แหล่งอ้างอิงสำหรับชีวิตและงานรับใช้—คู่มือประชุม
วันที่ 10-16 กรกฎาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ เอเสเคียล 15-17
“คุณทำตามคำสัญญาไหม?”
ห 15/9/88 น. 22 ว. 8
พระยะโฮวาทรงชักกระบี่จากฝัก!
8 ต่อจากนั้น ผู้ครองอำนาจแห่งบาบูโลนและอียิปต์ถูกเปรียบเทียบเป็นนกอินทรีตัวใหญ่. ตัวหนึ่งได้จิกยอดสนซึ่งก็หมายถึงการถอดกษัตริย์ยะโฮยาคินออกจากตำแหน่งและตั้งซิดคียาเป็นกษัตริย์แทน. ถึงแม้นซิดคียาได้ให้สัตย์สาบานไว้กับนะบูคัดเนซัร แต่ท่านได้หักล้างเสีย แล้วหันไปหาความช่วยเหลือทางทหารจากผู้ครอบครองแห่งอียิปต์ซึ่งเป็นนกอินทรีใหญ่อีกตัวหนึ่ง. ถ้าซิดคียาได้อ้างพระนามพระเจ้าเมื่อให้สัตย์สาบาน การหักล้างคำสัญญาย่อมนำคำตำหนิมาสู่พระยะโฮวา. แค่ความคิดว่าพระเจ้าจะได้รับคำตำหนิ ก็น่าจะยับยั้งเรามิให้เสียคำพูด. แท้จริง เราได้รับสิทธิพิเศษอยู่แล้วที่เราถูกเรียกตามชื่อพระองค์ว่าพยานพระยะโฮวา!—ยะเอศเคล 17:1-21.
ขุดค้นความรู้ที่มีค่าของพระเจ้า
ห 15/9/88 น. 22 ว. 7
พระยะโฮวาทรงชักกระบี่จากฝัก!
7 เนื่องจากพลเมืองในแผ่นดินยูดาไม่ซื่อสัตย์จึงเปรียบแผ่นดินนั้นเป็นเถาองุ่นป่าซึ่งไม่ออกผลที่ดีแต่เหมาะที่จะเผาไฟเสียเท่านั้น. (ยะเอศเคล 15:1-8) นอกจากนั้น ยังเปรียบเสมือนเด็กที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง แต่พระเจ้าทรงช่วยให้รอดมาได้จากอียิปต์และรับการเลี้ยงดูเป็นผู้หญิงที่โตเต็มที่. พระยะโฮวาทรงรับเธอไว้ประดุจภรรยา แต่เธอกลับหันไปหาพวกพระเท็จและจะต้องประสบความพินาศเนื่องด้วยเธอล่วงประเวณีฝ่ายวิญญาณ. แต่กับพวกที่ซื่อสัตย์ พระเจ้าจะ ‘ตั้งคำสัญญาไมตรีอันยั่งยืนเป็นนิตย์’—คำสัญญาไมตรีใหม่กับยิศราเอลฝ่ายวิญญาณ.—ยะเอศเคล 16:1-63; ยิระมะยา 31:31-34; ฆะลาเตีย 6:16
วันที่ 31 กรกฎาคม-6 สิงหาคม
ความรู้ที่มีค่าจากพระคัมภีร์ | เอเสเคียล 24-27
“คำพยากรณ์เกี่ยวกับไทระทำให้เรามั่นใจในคำพูดของพระยะโฮวา”
คัมภีร์ไบเบิลได้รับการดลบันดาลจากพระเจ้าจริง ๆ หรือ?
