การศึกษาพระคัมภีร์ที่มีขึ้นโดยการดลใจพร้อมด้วยภูมิหลัง
บทเรียนที่ 3—การกำหนดเวลาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในกระแสเวลา
การนับเวลาในสมัยคัมภีร์ไบเบิลและการพิจารณาลำดับเวลาของเหตุการณ์เด่น ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลทั้งภาคภาษาฮีบรูและภาคภาษากรีก.
1. (ก) อะไรแสดงว่าพระยะโฮวาทรงเป็นผู้รักษาเวลาที่แม่นยำ? (ข) มีความก้าวหน้าอะไรในการเข้าใจลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิล?
เมื่อประทานนิมิตเรื่อง “กษัตริย์ทิศเหนือ” กับ “กษัตริย์ทิศใต้” แก่ดานิเอล ทูตสวรรค์ของพระยะโฮวาใช้คำ “เวลากำหนด” หลายครั้ง. (ดานิ. 11:6, 27, 29, 35, ล.ม.) มีข้อคัมภีร์อื่น ๆ อีกหลายข้อที่แสดงให้เห็นเช่นกันว่าพระยะโฮวาทรงเป็นผู้รักษาเวลาที่แม่นยำ ผู้ทรงทำให้พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จตรงตามเวลา. (ลูกา 21:24; 1 เธ. 5:1, 2) ในคัมภีร์ไบเบิลพระคำของพระองค์ พระองค์ทรงจัดให้มี “ป้ายบอกทาง” หลายอย่างซึ่งช่วยเราให้กำหนดเวลาเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในกระแสเวลา. มีความก้าวหน้ามากในการเข้าใจลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิล. การวิจัยโดยนักโบราณคดีและคนอื่น ๆ ยังคงให้ความกระจ่างต่อ ๆ ไปแก่ปัญหาหลายอย่าง ช่วยให้เราสามารถกำหนดเวลาเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในบันทึกของคัมภีร์ไบเบิล.—สุภา. 4:18.
2. จงให้ตัวอย่างการคำนวณเวลาโดยใช้เลขเชิงอันดับที่.
2 เลขเชิงอันดับที่และเลขเชิงการนับ. ในบทเรียนก่อน (วรรค 24 และ 25) เราทราบว่ามีความแตกต่างระหว่างเลขเชิงอันดับที่และเลขเชิงการนับ. ควรระลึกถึงข้อนี้เสมอเมื่อกำหนดระยะเวลาในคัมภีร์ไบเบิลให้สอดคล้องกับวิธีนับเวลาในปัจจุบัน. ยกตัวอย่าง เมื่อพูดถึง “ในปีที่สามสิบเจ็ดแห่งการเป็นเชลยของเยโฮยาคีนกษัตริย์แห่งยูดาห์” คำ “ที่สามสิบเจ็ด” เป็นเลขเชิงอันดับที่. ปีนั้นหมายถึง 36 ปีเต็ม บวกกับบางวัน, บางสัปดาห์ หรือบางเดือน (ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรตั้งแต่ตอนสิ้นปีที่ 36).—ยิระ. 52:31, ฉบับแปลใหม่.
3. (ก) บันทึกอะไรของทางราชการที่ช่วยในการกำหนดเวลาในคัมภีร์ไบเบิล? (ข) ปีแห่งรัชกาลคืออะไร และปีแห่งการขึ้นครองราชย์คืออะไร?
