หอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด!—วารสารแห่งความจริงที่ทันกาล
“ข้าแต่พระยะโฮวา, พระเจ้าแห่งความสัตย์จริง, พระองค์ทรงไถ่ข้าพเจ้าไว้แล้ว.”—บทเพลงสรรเสริญ 31:5.
1, 2. (ก) พี่น้องหญิงคนหนึ่งมีความรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องหนึ่งซึ่งเธอได้อ่านในหอสังเกตการณ์? (ข) มีการตั้งคำถามอะไรเกี่ยวกับวารสารของเรา?
คริสเตียนพี่น้องหญิงคนหนึ่งเขียนว่า “ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำที่ดีเลิศซึ่งลงในวารสารหอสังเกตการณ์ ภายใต้หัวเรื่อง ‘คุณสามารถพบการปลอบประโลมใจได้ในยามเศร้าหมอง.’a หลายจุดที่คุณได้ยกมาตรงกับความรู้สึกที่ดิฉันต้องรับมือ ประหนึ่งว่าบทความนี้เขียนสำหรับดิฉันโดยตรง. ครั้งแรกที่อ่าน ดิฉันถึงกับร้องไห้. เป็นเรื่องวิเศษจริง ๆ ที่ทราบว่า มีบางคนรู้ว่าดิฉันรู้สึกอย่างไร! ดิฉันรู้สึกขอบคุณจริง ๆ ที่ได้เป็นคนหนึ่งท่ามกลางพยานพระยะโฮวา. เราจะหาคำสัญญาได้จากที่ไหนอีกว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะมีชีวิตนิรันดร์ในอุทยาน และขณะนี้เราก็ได้รับการประโลมใจ! ดิฉันขอบคุณ และขอบคุณอย่างเหลือล้น.”
2 คุณเคยรู้สึกอย่างนั้นไหม? เรื่องในหอสังเกตการณ์ หรือตื่นเถิด! วารสารที่ออกคู่กัน ดูเหมือนจะเขียนขึ้นมาสำหรับคุณเป็นพิเศษไหม? อะไรในวารสารของเราที่ดึงดูดใจประชาชน? โดยวิธีใด เราจะช่วยคนอื่นให้รับประโยชน์จากข่าวสารที่ช่วยชีวิตให้รอดซึ่งบรรจุไว้ในวารสารเหล่านี้?—1 ติโมเธียว 4:16.
วารสารซึ่งสนับสนุนความจริง
3. ด้วยเหตุผลอะไรที่ดี ที่วารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ได้ส่งผลกระทบถึงหัวใจผู้อ่านจำนวนไม่น้อย?
3 พระยะโฮวาทรงเป็น “พระเจ้าแห่งความสัตย์จริง.” (บทเพลงสรรเสริญ 31:5) คัมภีร์ไบเบิล พระวจนะของพระองค์ เป็นหนังสือเรื่องความจริง. (โยฮัน 17:17) สุจริตชนตอบรับความจริง. (เทียบกับโยฮัน 4:23, 24.) เหตุผลประการหนึ่งที่หอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ประทับใจผู้อ่านหลายล้านคนก็เนื่องจากเป็นวารสารที่ยึดถือความซื่อสัตย์ภักดีและความจริง. ที่จริง การเริ่มออกวารสารเดอะ ว็อชเทาเวอร์ ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นเรื่องความซื่อสัตย์ภักดีต่อความจริงของคัมภีร์ไบเบิลนั้นเอง.
4, 5. (ก) สภาพการณ์เป็นเช่นไรซึ่งทำให้ ซี. ที. รัสเซลล์ จัดพิมพ์วารสารเดอะ ว็อช เทาเวอร์? (ข) “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” ใช้วารสารหอสังเกตการณ์ โดยวิธีใด?