3 ตุโรเป็นเมืองท่าของฟีนีเซียซึ่งเคยต่อต้านยิศราเอลเพื่อนบ้านทางใต้ซึ่งนมัสการพระยะโฮวา. โดยทางผู้พยากรณ์ชื่อยะเอศเคล พระยะโฮวาตรัสถึงความพินาศอันจะเกิดแก่เมืองนั้นนานกว่า 250 ปี ก่อนเหตุการณ์ได้อุบัติขึ้น. พระยะโฮวาทรงแถลงว่า “เราจะยังประเทศเป็นอันมากให้ขึ้นมาต่อสู้เจ้า . . . และเขาทั้งหลายจะทำลายกำแพงของตุโร และจะหักหอรบทั้งหลายแห่งตุโรเสีย เราจะกวาดผงคลีดินจากเมืองนั้น และให้เมืองนั้นเป็นศิลาว่างเปล่าอยู่. เมืองนั้นอยู่ในท่ามกลางทะเลจะเป็นที่สำหรับตากแหและอวน.” ยะเอศเคลระบุชื่อชาติแรกและผู้นำที่จะล้อมเมืองตุโรว่า “เราจะยังนะบูคัดเนซัรกษัตริย์แห่งบาบูโลน . . . มาต่อสู้กับตุโร.”—ยะเอศเคล 26:3-5, 7.
it-1-E น. 70
อเล็กซานเดอร์
แทนที่อเล็กซานเดอร์จะตามล่าชาวเปอร์เซียที่หนีไปหลังจากได้ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่แล้ว (ชัยชนะครั้งแรกที่แม่น้ำแกรนีคุส และครั้งที่สองคือที่ราบอิสซุส ซึ่งประมาณกันว่ากองทัพเปอร์เซียกว่า 5 แสนคนพ่ายแพ้อย่างราบคาบ) เขากลับสนใจเมืองไทระส่วนที่อยู่บนเกาะ หลายร้อยปีก่อนหน้านั้น มีคำพยากรณ์ที่บอกไว้ว่ากำแพง หอคอย บ้าน และดินของเมืองไทระจะถูกโยนลงทะเล (อสค 26:4, 12) ดังนั้น นี่จึงเป็นเรื่องน่าสนใจที่อเล็กซานเดอร์เอาเศษหินจากเมืองที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ซึ่งถูกทำลายมาหลายปีโดยเนบูคัดเนสซาร์มาสร้างเป็นทางข้ามยาว 800 เมตรเพื่อข้ามไปยังเมืองส่วนที่อยู่บนเกาะ การที่กองทัพเรือใช้เครื่องมือของทหารทุบเศษหินเพื่อสร้างทางข้ามนี้ เป็นการทำลายเจ้าแห่งน่านน้ำที่หยิ่งผยอง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม ปี 332 ก่อน ค.ศ.
ห 15/9/88 น. 27 ว. 24
พระยะโฮวาทรงชักกระบี่จากฝัก!
24 ต่อจากนั้น ยะเอศเคลต้องปฏิบัติต่างไปจากธรรมดา. (อ่านยะเอศเคล 24:15-18) ทำไมผู้พยากรณ์ท่านนี้ไม่ควรแสดงความโศกเศร้าเมื่อภรรยาของท่านเสียชีวิต? เพื่อแสดงว่าชาวยิวตะลึงงันเพียงใดเมื่อความหายนะเกิดแก่ยะรูซาเลมทั้งพลเมืองในกรุงนั้นและพระวิหาร. ยะเอศเคลได้พูดมามากพอแล้วเกี่ยวด้วยเรื่องเหล่านี้และจะไม่ประกาศข่าวสารของพระเจ้าอีกจนกว่าท่านได้รับรายงานว่ายะรูซาเลมล่มจมไปแล้ว. ในทำนองเดียวกัน คริสต์ศาสนจักรและนักเทศน์นักบวชทั้งหลายซึ่งเป็นคนหน้าซื่อใจคดจะตกตะลึงเมื่อความพินาศเกิดขึ้นกับเขา. แล้วทันทีภายหลัง ‘ความทุกข์ลำบากใหญ่ยิ่ง’ เริ่มขึ้น สิ่งที่จำพวกคนยามผู้ถูกเจิมได้เตือนถึงจุดจบของพวกเขาไปแล้วนั้นก็สิ้นเรื่องกัน. (มัดธาย 24:21) แต่เมื่อ “กระบี่” ของพระเจ้าลงมาเหนือคริสต์ศาสนจักร นักศาสนาและผู้คนทั้งหลายซึ่งตะลึงงันไปนั้น ‘จะได้รู้ว่าพระองค์คือยะโฮวา’.—ยะเอศเคล 24:19-27