3 ปีแห่งรัชกาลและปีแห่งการขึ้นครองราชย์. คัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงบันทึกทางการของรัฐบาลยูดาห์และยิศราเอล รวมทั้งเรื่องทางการของบาบูโลนและเปอร์เซีย. ในอาณาจักรทั้งสี่นี้ มีการนับวันเดือนปีทางราชการอย่างแม่นยำตามการปกครองของกษัตริย์ และมีการนำระบบการคำนวณแบบเดียวกันมาใช้ในคัมภีร์ไบเบิล. บ่อยมากที่คัมภีร์ไบเบิลให้ชื่อเอกสารที่มีการยกข้อความมากล่าว ตัวอย่างเช่น “หนังสือพระราชกิจของซาโลมอน.” (1 กษัต. 11:41, ฉบับแปลใหม่) รัชกาลหนึ่ง ๆ จะครอบคลุมส่วนของปีที่ขึ้นครองราชย์ ตามด้วยจำนวนปีเต็ม ๆ ของปีแห่งรัชกาล. ปีแห่งรัชกาลเป็นปีทางการแห่งการเป็นกษัตริย์ และโดยทั่วไปนับจากเดือนไนซานถึงเดือนไนซาน หรือจากฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ผลิ. เมื่อกษัตริย์ครองบัลลังก์ เดือนต่าง ๆ ที่เหลืออยู่จนถึงเดือนไนซานในฤดูใบไม้ผลิครั้งต่อไปถือเป็นปีแห่งการขึ้นครองราชย์ ซึ่งระหว่างนั้นกษัตริย์ทำให้ปีแห่งรัชกาลของผู้ที่ปกครองก่อนเขาครบถ้วน. อย่างไรก็ตาม รัชกาลของเขาเองนับโดยเริ่มจากวันที่ 1 ของเดือนไนซานถัดไป.
4. จงแสดงให้เห็นว่าอาจนับลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิลตามปีแห่งรัชกาลอย่างไร.
4 ยกตัวอย่าง ดูเหมือนซะโลโมเริ่มครองราชย์ระยะหนึ่งแล้วก่อนเดือนไนซานปี 1037 ก.ส.ศ. ขณะดาวิดยังมีชีวิต. ดาวิดสิ้นชีพไม่นานหลังจากนั้น. (1 กษัต. 1:39, 40; 2:10) อย่างไรก็ตาม ปีแห่งรัชกาลปีสุดท้ายของดาวิดดำเนินต่อไปจนถึงฤดูใบไม้ผลิของปี 1037 ก.ส.ศ. ซึ่งยังนับเป็นส่วนแห่งการบริหารงานปกครองของท่าน 40 ปี. ส่วนที่เหลือของปีนั้นตั้งแต่ตอนที่ซะโลโมเริ่มปกครองจนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิของปี 1037 ก.ส.ศ. ถือเป็นปีแห่งการขึ้นครองราชย์ของซะโลโม และไม่อาจนับเป็นปีแห่งรัชกาลของท่านได้ เนื่องจากซะโลโมยังกำลังทำให้ระยะเวลาบริหารงานของราชบิดาของท่านครบถ้วน. ดังนั้น ปีแห่งรัชกาลเต็มปีแรกของซะโลโมจึงไม่ได้เริ่มต้นจนกระทั่งเดือนไนซานปี 1037 ก.ส.ศ. (1 กษัต. 2:12) ในที่สุด ซะโลโมปกครองเป็นกษัตริย์ครบ 40 ปีแห่งรัชกาลของท่าน. (1 กษัต. 11:42) โดยการจัดให้ปีแห่งรัชกาลแยกต่างหากจากปีแห่งการขึ้นครองราชย์อย่างนี้ จึงเป็นไปได้ที่จะคำนวณลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิลอย่างถูกต้อง.a
การนับย้อนไปถึงตอนสร้างอาดาม
5. จะระบุเวลาที่มีการฟื้นฟูการนมัสการพระยะโฮวาในยะรูซาเลมอย่างไร?
5 การเริ่มจากเวลาหลัก. เวลาหลักสำหรับนับย้อนไปถึงการสร้างอาดามคือเวลาที่ไซรัสโค่นราชวงศ์บาบูโลน นั่นคือปี 539 ก.ส.ศ.b ไซรัสมีราชโองการให้ปล่อยชาวยิวเป็นอิสระในปีแรกของท่าน คือก่อนฤดูใบไม้ผลิปี 537 ก.ส.ศ. เอษรา 3:1 รายงานว่า ลูกหลานชาวยิศราเอลกลับถึงยะรูซาเลมก่อนเดือนเจ็ดคือเดือนทิชรี ซึ่งตรงกับช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม. ดังนั้น จึงนับได้ว่าฤดูใบไม้ร่วงปี 537 ก.ส.ศ. เป็นเวลาแห่งการฟื้นฟูการนมัสการพระยะโฮวาในยะรูซาเลม.