4 ปี 1876 ชาร์ลส์ ที. รัสเซลล์ได้เข้าร่วมกับเนลสัน บาร์เบอร์แห่งเมืองโรเชสเตอร์ รัฐนิวยอร์ก. รัสเซลล์เป็นฝ่ายให้ทุนบาร์เบอร์เพื่อฟื้นฟูงานพิมพ์วารสารทางศาสนาที่มีชื่อว่าเฮรัลด์ ออฟ เดอะ มอร์นิ่ง (ผู้ประกาศเรื่องอรุณรุ่ง, ภาษาอังกฤษ) ซึ่งนายบาร์เบอร์เป็นบรรณาธิการ และรัสเซลล์เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ. อย่างไรก็ตาม ประมาณหนึ่งปีครึ่งต่อมา ในเฮรัลด์ ฉบับเดือนสิงหาคม 1878 บาร์เบอร์ได้เขียนบทความซึ่งปฏิเสธค่าไถ่โดยการสละชีวิตของพระเยซู. รัสเซลล์ซึ่งมีอายุน้อยกว่าบาร์เบอร์เกือบ 30 ปี ได้โต้กลับโดยเขียนเรื่องในฉบับถัดไปเลยทีเดียวเพื่อให้การสนับสนุนเรื่องค่าไถ่ ซึ่งท่านกล่าวว่าเป็น “หลักคำสอนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในพระวจนะของพระเจ้า.” (มัดธาย 20:28) หลังจากได้พยายามชี้แจงครั้งแล้วครั้งเล่ากับบาร์เบอร์โดยอาศัยเหตุผลตามหลักพระคัมภีร์ ในที่สุด รัสเซลล์จึงตัดสินใจยุติการเกี่ยวข้องทุกอย่างกับเฮรัลด์. เริ่มตั้งแต่วารสารฉบับมิถุนายน 1879 ไม่มีชื่อรัสเซลล์อยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการอีกเลย. หนึ่งเดือนต่อมา รัสเซลล์วัย 27 ปีก็เริ่มออกวารสารไซออนส์ ว็อช เทาเวอร์ แอนด์ เฮรัลด์ ออฟ ไครต์ส เพรเซนส์ (เวลานี้คือหอสังเกตการณ์ ประกาศราชอาณาจักรของพระยะโฮวา) ซึ่งตั้งแต่แรกทีเดียวได้สนับสนุนความจริงของคัมภีร์ไบเบิลมาโดยตลอด เช่น เรื่องค่าไถ่.
5 ตลอด 114 ปีที่ผ่านมา วารสารเดอะ ว็อชเทาเวอร์ (หอสังเกตการณ์) เปรียบได้กับนักกฎหมายที่ช่ำชอง พิสูจน์ให้เห็นจริงแล้วว่าเป็นผู้แก้ต่างให้แก่ความจริงและคำสอนของคัมภีร์ไบเบิล. ระหว่างการดำเนินงาน วารสารนั้นได้รับความไว้วางใจจากผู้อ่านหลายล้านคนซึ่งหยั่งรู้ค่า. วารสารนี้ยังคงให้การสนับสนุนเรื่องค่าไถ่อย่างเข้มแข็ง. (เพื่อเป็นตัวอย่าง โปรดดูฉบับ 15 กุมภาพันธ์ 1991.) และวารสารนี้ยังเป็นเครื่องมือหลักของ “ทาสสัตย์ซื่อและสุขุม” และคณะกรรมการปกครองต่อ ๆ ไปสำหรับประกาศราชอาณาจักรของพระยะโฮวาที่สถาปนาแล้ว และแจกอาหารฝ่ายวิญญาณ “ตามเวลาที่สมควร.”—มัดธาย 24:14, 45, ล.ม.
6, 7. วัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารเดอะ โกลเด็น เอจ คืออะไร และมีอะไรแสดงให้เห็นว่าคนที่มีเหตุผลตอบสนองข่าวสารนั้น?
6 ส่วนวารสารตื่นเถิด! ล่ะ เป็นอย่างไร? ตั้งแต่แรก วารสารตื่นเถิด! ได้สนับสนุนความจริงเช่นกัน. แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า เดอะ โกลเด็น เอจ (ยุคทอง) วัตถุประสงค์ก็เพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป. เกี่ยวกับเป้าประสงค์ของวารสารนี้ ฉบับแรกซึ่งออกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1919 ได้แถลงดังนี้: “วัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายแท้เกี่ยวกับปรากฏการณ์อันใหญ่โตแห่งยุคนี้โดยอาศัยความสว่างแห่งสติปัญญาของพระเจ้า และที่จะพิสูจน์แก่บุคคลที่มีเหตุผล โดยอาศัยพยานหลักฐานอันไม่อาจลบล้างได้ และให้ความมั่นใจว่า ยุคสมัยแห่งความเจริญเฟื่องฟูสำหรับมนุษยชาติใกล้เข้ามาแล้ว.” บุคคลที่มีเหตุผลต่างก็ตอบรับข่าวสารในเดอะ โกลเด็น เอจ. นับเป็นเวลาหลายปีที่มียอดการพิมพ์จำหน่ายมากกว่าเดอะ ว็อชเทาเวอร์.b
7 อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นความประทับใจจากเดอะ ว็อชเทาเวอร์ และตื่นเถิด! ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงที่ว่า วารสารนี้เผยแพร่ความจริงในด้านคำสอนและคำชี้แจงถึงความสำคัญเชิงพยากรณ์เกี่ยวกับสถานการณ์โลก. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงยี่สิบปีหลังนี้ วารสารของเราดึงดูดความสนใจของผู้คนด้วยเหตุผลอีกข้อหนึ่ง.
