-
คำถามจากผู้อ่านหอสังเกตการณ์ 2001 | 1 ตุลาคม
-
-
อัครสาวกเปาโลเขียนจดหมายถึงคริสเตียนชาวฮีบรูในศตวรรษแรกดังนี้: “การหยุดพักซะบาโตสำหรับไพร่พลของพระเจ้ายังมีอยู่. เพราะคนที่ได้เข้าสู่การหยุดพักของพระเจ้าก็ได้หยุดพักจากงานของตนเองด้วย เหมือนที่พระเจ้าได้ทรงหยุดพักจากงานของพระองค์เอง. เหตุฉะนั้นให้เราทั้งหลายทำสุดกำลังของเราเพื่อเข้าสู่การหยุดพักนั้น.”—เฮ็บราย 4:9-11, ล.ม.
เมื่อเปาโลพูดถึงการหยุดพักของพระเจ้าจากการงานทั้งปวงของพระองค์ ดูเหมือนว่าท่านพาดพิงคำพูดในเยเนซิศ 2:2 (ล.ม.) ซึ่งเราอ่านว่า “พอถึงวันที่เจ็ดงานที่พระองค์ได้ทำได้เสร็จสิ้น และในวันที่เจ็ดพระองค์ได้เริ่มหยุดพักจากการงานทั้งปวงที่พระองค์ได้ทำ.” ทำไมพระยะโฮวาทรงเริ่ม ‘หยุดพักในวันที่เจ็ด’? แน่นอน ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าพระองค์ทรงต้องพักผ่อนให้หายเหนื่อย “จากการงานทั้งปวงที่พระองค์ได้ทำ.” ข้อคัมภีร์ต่อจากนั้นให้แนวคิด: “พระเจ้าทรงตั้งต้นอวยพรแก่วันที่เจ็ดและทรงทำให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ เพราะในวันนั้นพระองค์ได้ทรงหยุดพักเรื่อยมาจากการงานทั้งปวงซึ่งพระเจ้าได้ทรงสร้างเนื่องด้วยพระประสงค์ของการทำ.”—เยเนซิศ 2:3, ล.ม.; ยะซายา 40:26, 28.
“วันที่เจ็ด” ต่างไปจากวันอื่น ๆ หกวันก่อนหน้านั้นในแง่ที่ว่าพระเจ้าทรงอวยพรวันนั้นและทรงตั้งไว้ให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ กล่าวคือเป็นวันที่ทรงแยกไว้ต่างหากหรืออุทิศให้เพื่อจุดประสงค์พิเศษ. จุดประสงค์นั้นคืออะไร? ก่อนหน้านั้น พระเจ้าทรงเปิดเผยพระประสงค์ของพระองค์เกี่ยวกับมนุษยชาติและแผ่นดินโลก. พระเจ้าตรัสแก่ชายคนแรกและภรรยาของเขาว่า “จงบังเกิดบุตรและทวีขึ้นและบรรจุให้เต็มแผ่นดินโลกและมีอำนาจเหนือแผ่นดินโลก และให้ปลาในทะเลและสิ่งมีชีวิตที่บินในท้องฟ้าอีกทั้งสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่บนแผ่นดินโลกอยู่ใต้อำนาจ.” (เยเนซิศ 1:28, ล.ม.) แม้ว่าพระเจ้าทรงให้มนุษย์และแผ่นดินโลกมีการเริ่มต้นที่สมบูรณ์แบบ แต่การจะบรรจุครอบครัวมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้เต็มแผ่นดินโลกมีอำนาจเหนือแผ่นดินโลกและเปลี่ยนสภาพแผ่นดินโลกเป็นอุทยาน ตามที่พระเจ้าทรงประสงค์นั้น ย่อมต้องใช้เวลา. ดังนั้น “วันที่เจ็ด” พระเจ้าทรงหยุดพักหรือทรงระงับงานสร้างสรรค์ทางแผ่นดินโลก เพื่อสรรพสิ่งซึ่งพระองค์ทรงสร้างไว้แล้วจะพัฒนาขึ้นตามพระทัยประสงค์ของพระองค์. พอสิ้น “วัน” นั้น ทุกสิ่งซึ่งพระเจ้าทรงประสงค์ไว้จะบังเกิดเป็นจริง. การหยุดพักนั้นจะเป็นเวลานานเท่าไร?