6. (ก) ระยะเวลาอะไรที่มีบอกไว้ล่วงหน้าได้สิ้นสุดลงในฤดูใบไม้ร่วงปี 537 ก.ส.ศ.? (ข) ระยะเวลานั้นต้องเริ่มเมื่อไร และข้อเท็จจริงสนับสนุนเรื่องนี้อย่างไร?
6 การฟื้นฟูการนมัสการพระยะโฮวาในฤดูใบไม้ร่วงปี 537 ก.ส.ศ. เป็นสิ่งบอกตอนสิ้นสุดของระยะเวลาเชิงพยากรณ์. ระยะเวลาไหน? นั่นคือระยะเวลา “เจ็ดสิบปี” ที่แผ่นดินตามคำสัญญา “จะต้องกลายเป็นที่ร้างเปล่า” และพระยะโฮวายังตรัสเกี่ยวกับระยะเวลานั้นด้วยว่า “ครั้นเมื่อครบถ้วนเจ็ดสิบปี, ที่เมืองบาบูโลนแล้ว, เราจะไปเยี่ยมเจ้าทั้งหลาย, แลจะกระทำให้คำดีของเราซึ่งได้กล่าวไว้แก่พวกเจ้าให้สำเร็จ, คือว่าจะกระทำให้พวกเจ้ากลับมาถึงที่นี่.” (ยิระ. 25:11, 12, ล.ม.; 29:10) ดานิเอลซึ่งคุ้นเคยดีกับคำพยากรณ์ข้อนี้ได้ปฏิบัติสอดคล้องกับคำพยากรณ์ดังกล่าวขณะที่ “เจ็ดสิบปี” ใกล้จะสิ้นสุด. (ดานิ. 9:1-3) “เจ็ดสิบปี” ซึ่งสิ้นสุดในฤดูใบไม้ร่วงปี 537 ก.ส.ศ. ต้องเริ่มต้นในฤดูใบไม้ร่วงปี 607 ก.ส.ศ. ข้อเท็จจริงแสดงถึงเรื่องนี้. ยิระมะยาบท 52 พรรณนาเหตุการณ์สำคัญในคราวการล้อมยะรูซาเลม, การบุกของชาวบาบูโลน และการจับตัวกษัตริย์ซิดคียาในปี 607 ก.ส.ศ. จากนั้น ดังที่ข้อ 12 (ฉบับแปลใหม่) กล่าวว่า “เมื่อวันที่สิบในเดือนที่ห้า” นั่นคือวันที่สิบเดือนอับ (ตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม) ชาวบาบูโลนได้เผาพระวิหารและกรุงนั้น. อย่างไรก็ตาม นี่ก็ยังไม่ใช่จุดเริ่มต้นของ “เจ็ดสิบปี.” ร่องรอยแห่งอำนาจปกครองของชาวยิวยังคงมีอยู่ในบุคคลชื่อฆะดัลยาซึ่งกษัตริย์บาบูโลนแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการของกลุ่มชาวยิวยังเหลืออยู่. “ในเดือนที่เจ็ด” ฆะดัลยากับคนอื่น ๆ บางคนถูกลอบสังหาร ชาวยิวที่เหลืออยู่จึงหนีไปยังอียิปต์ด้วยความกลัว. ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปี 607 ก.ส.ศ. ดินแดนนั้นจึง “ถูกทิ้งร้าง . . . เพื่อให้สำเร็จกำหนดเจ็ดสิบปี” อย่างครบถ้วนตามความหมาย.—2 กษัต. 25:22-26, ฉบับแปลใหม่; 2 โคร. 36:20, 21, ฉบับแปลใหม่.
7. (ก) อาจคำนวณปีต่าง ๆ ย้อนหลังไปถึงการแบ่งแยกอาณาจักรหลังจากซะโลโมสิ้นชีพอย่างไร? (ข) คำพยากรณ์ของยะเอศเคลให้ข้อสนับสนุนเช่นไร?
