญานำหน้า และตามด้วย 3 ตระกูลแรกคือ ยูดาห์ อิสสาคาร์ และเศบูลุน ต่อจากนั้นเป็นลูกหลานของเกอร์โชนและเมรารีซึ่งแบกส่วนต่าง ๆ ของเต็นท์ศักดิ์สิทธิ์ และตามด้วยอีก 3 ตระกูลคือ รูเบน สิเมโอน และกาด ถัดจากนั้นก็เป็นลูกหลานของโคฮาทที่แบกสิ่งบริสุทธิ์ที่ใช้ในเต็นท์ และตามด้วย 3 ตระกูลคือ เอฟราอิม มนัสเสห์ และเบนยามิน สุดท้ายเป็นกองที่คอยระวังหลัง ซึ่งนำหน้าโดยตระกูลดาน ตามด้วยอาเชอร์และนัฟทาลี เห็นได้ว่าสองกองที่นำหน้าและคอยระวังหลังเป็นกองที่มีคนเยอะที่สุดและแข็งแกร่งที่สุด—กดว 10:11-28
ค้นหาความรู้ที่มีค่าของพระเจ้า
การประชุม
it-1-E น. 199 ว. 3
ความสำคัญของการประชุม การฉลองปัสกาประจำปีแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดเตรียมของพระยะโฮวาที่ให้มาประชุมกันเพื่อเสริมความเชื่อ ผู้ชายทุกคนที่สะอาดและไม่ได้อยู่ระหว่างการเดินทางไกลแต่ไม่มาร่วมฉลองปัสกาจะต้องถูกประหารชีวิต (กดว 9:9-14) ตอนที่กษัตริย์เฮเซคียาห์เรียกชาวยูดาห์และชาวอิสราเอลมาฉลองปัสกาที่เยรูซาเล็ม เขาเขียนจดหมายที่มีใจความว่า “ชาวอิสราเอลทั้งหลาย ขอให้พวกคุณกลับมาหาพระยะโฮวา . . . อย่าดื้อด้านเหมือนปู่ย่าตายาย ให้พวกคุณอ่อนน้อมต่อพระยะโฮวาและมายังวิหารที่พระองค์ได้ชำระให้บริสุทธิ์ตลอดไป และให้รับใช้พระยะโฮวาพระเจ้าของพวกคุณเผื่อว่าพระองค์จะหายโกรธ . . . พระยะโฮวาพระเจ้ามีความเมตตากรุณา พระองค์จะไม่ทิ้งพวกคุณถ้าพวกคุณกลับมาหาพระองค์” (2พศ 30:6-9) คนที่ตั้งใจไม่มาเข้าร่วมแสดงว่าเขาจงใจทิ้งพระเจ้า และถึงแม้คริสเตียนไม่ได้ฉลองปัสกาแล้ว แต่เปาโลก็เตือนพวกเขาว่าอย่าขาดประชุมโดยบอกว่า “ให้เราสนใจกัน เราจะได้กระตุ้นกันให้มีความรักและทำความดี อย่าขาดการประชุมเหมือนที่บางคนทำเป็นนิสัย แต่ให้กำลังใจกัน และทำสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้นเมื่อเห็นว่าวันนั้นใกล้มาถึงแล้ว”—ฮบ 10:24, 25
วันที่ 15-21 มีนาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์
“ทำไมควรหลีกเลี่ยงนิสัยชอบบ่น?”
ต่อว่า
it-2-E น. 719 ว. 4
การบ่น การบ่นทำให้ท้อและหมดกำลังใจ ไม่นานหลังจากที่ชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ พวกเขาบ่นต่อพระยะโฮวา โดยจับผิดโมเสสและอาโรนผู้นำที่พระยะโฮวาแต่งตั้ง (อพย 16:2, 7) การบ่นของพวกนั้นทำให้โมเสสรู้สึกหมดกำลังใจจนถึงกับอยากตาย (กดว 11:13-15) คนที่บ่นอาจมีโทษถึงตาย พระยะโฮวาถือว่าคนที่บ่นต่อว่าโมเสสก็บ่นต่อว่าพระองค์ที่เป็นผู้นำ (กดว 14:26-30) หลายคนต้องตายเพราะเป็นคนชอบจับผิด
ค้นหาความรู้ที่มีค่าของพระเจ้า
มานา
it-2-E น. 309
ลักษณะ มานามี “สีขาวคล้ายเมล็ดผักชี” และ “คล้าย” ยางไม้หอมเดลเลียม ซึ่งเป็นวัตถุโปร่งใสมีลักษณะคล้ายไข่มุก มานามีรสชาติเหมือน “ขนมปังแผ่นผสมน้ำผึ้ง” หรือ “ขนมปังหวานที่คลุกกับน้ำมัน” หลังจากที่ประชาชนเก็บมานามาแล้ว พวกเขาจะเอาไปโม่หรือตำ จากนั้นก็เอาไปต้มในหม้อ หรือเอามาทำเป็นขนมปัง—อพย 16:23, 31; กดว 11:7, 8
