-
คำถามจากผู้อ่านหอสังเกตการณ์ 1990 | 15 สิงหาคม
-
-
เกี่ยวกับตัวอย่างอันเป็นคำพยากรณ์ในไบเบิล วารสารวอชเทาเวอร์ ฉบับ 15 ธันวาคม 1928 ได้พิจารณาพระธรรมมีคา 5:2-15. พระธรรมเล่มนี้กล่าวถึงชาวอัสซีเรียได้ทำลายกรุงซะมาเรียจนเริศร้างและชาวยิวที่ถูกเนรเทศไปอยู่ในบาบูโลนจะกลับคืนสู่ประเทศ. (มีคา 1:1, 5-7; 4:10) แต่พระธรรมมีคายังได้ชี้ไปถึงเหตุการณ์ต่อมาเช่นประสูติกาลของพระมาซีฮาในเมืองเบธเลเฮม. (มีคา 5:2) มีคาได้พยากรณ์ว่าภายหลังการช่วยให้รอดจากเงื้อมมือ “ชาวอัสซีเรีย” แล้ว “ชนเดนเลือกของยาโคบ” จะกลายเป็น “ดุจน้ำค้างมาจากพระยะโฮวา” “ดุจสิงโตหนุ่มอยู่ในท่ามกลางฝูงแกะ.” (มีคา 5:6-8) วอชเทาเวอร์ ฉบับนั้นชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ข้อนี้อาจเข้าใจเสมือนว่าเป็นสิ่งบ่งบอก ชนที่เหลือบางคนจะยังอยู่ทางโลกนี้ภายหลังสงครามอาร์มาเก็ดดอน และตอนนั้นจะคงมีงานทำอีกบ้างในนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า และเพื่อเป็นคำสรรเสริญและสง่าราศีแด่พระองค์.” โปรดสังเกตถ้อยแถลงอย่างถ่อมตัวและมีเหตุผลกล่าวในเชิงอันเป็นไปได้ที่ว่า “ข้อนี้อาจเข้าใจเสมือนว่า เป็นสิ่งบ่งบอก.”
-
-
คำถามจากผู้อ่านหอสังเกตการณ์ 1990 | 15 สิงหาคม
-
-
คำชี้แจงถึงความเป็นไปได้ที่ว่าบางคนจากกลุ่มผู้ถูกเจิมอาจจะรอดเข้าโลกใหม่เช่นนั้นก็เนื่องจากเจตนาอันดีและอาศัยความสว่างจากแบบอย่างแต่ก่อน ๆ ในไบเบิลสำหรับความพยายามที่จะเข้าใจคำพยากรณ์ หรือแบบอย่างซึ่งอาจเปรียบเทียบกันได้ภายหลัง. ถ้าปรากฏว่าไม่มีผู้ถูกเจิมเหลืออยู่บนแผ่นดินโลกเลย ก็คงไม่มีเหตุผลจะเกิดความไม่พอใจ. พวกเราได้ยอมรับแล้วว่าเรื่องต่าง ๆ ในไบเบิลย่อมเข้าใจกระจ่างขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลาที่ผ่านไป. ตัวอย่างเช่น วอชเทาเวอร์ ฉบับ 15 กรกฎาคม 1981 ได้พิจารณามีคา 5:6-9 อีกครั้งหนึ่งทั้งได้ชี้แจงด้วยว่า “ชนที่เหลือแห่งยิศราเอลฝ่ายวิญญาณไม่จำเป็นต้องคอยกระทั่งภายหลัง . . . อาร์มาเก็ดดอนเพื่อจะเป็นดุจ ‘น้ำค้าง’ ให้ความสดชื่นแก่ผู้คน.” การชี้แจงเรื่องนี้อีกครั้งชวนให้นึกถึงความเป็นไปได้ ที่ว่าชนที่เหลืออาจรอดชีวิตผ่านสงครามใหญ่ของพระเจ้า และชั่วระยะหนึ่ง “ยังคงเป็นดุจ ‘น้ำค้าง’ ซึ่งยังความสดชื่นแก่ ‘ชนฝูงใหญ่’ แห่ง ‘แกะอื่น.’” ถึงกระนั้น เราเห็นว่ากาลเวลาที่ล่วงผ่านไปและความสว่างฝ่ายวิญญาณซึ่งเจิดจ้ายิ่งขึ้นย่อมเสริมหรือเปลี่ยนแปลงความเข้าใจของเราเกี่ยวกับคำพยากรณ์หรือเรื่องราวอันน่าทึ่งในคัมภีร์ไบเบิลกระจ่างยิ่งขึ้น.—สุภาษิต 4:18.
-