7 ตั้งแต่ปี 607 ก.ส.ศ. ถึงปี 997 ก.ส.ศ. การคำนวณระยะเวลานี้ย้อนหลังตั้งแต่การล่มจมของยะรูซาเลมไปถึงการแบ่งแยกอาณาจักรหลังจากซะโลโมสิ้นชีพมีข้อยุ่งยากหลายประการ. อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบรัชกาลต่าง ๆ ของกษัตริย์ยิศราเอลและยูดาห์ตามที่บันทึกไว้ในพงศาวดารกษัตริย์ฉบับต้นและฉบับสองแสดงว่าระยะเวลานี้นาน 390 ปี. หลักฐานอันหนักแน่นที่ว่าตัวเลขนี้ถูกต้องคือคำพยากรณ์ที่ยะเอศเคล 4:1-13. คำพยากรณ์นี้แสดงว่ากำลังชี้ถึงเวลาที่ยะรูซาเลมจะถูกล้อมยึดและประชาชนถูกชาติต่าง ๆ นำไปเป็นเชลยซึ่งเกิดขึ้นในปี 607 ก.ส.ศ. ดังนั้น เวลา 40 ปีที่มีกล่าวถึงในกรณีของยูดาห์จึงสิ้นสุดตอนที่ยะรูซาเลมร้างเปล่า. เวลา 390 ปีที่มีกล่าวถึงในกรณีของยิศราเอลไม่ได้สิ้นสุดในคราวที่ซะมาเรียถูกทำลาย เพราะยะเอศเคลพยากรณ์เมื่อเรื่องนั้นผ่านไปนานแล้ว และคำพยากรณ์นั้นกล่าวอย่างชัดแจ้งว่าชี้ถึงการยึดและทำลายยะรูซาเลม. ดังนั้น “บาปโทษแห่งเรือนยิศราเอล” ก็สิ้นสุดในปี 607 ก.ส.ศ. เช่นกัน. โดยนับย้อนจากเวลานี้ เราจึงเห็นว่าระยะเวลา 390 ปี เริ่มต้นในปี 997 ก.ส.ศ. ในปีนั้น หลังจากซะโลโมสิ้นชีวิต ยาราบะอามขัดแย้งกับราชวงศ์ดาวิดและ “นำพวกยิศราเอลออกจากการปรนนิบัติพระยะโฮวา, และนำให้เขากระทำการผิดใหญ่.”—2 กษัต. 17:21.
8. (ก) มีการคำนวณปีต่าง ๆ ย้อนไปถึงการอพยพอย่างไร? (ข) การเปลี่ยนแปลงอะไรส่งผลกระทบการลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิลประมาณช่วงเวลานี้?
8 ตั้งแต่ปี 997 ก.ส.ศ. ถึงปี 1513 ก.ส.ศ. เนื่องจากปีสุดท้ายของปีแห่งรัชกาล 40 ปีเต็มของซะโลโมสิ้นสุดลงในฤดูใบไม้ผลิปี 997 ก.ส.ศ. จึงเข้าใจว่าปีแรกแห่งรัชกาลของท่านคงต้องเริ่มในฤดูใบไม้ผลิปี 1037 ก.ส.ศ. (1 กษัต. 11:42) บันทึกในคัมภีร์ไบเบิลที่ 1 กษัตริย์ 6:1 (ฉบับแปลใหม่) บอกว่า ซะโลโมเริ่มสร้างพระวิหารของพระยะโฮวาในยะรูซาเลมในเดือนที่สองปีที่สี่แห่งรัชกาลของท่าน. นั่นหมายความว่าเวลาครองราชย์ของท่านผ่านไปแล้วสามปีกับหนึ่งเดือนเต็ม ๆ ซึ่งทำให้เราทราบว่าการสร้างพระวิหารเริ่มต้นในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมของปี 1034 ก.ส.ศ. อย่างไรก็ตาม พระคัมภีร์ข้อเดียวกันกล่าวว่านั่นก็เป็น “ปีที่สี่ร้อยแปดสิบหลังจากที่ชนอิสราเอลออกมาจากแผ่นดินอียิปต์.” อีกครั้งหนึ่ง ปีที่ 480 เป็นเลขเชิงอันดับที่ ซึ่งหมายถึง 479 ปีเต็ม. ดังนั้น 479 บวกกับ 1034 ทำให้เราทราบว่าปี 1513 ก.ส.ศ. เป็นปีที่ชาติยิศราเอลออกจากอียิปต์. บทเรียนที่ 2 วรรค 19 อธิบายว่า ตั้งแต่ปี 1513 ก.ส.ศ. ต้องนับเดือนอาบิบ (ไนซาน) เป็น “เดือนแรกขึ้นปีใหม่” สำหรับชาติยิศราเอล (เอ็ก. 12:2) และก่อนหน้านั้น ถือกันว่าปีหนึ่ง ๆ เริ่มต้นในฤดูใบไม้ร่วงเดือนทิชรี. สารานุกรมความรู้ทางศาสนาฉบับใหม่ของชาฟฟ์-เฮอร์ซอก (ภาษาอังกฤษ) 1957 เล่ม 12 หน้า 474 อธิบายว่า “การนับปีแห่งรัชกาลของกษัตริย์อาศัยปีที่เริ่มในฤดูใบไม้ผลิ และคล้ายกับวิธีนับของชาวบาบูโลนซึ่งใช้วิธีนี้กันทั่วไป.” เมื่อไรก็ตามที่เริ่มนำการเปลี่ยนตอนเริ่มต้นปีด้วยฤดูใบไม้ร่วงเป็นเริ่มต้นปีด้วยฤดูใบไม้ผลิมาใช้กับระยะเวลาในคัมภีร์ไบเบิล นั่นย่อมหมายถึงการมีหกเดือนขาดไปหรือเพิ่มเข้ามาตรงจุดใดจุดหนึ่งของการนับเวลา.