วันที่ 22-28 มีนาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์
“ความเชื่อทำให้เรากล้าหาญ”
แผ่นดินที่พระเจ้าให้ชาวอิสราเอล
it-1-E น. 740
แผ่นดินที่พระเจ้าให้ชาวอิสราเอลนั้นเป็นแผ่นดินที่ดียอดเยี่ยม ตอนที่โมเสสส่งคนสอดแนมไปสำรวจแผ่นดินที่พระเจ้าสัญญา เขาบอกให้เก็บตัวอย่างผลผลิตจากแผ่นดินนั้นมาด้วย คนสอดแนมเอาผลมะเดื่อ ผลทับทิม และองุ่นพวงใหญ่ที่ต้องใช้คนหามด้วยไม้คานถึง 2 คนกลับมาด้วย! ถึงพวกเขาจะกลัวเพราะขาดความเชื่อแต่ก็ยังรายงานว่าแผ่นดินนี้ “มีน้ำนมและน้ำผึ้งมากมายจริง ๆ”—กดว 13:23, 27
วันที่ 19-25 เมษายน
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์
“พระยะโฮวาเปลี่ยนการสาปแช่งเป็นการอวยพร”
ความบ้าคลั่ง
it-2-E น. 291
ต่อต้านพระยะโฮวาอย่างบ้าคลั่ง ผู้พยากรณ์บาลาอัมตั้งใจจะไปสาปแช่งชาวอิสราเอลเพราะอยากได้เงินจากบาลาคกษัตริย์ของโมอับ แต่พระยะโฮวาไม่ยอมให้เป็นไปตามความตั้งใจของเขา พระองค์เปลี่ยนคำสาปแช่งเป็นคำอวยพร อัครสาวกเปโตรเขียนเกี่ยวกับบาลาอัมว่า “แม้แต่ลาที่เป็นสัตว์บรรทุกของซึ่งปกติพูดไม่ได้ก็ยังพูดเป็นเสียงมนุษย์เพื่อขัดขวางผู้พยากรณ์ที่บ้าคลั่งคนนี้” เปโตรพูดถึงความบ้าคลั่งของบาลาอัมโดยใช้คำกรีกพาราโฟรเนีย (pa·ra·phro·niʹa) ซึ่งถ่ายทอดความคิดที่ว่าคนนั้น “เสียสติ”—2ปต 2:15, 16; กดว 22:26-31
วันที่ 26 เมษายน–2 พฤษภาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์
“สำคัญไหมที่จะแตกต่างจากคนอื่น?”
เขตที่ดิน
it-1-E น. 359 ว. 1-2
ดูเหมือนว่าการแบ่งที่ดินให้กับตระกูลต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ ตามการจับฉลาก และตามขนาดของแต่ละตระกูล ฉลากอาจบอกแค่ตำแหน่งคร่าว ๆ ของมรดกที่ดินที่แต่ละตระกูลจะได้รับ เช่น ที่ดินที่จะได้รับอาจอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้ ตะวันออกหรือตะวันตก เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลหรืออยู่ในเขตเทือกเขา ฉลากที่จับได้จะเป็นไปตามการชี้นำจากพระยะโฮวาและป้องกันไม่ให้แต่ละตระกูลบ่นต่อว่าและอิจฉากัน (สภษ 16:33) โดยวิธีนี้ พระเจ้าจะชี้นำให้สภาพการณ์ของแต่ละตระกูลเป็นไปตามที่ยาโคบพยากรณ์ไว้ก่อนตายที่ปฐมกาล 49:1-33
เมื่อรู้ตำแหน่งที่ดินที่แต่ละตระกูลจะได้รับจากการจับฉลากแล้ว ก็จำเป็นต้องกำหนดความกว้างใหญ่ของที่ดินโดยดูจากปัจจัยที่ 2 คือ ขนาดของแต่ละตระกูล “ให้แบ่งที่ดินให้ตระกูลและวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ของพวกเจ้าโดยการจับฉลาก ตระกูลไหนคนมากพวกเจ้าก็เพิ่มที่ดินให้เขา ตระกูลไหนคนน้อยก็ลดขนาดที่ดินลงมา มรดกที่ดินของแต่ละตระกูลจะเป็นไปตามที่เขาจับฉลากได้” (กดว 33:54) ตำแหน่งที่ดินที่จับฉลากได้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ขนาดที่ดินเปลี่ยนแปลงได้ตามจำนวนคนของตระกูลนั้น ๆ เช่น เมื่อเห็นว่าที่ดินของตระกูลยูดาห์ใหญ่เกินไป ส่วนหนึ่งของที่ดินนี้จึงแบ่งให้ตระกูลสิเมโอน—ยชว 19:9