-
-
คำถามจากผู้อ่านหอสังเกตการณ์ 2001 | 1 ตุลาคม
-
-
โดยมีภาพล่วงหน้าที่แสนวิเศษนั้นอยู่ในความคิดของท่าน เปาโลจึงชี้แจงถึงเรื่องที่ว่า คนเราจะเข้าสู่การหยุดพักของพระเจ้าได้อย่างไร. ท่านเขียนดังนี้: “คนที่ได้เข้าสู่การหยุดพักของพระเจ้าก็ได้หยุดพักจากงานของตนเองด้วย.” ข้อนี้ทำให้เราทราบว่าถึงแม้มีการเริ่มต้นที่สมบูรณ์พร้อม แต่มนุษยชาติโดยรวมหาได้เข้าในที่หยุดพักของพระเจ้าไม่. ทั้งนี้เพราะอาดามและฮาวาไม่ได้ถือรักษาการหยุดพักของพระเจ้าใน “วันที่เจ็ด” ไว้ให้นานต่อไป โดยยอมรับวิธีการจัดเตรียมของพระองค์ที่ทรงทำเพื่อเขา. ทว่าทั้งสองได้ตั้งตนเป็นกบฏและต้องการเป็นเอกเทศไม่หมายพึ่งพระเจ้า. แท้จริง เขายอมตัวทำตามอุบายชั่วร้ายของซาตานแทนที่จะยอมรับการชี้นำด้วยความรักจากพระเจ้า. (เยเนซิศ 2:15-17, ล.ม.) ผลที่ตามมาคือ เขาสูญเสียโอกาสที่จะมีชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกในสภาพอุทยาน. นับแต่นั้น มนุษยชาติทั้งสิ้นจึงตกเป็นทาสบาปและความตาย.—โรม 5:12, 14.
การกบฏของมนุษยชาติไม่ได้ทำลายพระประสงค์ของพระเจ้า. วันหยุดพักของพระองค์ยังคงดำเนินต่อไป. อย่างไรก็ดี พระยะโฮวาทรงเตรียมการด้วยความรักคือจัดค่าไถ่ โดยทางพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์ เพื่อทุกคนที่รับรองเอาค่าไถ่บนพื้นฐานของความเชื่ออาจเฝ้าคอยรับการปลดเปลื้องและหยุดพักจากภาระหนักแห่งบาปและความตาย. (โรม 6:23) นี่คือเหตุผลที่เปาโลกระตุ้นบรรดาเพื่อนคริสเตียนของท่านให้ “หยุดพักจากงานของตนเอง.” พวกเขาจะต้องรับเอาการจัดเตรียมของพระเจ้าเพื่อความรอด และไม่พยายามให้ได้มาซึ่งอนาคตที่ดีด้วยวิธีของตัวเองอย่างที่อาดามและฮาวาได้ทำไป. นอกจากนั้น พวกเขาจำต้องละเว้นการมุ่งแต่จะพิสูจน์ว่าตนเองถูกต้อง.
การที่คนเราละความเห็นแก่ตัวหรือเลิกติดตามแนวทางของโลกเพื่อกระทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าย่อมนำมาซึ่งความสดชื่นและเป็นความสงบสุขอย่างแท้จริง. พระเยซูทรงกล่าวเชิญชวนดังนี้: “บรรดาผู้ที่ทำงานหนักและมีภาระมาก จงมาหาเรา และเราจะทำให้เจ้าทั้งหลายสดชื่น. จงรับแอกของเราไว้บนเจ้าทั้งหลายและเรียนจากเรา เพราะเรามีจิตใจอ่อนโยนและหัวใจถ่อม และเจ้าจะได้ความสดชื่นสำหรับจิตวิญญาณของเจ้า. เพราะแอกของเราก็พอเหมาะและภาระของเราก็เบา.”—มัดธาย 11:28-30, ล.ม.
การพิจารณาของเปาโลในเรื่องการหยุดพักของพระเจ้าและที่ว่าคนเราอาจเข้าสู่การหยุดพักได้อย่างไรนั้น ถือได้ว่าเป็นแหล่งที่ให้การหนุนกำลังใจอย่างแน่นอนแก่คริสเตียนชาวฮีบรูในกรุงยะรูซาเลม ซึ่งคริสเตียนเหล่านั้นได้ทนรับการข่มเหงและการเยาะเย้ยมากเนื่องด้วยความเชื่อ. (กิจการ 8:1; 12:1-5) ในทำนองเดียวกัน ถ้อยคำของเปาโลย่อมเป็นแหล่งให้การหนุนกำลังใจคริสเตียนสมัยปัจจุบัน. การตระหนักว่าความสำเร็จสมจริงแห่งคำสัญญาของพระเจ้าที่ว่าจะทรงทำให้แผ่นดินโลกกลายเป็นอุทยานภายใต้ราชอาณาจักรอันชอบธรรมของพระองค์ใกล้เข้ามามากแล้ว พวกเราควรหยุดพักจากการงานของตนเองและทำสุดความสามารถเพื่อจะเข้าสู่การหยุดพักนั้น.—มัดธาย 6:10, 33; 2 เปโตร 3:13.
-