9. (ก) บันทึกเรื่องราวย้อนหลังไปอย่างไรจนถึงตอนที่สัญญาไมตรีกับอับราฮามมีผลบังคับ? (ข) ระยะเวลา 215 ปีแรกของช่วงนี้เป็นไปอย่างไร? (ค) อับราฮามอายุเท่าไรตอนที่ท่านเดินทางข้ามแม่น้ำยูเฟรทิสสู่คะนาอัน?
9 ตั้งแต่ปี 1513 ก.ส.ศ. ถึงปี 1943 ก.ส.ศ. ที่เอ็กโซโด 12:40, 41 (ล.ม.) โมเซบันทึกว่า “การอยู่ของลูกหลานยิศราเอล ซึ่งเคยอยู่ในอียิปต์ คือสี่ร้อยสามสิบปี.” จากข้อความนี้จึงดูเหมือนว่า “การอยู่” นั้นไม่ใช่ในอียิปต์ทั้งหมด. ระยะเวลานี้เริ่มต้นเมื่ออับราฮามข้ามแม่น้ำยูเฟรทิสสู่คะนาอัน ซึ่งเป็นเวลาที่สัญญาไมตรีที่พระยะโฮวาทรงทำกับอับราฮามเริ่มมีผลบังคับ. เวลา 215 ปีแรกของ “การอยู่” นี้อยู่ในคะนาอัน และจากนั้นก็ใช้เวลาอีกเท่า ๆ กันในอียิปต์ จนกระทั่งชาติยิศราเอลเป็นอิสระอย่างสิ้นเชิงจากการควบคุมและการอยู่ใต้อำนาจของอียิปต์ในปี 1513 ก.ส.ศ.c เชิงอรรถในฉบับแปลโลกใหม่ (ภาษาอังกฤษ) ของเอ็กโซโด 12:40 แสดงว่าฉบับกรีกเซปตัวจินต์ ซึ่งอาศัยข้อความภาษาฮีบรูที่เก่าแก่กว่าข้อความของพวกมาโซเรตได้เพิ่มถ้อยคำ “และในแผ่นดินคะนาอัน” ข้างหลังคำ “อียิปต์.” เพนทาทุกของพวกซะมาเรียก็ทำคล้ายกัน. ฆะลาเตีย 3:17 ซึ่งกล่าวถึงเวลา 430 ปีเช่นกันก็ยืนยันว่าระยะเวลานี้เริ่มต้นตอนที่สัญญาไมตรีกับอับราฮามมีผลบังคับ คือในเวลาที่อับราฮามข้ามแม่น้ำยูเฟรทิสสู่คะนาอัน. ดังนั้น เวลานั้นจึงเป็นในปี 1943 ก.ส.ศ. เมื่ออับราฮามอายุได้ 75 ปี.—เย. 12:4.
10. มีหลักฐานอะไรอื่นอีกที่สนับสนุนการลำดับเวลาสมัยของอับราฮาม?