บทความที่ออกทันกาลส่งผลกระทบชีวิตผู้คน
8. ยูดาได้ปรับเปลี่ยนการเขียนอย่างไร เพื่อกระตุ้นผู้อ่านต่อต้านอิทธิพลอะไรภายในประชาคม?
8 ประมาณ 30 ปีภายหลังพระเยซูคริสต์วายพระชนม์แล้วได้รับการปลุกให้ฟื้นขึ้นมา ยูดาผู้จารึกคัมภีร์ไบเบิลก็เผชิญสภาพการณ์ซึ่งเป็นการท้าทาย. ผู้คนที่ประพฤติผิดศีลธรรม ที่มีลักษณะเดียรัจฉานได้แอบแฝงเข้ามาอยู่ท่ามกลางคริสเตียน. ยูดาตั้งใจเขียนถึงเพื่อนคริสเตียนเกี่ยวกับหลักคำสอน คือเรื่องความรอดซึ่งบรรดาคริสเตียนผู้ถูกเจิมยึดไว้มั่น. แต่โดยการชี้นำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ท่านเห็นควรว่าจำเป็นต้องเตือนผู้อ่านให้ต้านทานอิทธิพลอันเสื่อมทรามภายในประชาคม. (ยูดา 3, 4, 19-23) ยูดาได้ปรับตัวเข้ากับสภาพการณ์และให้คำแนะนำที่ทันกาลตรงกับความจำเป็นแก่พวกพี่น้องคริสเตียนของท่าน.
9. มีอะไรรวมอยู่ด้วยในการตระเตรียมบทความต่าง ๆ อย่างทันกาลสำหรับวารสารของเรา?
9 ทำนองเดียวกัน การเตรียมบทความที่ทันกาลสำหรับวารสารของเรานับว่าเป็นสิ่งท้าทายต่อความรับผิดชอบ. กาลเวลาเปลี่ยนไป, ผู้คนก็เปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ความต้องการและความสนใจของเขาไม่เหมือนเมื่อสิบปีหรือยี่สิบปีที่แล้ว. ผู้ดูแลเดินทางตั้งข้อสังเกตเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า “ย้อนหลังไปในช่วงทศวรรษปี 1950 เมื่อผมเข้ามาเป็นพยานฯ วิธีนำการศึกษาคัมภีร์ไบเบิลกับประชาชนจะมุ่งเรื่องหลักคำสอนพื้นฐาน คือสอนนักศึกษาให้รู้ความจริงเกี่ยวกับตรีเอกานุภาพ, เรื่องไฟนรก, จิตวิญญาณ, และอื่น ๆ. แต่เดี๋ยวนี้ ดูเหมือนมีปัญหาและความยุ่งยากมากมายในชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เราจึงต้องสอนเขาให้รู้วิธีดำเนินชีวิต.” ทำไมเป็นเช่นนั้น?
10. เหตุใดเราจึงไม่ควรรู้สึกประหลาดใจที่ว่ากิจการต่าง ๆ ของมนุษย์เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 1914?
10 เกี่ยวกับ “สมัยสุดท้าย” นี้ คัมภีร์ไบเบิลกล่าวล่วงหน้าแล้วว่า “แต่คนชั่วและเจ้าเล่ห์จะกำเริบชั่วร้ายมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้อื่นหลงผิดและตนเองถูกทำให้หลงผิด.” (2 ติโมเธียว 3:1, 13, ล.ม.) ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงไม่ประหลาดใจที่ว่า กิจการของมนุษย์อยู่ในภาวะถดถอยเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มสมัยสุดท้ายปี 1914. เวลาของซาตานเหลือน้อยเต็มที ฉะนั้น มันจึงระบายความโกรธกับสังคมมนุษย์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน. (วิวรณ์ 12:9, 12) ผลก็คือ ศีลธรรมและค่านิยมของครอบครัวต่างไปจากที่เคยยึดถือกันเมื่อ 30 หรือ 40 ปีมาแล้ว. ผู้คนโดยทั่วไปไม่ค่อยจะถือศาสนาเคร่งครัดเหมือนเมื่อหลายสิบปีก่อนโน้น. อาชญากรรมรุนแรงถึงขนาดผู้คนใช้มาตรการป้องกันตัว อย่างไม่เคยมีเมื่อ 20 หรือ 30 ปีที่แล้ว.—มัดธาย 24:12.