10 หลักฐานอีกทางหนึ่งที่สนับสนุนการคำนวณในข้อก่อนคือ: ที่กิจการ 7:6 มีกล่าวถึงพงศ์พันธุ์ของอับราฮามว่าถูกกดขี่ข่มเหงนาน 400 ปี. เนื่องจากพระยะโฮวาทรงยุติการกดขี่ข่มเหงโดยอียิปต์ในปี 1513 ก.ส.ศ. การข่มเหงนี้จึงคงต้องเริ่มในปี 1913 ก.ส.ศ. นั่นคือห้าปีหลังจากยิศฮาคกำเนิดและตรงกับตอนที่ยิศมาเอล “เยาะเย้ย” ยิศฮาคในคราวที่ท่านหย่านม.—เย. 15:13; 21:8, 9, ล.ม.
11. ตารางเวลาในคัมภีร์ไบเบิลนำเราย้อนไปถึงสมัยมหาอุทกภัยอย่างไร?
11 ตั้งแต่ปี 1943 ก.ส.ศ. ถึงปี 2370 ก.ส.ศ. เราพบว่าอับราฮามอายุ 75 ปีในตอนที่ท่านเข้าสู่คะนาอันในปี 1943 ก.ส.ศ. บัดนี้จึงเป็นไปได้ที่จะย้อนไปไกลขึ้นอีกในกระแสเวลา จนถึงสมัยของโนฮา. เราทำเช่นนั้นโดยอาศัยระยะเวลาที่มีบอกไว้ในเยเนซิศ 11:10 ถึง 12:4. การคำนวณนี้ ซึ่งทำให้ได้เวลารวม 427 ปี ทำดังต่อไปนี้:
ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นของ
มหาอุทกภัยถึงตอนที่อาระฟักซัดเกิด 2 ปี
แล้วก็ถึงตอนที่เซลาเกิด 35 ”
ถึงตอนที่เอเบระเกิด 30 ”
ถึงตอนที่เพเล็ฆเกิด 34 ”
ถึงตอนที่ระอูเกิด 30 ”
ถึงตอนที่ซะรูฆเกิด 32 ”
ถึงตอนที่นาโฮรเกิด 30 ”
ถึงตอนที่เธราเกิด 29 ”
ถึงตอนที่เธราตายเมื่อ
อับราฮามอายุ 75 ปี 205 ”
รวม 427 ปี
เมื่อเอา 427 ปี บวกกับ 1943 ก.ส.ศ. จึงนำเรามาถึงปี 2370 ก.ส.ศ. ดังนั้น ตารางเวลาในคัมภีร์ไบเบิลแสดงว่ามหาอุทกภัยในสมัยโนฮาเริ่มในปี 2370 ก.ส.ศ.
12. เวลาที่นับย้อนไปถึงการสร้างอาดามเป็นอย่างไร?
12 ตั้งแต่ปี 2370 ก.ส.ศ. ถึงปี 4026 ก.ส.ศ. เมื่อเรายังคงย้อนไปไกลขึ้นอีกในกระแสเวลา เราพบว่าคัมภีร์ไบเบิลบอกระยะเวลาตั้งแต่มหาอุทกภัยไปจนถึงการสร้างอาดาม. เรื่องนี้ระบุโดยอาศัยเยเนซิศ 5:3-29 และ 7:6, 11. การนับเวลาทำอย่างย่อ ๆ ดังนี้:
ตั้งแต่การสร้างอาดามถึง
ตอนที่เซธเกิด 130 ปี
แล้วจึงถึงตอนที่อะโนศเกิด 105 ”
ถึงตอนที่เคนานเกิด 90 ”
ถึงตอนที่มาฮะลาเลลเกิด 70 ”
ถึงตอนที่ยาเร็ตเกิด 65 ”
ถึงตอนที่ฮะโนคเกิด 162 ”
ถึงตอนที่มะธูเซลาเกิด 65 ”
ถึงตอนที่ลาเม็คเกิด 187 ”
ถึงตอนที่โนฮาเกิด 182 ”
ถึงมหาอุทกภัย 600 ”
รวม 1,656 ปี
เมื่อเอา 1,656 ปีบวกกับเวลาที่ได้ในวรรคก่อนคือปี 2370 ก.ส.ศ. เราจึงมาถึงปี 4026 ก.ส.ศ. ที่มีการสร้างอาดาม ซึ่งอาจเป็นฤดูใบไม้ร่วง เนื่องจากปีตามปฏิทินโบราณส่วนใหญ่เริ่มในฤดูใบไม้ร่วง.