11. (ก) เรื่องประเภทไหนอยู่ในความคิดจิตใจของประชาชน และชนจำพวกทาสสัตย์ซื่อและสุขุมได้ตอบสนองความต้องการเช่นนั้นโดยวิธีใด? (ข) จงให้ตัวอย่างบทความในหอสังเกตการณ์ หรือในตื่นเถิด! ซึ่งได้ส่งผลกระทบชีวิตของคุณ.
11 ดังนั้นแล้ว จึงไม่น่าประหลาดใจเมื่อหลายคนคิดถึงปัญหาด้านอารมณ์, ด้านสังคม, และด้านครอบครัว. ทาสสัตย์ซื่อและสุขุมได้ตอบสนองอย่างกล้าหาญในวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! โดยการพิมพ์บทความต่าง ๆ ที่ทันกาลซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้คนอย่างแท้จริง และที่เกี่ยวพันถึงชีวิตของคนเหล่านั้นจริง ๆ. ขอพิจารณาบางตัวอย่าง.
12. (ก) เพราะเหตุใดจึงมีการเตรียมบทความว่าด้วยครอบครัวที่มีแต่บิดาหรือมารดาฝ่ายเดียวลงพิมพ์ในวารสารหอสังเกตการณ์ ปี 1981? (ข) พี่น้องหญิงคนหนึ่งแสดงความหยั่งรู้ค่าอย่างไรเมื่อเธอได้อ่านบทความที่พูดถึงครอบครัวที่มีแต่บิดาหรือมารดาฝ่ายเดียว?
12 ปัญหาด้านครอบครัว. เมื่อรายงานจากทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า จำนวนครอบครัวที่ไร้คู่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการเขียนบทความเรื่อง “ครอบครัวที่มีแต่บิดา หรือมารดาฝ่ายเดียว—จัดการกับปัญหาต่าง ๆ” ลงในวารสารหอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 เมษายน 1981. บทความเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์สองต่อคือ (1) ช่วยบิดาหรือมารดาในครอบครัวที่ไร้คู่รับมือกับปัญหาเฉพาะที่เขาเผชิญอยู่ และ (2) ช่วยคนอื่นได้รับรู้มากขึ้น เพื่อว่าเขาจะสามารถแสดง “ความเห็นอกเห็นใจ” และ “เอาใจใส่ดูแล” ครอบครัวที่เผชิญปัญหาดังกล่าวได้อย่างแท้จริง. (1 เปโตร 3:8, ล.ม.; ยาโกโบ 1:27, ล.ม.) ผู้อ่านหลายคนต่างก็เขียนจดหมายแสดงความหยั่งรู้ค่าต่อบทความเหล่านั้น. มารดาคนหนึ่งที่ไร้คู่เขียนว่า “พอเห็นภาพหน้าปก ดิฉันถึงกับน้ำตาคลอ และพอเปิดอ่านเรื่องในฉบับนั้น หัวใจของดิฉันซาบซึ้งด้วยความรู้สึกขอบคุณพระยะโฮวาที่พระองค์ทรงจัดเตรียมความรู้ให้เราในยามต้องการพอดี.”
13. การพิจารณาอย่างลึกซึ้งเช่นไรเกี่ยวกับเรื่องความซึมเศร้าที่ลงพิมพ์ในตื่นเถิด! ปี 1981 และผู้อ่านคนหนึ่งกล่าวอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนั้น?
13 ปัญหาด้านอารมณ์. เรื่องความหดหู่หรือโรคซึมเศร้าก็ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อพิจารณาในวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ตั้งแต่ช่วงทศวรรษปี 1960. (1 เธซะโลนิเก 5:14) แต่มีการพิจารณาเรื่องในแนวใหม่และในแง่บวกในชุดบทความ “คุณสามารถผจญกับความซึมเศร้าได้!” ในวารสารตื่นเถิด! ฉบับ 8 มีนาคม 1982. หลังจากนั้นไม่นาน จดหมายแสดงความหยั่งรู้ค่าจากสารทิศทั่วโลกก็ส่งมายังสมาคมว็อชเทาเวอร์. ซิสเตอร์คนหนึ่งเขียนว่า “ดิฉันไม่รู้จะระบายความรู้สึกในใจเป็นตัวหนังสือได้อย่างไรดี? ดิฉันอายุ 24 ปี และสิบกว่าปีมานี้ ดิฉันซึมเศร้าเป็นช่วง ๆ หลายครั้ง. แต่เวลานี้ ดิฉันรู้สึกว่าได้ใกล้ชิดพระยะโฮวามากขึ้น และสำนึกบุญคุณที่พระองค์ทรงตอบสนองความต้องการของคนซึมเศร้าด้วยบทความเหล่านี้อันบ่งบอกถึงความรัก และดิฉันต้องการจะบอกคุณให้ทราบ.”
14, 15 (ก) มีการพูดถึงเรื่องการทำร้ายทางเพศต่อเด็กอย่างไรในวารสารของเรา? (ข) บทความเรื่องอะไรซึ่งประทับใจนักขี่ม้าแข่งอาชีพที่ออสเตรเลีย?
14 ปัญหาด้านสังคม. คัมภีร์ไบเบิลได้บอกล่วงหน้าแล้วว่าใน “สมัยสุดท้าย” คนจะ “รักตัวเอง . . . ไม่มีความรักชอบตามธรรมชาติ . . . ไม่มีการควบคุมตัวเอง ดุร้าย ไม่รักความดี.” (2 ติโมเธียว 3:1-3, ล.ม.) ด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่น่าจะประหลาดใจที่การทำร้ายทางเพศต่อเด็กแพร่หลายมากในสมัยนี้. เรื่องนี้ได้รับการชี้แจงอย่างตรงไปตรงมาภายใต้หัวเรื่อง “การสงเคราะห์ผู้ที่ถูกญาติใกล้ชิดข่มขืน” ในวารสารหอสังเกตการณ์ ฉบับ 15 เมษายน 1984. แปดปีต่อมา วารสารตื่นเถิด! (ภาษาอังกฤษ) ฉบับ 8 ตุลาคม 1991 ได้ลงชุดบทความเรื่อง “การบำบัดความเจ็บปวดทางด้านจิตใจแก่เด็กที่ถูกทำร้ายทางเพศ” ซึ่งถูกจัดเตรียมอย่างรอบคอบเพื่อให้ความเข้าใจและความหวังแก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย และเป็นความรู้สำหรับคนอื่นซึ่งจะให้ความช่วยเหลืออย่างที่เป็นประโยชน์. บทความชุดนี้กระตุ้นผู้อ่านวารสารของเราให้เขียนจดหมายถึงเรามากที่สุดเป็นประวัติการณ์. ผู้อ่านคนหนึ่งเขียนว่า “ผลกระทบใหญ่ที่สุดต่อการฟื้นของผมก็เนื่องมาจากแนวคิดที่เป็นการปลอบประโลมใจและการอ้างอิงคัมภีร์ไบเบิลในบทความชุดนั้น. ที่ได้รู้ว่าพระยะโฮวาไม่ทรงถือว่าผมด้อยค่าเลยนั้นทำให้ผมโล่งใจจริง ๆ. ที่ได้รู้ว่าไม่ใช่ผมคนเดียวที่มีปัญหาเช่นนั้นก็เป็นการปลอบประโลมเช่นกัน.”
15 นักขี่ม้าแข่งอาชีพในเมืองเมลเบอร์น ออสเตรเลีย โทรศัพท์ทางไกลไปที่สำนักงานของสมาคมว็อชเทาเวอร์ในเมืองซิดนีย์ แสดงความรังเกียจต่อวงการแข่งม้า. เขากล่าวว่า เขาเพิ่งอ่านบทความในวารสารตื่นเถิด! ฉบับ 8 มีนาคม (ภาษาอังกฤษ) เรื่อง “การกระทำชำเรา—ฝันร้ายของผู้หญิง” และแทบจะไม่เชื่อว่า มีวารสารที่มีคุณค่าเช่นนี้อยู่. เขาถามหลายสิ่งหลายอย่างอยู่นานประมาณ 30 นาทีและพอใจกับคำตอบที่ได้รับ.
16. โดยวิธีใด คุณสามารถจะแสดงว่าคุณหยั่งรู้ค่าวารสารของเรา?
16 คุณล่ะเป็นอย่างไร? ชีวิตของคุณได้รับผลกระทบจากบทความเฉพาะอย่างที่นำลงพิมพ์ในวารสารหอสังเกตการณ์ หรือตื่นเถิด! ไหม? หากเป็นเช่นนั้น ไม่ต้องสงสัย คุณคงซาบซึ้งด้วยความรู้สึกขอบคุณต่อวารสารของเรา. คุณจะแสดงอย่างไรว่าคุณหยั่งรู้ค่า? แน่นอน โดยที่คุณอ่านทุกฉบับ. นอกจากนี้ คุณอาจเข้าร่วมในงานจำหน่ายวารสารที่ล้ำค่านี้ให้กว้างขวางมากที่สุดเท่าที่จะทำได้. จะทำได้โดยวิธีใด?
ให้คนอื่นมีโอกาสได้อ่านวารสารด้วย!
17. ประชาคมต่าง ๆ จะทำประการใดได้เพื่อให้การจำหน่ายวารสารเพิ่มมากขึ้น?
17 ประการแรก มีอย่างหนึ่งซึ่งแต่ละประชาคมจะทำได้. ใบแจ้งข่าว (เวลานี้เรียกว่าพระราชกิจของเรา) ประจำเดือนตุลาคม 1952 ว่าอย่างนี้: “การจำหน่ายวารสารอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งคือการไปตามบ้านและไปตามห้างร้าน. ดังนั้น สมาคมจึงแนะนำว่า การจำหน่ายวารสารในวิธีเหล่านี้ควรเป็นส่วนที่ทำเป็นประจำในกิจกรรมวันวารสาร.” คำแนะนำครั้งนั้นยังคงใช้ได้ในปัจจุบัน. ประชาคมต่าง ๆ อาจกำหนดวันวารสารเป็นประจำ กันเอาวันหนึ่งไว้แน่นอนสำหรับการให้คำพยานโดยใช้เฉพาะวารสารเท่านั้น. ประชาคมส่วนใหญ่เลือกเอาวันเสาร์ก็นับว่าดี. ใช่แล้ว ให้แต่ละประชาคมจัดวันหนึ่งหรือตอนเย็นวันหนึ่งไว้เฉพาะเพื่อให้คำพยานโดยใช้วารสาร—โดยไปตามบ้าน, ตามห้างร้าน, ยืนให้คำพยานริมทางสัญจร และเวียนส่ง. นอกจากนั้น คุณซึ่งเป็นผู้ประกาศราชอาณาจักรจะทำอะไรได้บ้างเพื่อจำหน่ายวารสารให้มากขึ้น?
18, 19. (ก) การใส่ใจในหอสังเกตการณ์ หรือตื่นเถิด! จะช่วยคุณจำหน่ายวารสารได้อย่างไร? (ข) มีข้อได้เปรียบอะไรในการเสนอวารสารแบบพูดสั้น ๆ, ตรงจุด? (ค) อะไรแสดงถึงคุณค่าของการที่จะให้วารสารตกไปอยู่ในบ้านประชาชน?
18 การใส่ใจใน “หอสังเกตการณ์” และ “ตื่นเถิด!” นับว่าเป็นก้าวแรก. จงอ่านวารสารไว้ล่วงหน้า. ขณะที่อ่านแต่ละบทความ ถามตัวเองว่า ‘บทความนี้คงจะเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับใคร?’ จงคิดหาคำพูดที่จะกระตุ้นความสนใจในบทความนั้น. นอกจากคุณสนับสนุนกิจกรรมวันวารสารแล้ว ดีไหมถ้าคุณจะนำวารสารติดตัวไปบ้าง เผื่อคุณจะสามารถฉวยทุกโอกาสแบ่งปันวารสารให้คนอื่นได้อ่านด้วย—เมื่อเดินทางหรือไปซื้อของ และเมื่อคุยกับเพื่อนร่วมงาน, เพื่อนบ้าน, เพื่อนนักเรียน, หรือครู?
19 เสนออย่างง่าย ๆ เป็นคำแนะนำประการที่สอง. เดอะ ว็อชเทาเวอร์ ฉบับ 1 ธันวาคม 1956 ระบุไว้ว่า “เมื่อเสนอวารสาร ควรพูดให้สั้น, ตรงจุด นั้นแหละดีที่สุด. เป้าหมายคือการจำหน่ายให้ได้หลายฉบับ. ปล่อยให้วารสาร ‘พูด.’” ผู้ประกาศบางคนพบว่าเกิดผลดีหากหยิบยกข้อคิดจุดเดียวจากบทความเดียวขึ้นมาพูดอย่างรวบรัด แล้วเสนอวารสาร. ครั้นมีวารสารอยู่ในบ้านนั้นแล้ว วารสารอาจจะ “พูด” กับคนอื่นนอกเหนือจากผู้ที่รับเอาวารสารจากคุณ. ที่ประเทศไอร์แลนด์ นิสิตวัยรุ่นคนหนึ่งในมหาวิทยาลัยได้อ่านหอสังเกตการณ์ ฉบับ 1 กันยายน 1991 ซึ่งบิดาของเธอรับไว้จากพยานฯ. บทความเรื่องการสื่อความและเรื่องอื่น ๆ เร้าความสนใจของเธอ. ทันทีที่อ่านวารสารเสร็จ เธอก็หาหมายเลขโทรศัพท์จากสมุดโทรศัพท์ เพื่อติดต่อกับพยานฯ. ไม่นานหลังจากนั้น การศึกษาพระคัมภีร์ได้เริ่มขึ้นและหญิงสาวคนนี้ได้รับบัพติสมาคราวการประชุมภาค “การสอนจากพระเจ้า” เมื่อเดือนกรกฎาคม 1993. จงพยายามจำหน่ายวารสารไว้กับเจ้าของบ้านให้ได้ แล้ววารสารจะ “พูด” กับคนในบ้านนั้น! ผู้ดูแลเดินทางมีข้อเสนอแนะง่าย ๆ อีกข้อหนึ่งว่า “เอาวารสารออกมาจากกระเป๋าหนังสือของคุณ.” อันที่จริง หากเรื่องที่คุณพูดไปนั้นไม่จับความสนใจของเจ้าของบ้าน บางทีภาพงามสะดุดตาที่หน้าปกวารสารจะกระตุ้นเจ้าของบ้านให้รับวารสารไว้ได้.
20, 21. (ก) คุณสามารถจะยืดหยุ่นได้อย่างไรเมื่อร่วมงานวันวารสาร? (ข) ที่จะจำหน่ายวารสารให้ได้มากขึ้นแต่ละเดือน คุณอาจทำอะไร?
20 ข้อเสนอแนะประการที่สามคือการรู้จักยืดหยุ่น. (เทียบกับ 1 โกรินโธ 9:19-23.) จงเตรียมคำพูดสั้น ๆ ไว้พร้อมสักสองสามอย่าง. คิดถึงบทความหนึ่งซึ่งดึงดูดความสนใจของผู้ชาย และจำอีกเรื่องหนึ่งสำหรับผู้หญิง. สำหรับหนุ่มสาว คุณอาจใช้บทความเรื่อง “หนุ่มสาวถามว่า . . . ” คุณควรรู้จักยืดหยุ่นเช่นกันว่า ควรร่วมจำหน่ายวารสารเมื่อไร. นอกจากวันวารสารแล้ว คุณอาจพบว่า การให้คำพยานตอนเย็นเป็นโอกาสดีมากที่จะเสนอวารสารตามบ้าน.
21 ข้อเสนอแนะประการที่สี่คือตั้งเป้าส่วนตัว. บทความในพระราชกิจของเรา ประจำเดือนมีนาคม 1984 ภายใต้หัวเรื่อง “วารสารชี้ทางสู่ชีวิต” ชี้แจงว่า “เป็นข้อเสนอแนะ ผู้ประกาศอาจตั้งเป้าจำหน่ายวารสารให้ได้ 10 ฉบับต่อเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ ไพโอเนียร์อาจพยายามทำให้ได้ 90 ฉบับ. จริงอยู่ ผู้ประกาศบางคนอาจจะจำหน่ายวารสารได้มากกว่านี้ในแต่ละเดือน ดังนั้น เขาก็อาจตั้งเป้าส่วนตัวสูงกว่า. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร่างกายไม่แข็งแรง, ลักษณะเขตทำงาน, หรือด้วยเหตุผลที่ดีอย่างอื่นบางประการ เป้าของคนอื่นก็อาจต่ำกว่าก็ได้. กระนั้น งานรับใช้ที่พวกเขาถวายแด่พระยะโฮวาก็มีคุณค่าเหมือนกัน. (มัดธาย 13:23; ลูกา 21:3, 4) สิ่งสำคัญคือมีเป้าส่วนตัว.”
22. เราจะแสดงด้วยวิธีใดว่า เรารู้สึกขอบคุณพระยะโฮวาที่เรามีวารสารแห่งความจริงออกมาทันกาล?
22 พวกเรารู้สึกขอบคุณสักเพียงใดที่พระยะโฮวา “พระเจ้าแห่งความสัตย์จริง” ได้ทรงใช้ทาสสัตย์ซื่อและสุขุมพร้อมด้วยคณะกรรมการปกครองจัดเตรียมให้เรามีวารสารเหล่านี้ที่ทันกาล! (บทเพลงสรรเสริญ 31:5) นานตราบเท่าที่พระยะโฮวาทรงประสงค์ วารสารเหล่านี้ก็จะรับมือกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนต่อ ๆ ไป. วารสารของเรายังจะสนับสนุนมาตรฐานสูงส่งของพระยะโฮวาทางด้านศีลธรรมต่อ ๆ ไป. วารสารเหล่านั้นจะส่งเสริมหลักคำสอนที่ถูกต้องอย่างไม่ละลด และจะยังคงมุ่งมั่นที่จะชี้ให้เห็นความสมจริงแห่งคำพยากรณ์ซึ่งกำหนดไว้ว่าสมัยของเรานี้แหละเป็นเวลาที่ราชอาณาจักรของพระเจ้ากำลังปกครอง และกำลังมีการทำตามพระทัยประสงค์ของพระเจ้าบนแผ่นดินโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยผู้นมัสการแท้จำนวนมากขึ้นของพระยะโฮวา. (มัดธาย 6:10; วิวรณ์ 11:15) ช่างเป็นคลังทรัพย์อันล้ำค่าที่เรามีในวารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! ขอให้พวกเราใช้ทุกโอกาสช่วยคนที่มีใจอ่อนน้อมได้อ่านวารสารสำคัญเหล่านี้ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คน และสนับสนุนความจริงแห่งราชอาณาจักร.
[เชิงอรรถ]
a ฉบับ 15 กรกฎาคม 1992, หน้า 19-22.
b นานหลายปีทีเดียวที่เดอะ ว็อชเทาเวอร์ ถูกมองว่าเป็นวารสารสำหรับคริสเตียนผู้ถูกเจิมเท่านั้น. แต่ตั้งแต่ปี 1935 มีการเน้นหนักขึ้นในการสนับสนุน “ชนฝูงใหญ่” ผู้ซึ่งมีความหวังจะได้ชีวิตนิรันดร์บนแผ่นดินโลกให้รับอ่านเดอะ ว็อชเทาเวอร์. (วิวรณ์ 7:9, ล.ม.) ไม่กี่ปีต่อมา คือปี 1940 มีการเสนอวารสารเดอะ ว็อชเทาเวอร์ ให้แก่ผู้คนตามถนน. การจำหน่ายจึงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาต่อมา.
คุณจะตอบอย่างไร?
▫ มีอะไรแสดงว่า หอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! เป็นวารสารแห่งความจริง?
▫ วารสารหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! มีผลกระทบต่อชีวิตผู้คนอย่างไร?
▫ ประชาคมอาจทำประการใดได้เพื่อจำหน่ายวารสารมากขึ้น?
▫ ข้อเสนอแนะอะไรจะช่วยคุณจำหน่ายวารสารได้มากขึ้น?
[กรอบหน้า 22]
บทความบางเรื่องที่มีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คน
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีผู้อ่านจำนวนไม่น้อยได้เขียนแสดงความรู้สึกหยั่งรู้ค่าบทความเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะในหอสังเกตการณ์ และตื่นเถิด! รายการข้างล่างนี้เป็นเพียงไม่กี่เรื่องในหลาย ๆ เรื่องซึ่งมีผลกระทบต่อผู้อ่านวารสารของเรา. เรื่องเหล่านี้หรือเรื่องอื่นมีผลกระทบต่อชีวิตของคุณไหม?
หอสังเกตการณ์
“รับการสงเคราะห์จากพระเจ้าเพื่อชนะความผิดอันเร้นลับ” (15 เมษายน 1985)
“การแสดงความเลื่อมใสศรัทธาในพระเจ้าต่อบิดามารดาที่ชรา” (1 มิถุนายน 1987)
“การศึกษาโดยมีจุดมุ่งหมาย” (1 พฤศจิกายน 1992)
ตื่นเถิด!
“คุณสามารถผจญความซึมเศร้าได้!” (8 มีนาคม 1982)
“เมื่อคนที่คุณรักเสียชีวิต . . . ” (8 พฤษภาคม 1985)
“จงปกป้องบุตรของคุณ!” (8 ตุลาคม 1993)
[รูปภาพหน้า 23]
ในแคนาดา—ให้คำพยานตามบ้านโดยใช้วารสาร
[รูปภาพหน้า 24]
ในพม่า—การเสนอวารสารซึ่งชี้ทางสู่ชีวิต