13. (ก) ถ้าเช่นนั้น ประวัติศาสตร์มนุษยชาติบนแผ่นดินโลกนี้ยาวนานเท่าไร? (ข) เหตุใดช่วงเวลานี้จึงไม่เท่ากับความยาวของวันหยุดพักของพระยะโฮวา?
13 เรื่องนี้มีความสำคัญอย่างไรในทุกวันนี้? ฉบับพิมพ์ครั้งที่หนึ่งของหนังสือนี้ซึ่งพิมพ์ในปี 1963 กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น นั่นหมายความว่าพอถึงปี 1963 เราได้ผ่านเข้ามาใน ‘วัน’ ที่พระยะโฮวาทรง ‘หยุดพักเรื่อยมาจากการงานทั้งปวง’ ถึง 5,988 ปีแล้วอย่างนั้นหรือ? (เย. 2:3, ล.ม.) เปล่า เพราะการสร้างอาดามไม่ได้ตรงกับตอนเริ่มวันหยุดพักของพระยะโฮวา. หลังจากการสร้างอาดาม และยังอยู่ในวันที่หกแห่งการทรงสร้าง ปรากฏว่าพระยะโฮวาทรงสร้างสัตว์อื่น ๆ และสัตว์ปีก. นอกจากนั้น พระองค์ทรงให้อาดามตั้งชื่อสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งคงต้องใช้เวลาบ้าง และพระองค์จึงทรงสร้างฮาวา. (เย. 2:18-22) ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าไรระหว่างการสร้างอาดามกับตอนสิ้นสุด ‘วันที่หก’ ก็ต้องหักออกจากเวลา 5,988 ปี เพื่อจะได้ระยะเวลาจริง ๆ ตั้งแต่ตอนเริ่มต้น ‘วันที่เจ็ด’ จนถึงปี [1963]. ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะใช้การลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิลเพื่อการคาดคะเนเวลาซึ่งยังเป็นอนาคตในกระแสเวลา.—มัด. 24:36.”d
14. เหตุใดบันทึกในคัมภีร์ไบเบิลเรื่องต้นกำเนิดของมนุษยชาติจึงน่าเชื่อถือยิ่งกว่าสมมุติฐานและทฤษฎีต่าง ๆ ของมนุษย์?
14 จะว่าอย่างไรกับข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า มนุษย์อยู่บนแผ่นดินโลกเป็นเวลาหลายแสนหรือหลายล้านปีแล้ว? ไม่มีข้ออ้างสักข้อที่ยืนยันได้โดยหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากยุคต้น ๆ เหล่านั้นอย่างที่เหตุการณ์ในคัมภีร์ไบเบิลได้รับการยืนยัน. เวลานานขนาดนั้นที่บอกว่าเป็นสมัยของ “มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์” นั้นอาศัยข้อสมมุติที่ไม่อาจพิสูจน์ได้. ที่จริง ประวัติศาสตร์ของทางโลกที่เชื่อถือได้พร้อมกับการลำดับเวลาก็ย้อนหลังไปไม่กี่พันปีเท่านั้น. แผ่นดินโลกได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลายอย่าง เช่น มหาอุทกภัยทั่วโลกในสมัยโนฮา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชั้นหินและฟอสซิลที่ทับถมกันอยู่ ทำให้การแถลงใด ๆ ทางวิทยาศาสตร์อันเกี่ยวกับช่วงก่อนมหาอุทกภัยเป็นการคาดเดาอย่างมากทีเดียว.e ตรงกันข้ามกับสมมุติฐานและทฤษฎีทั้งหลายซึ่งขัดแย้งกันของมนุษย์ คัมภีร์ไบเบิลชวนให้หาเหตุผลโดยใช้บันทึกที่ชัดเจนและสอดคล้องกันเกี่ยวกับต้นกำเนิดของมนุษยชาติ และประวัติศาสตร์ของไพร่พลที่พระยะโฮวาเลือกสรรซึ่งมีการบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วน.
15. การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลควรส่งผลกระทบเราอย่างไร?
15 การศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและการใคร่ครวญเรื่องราชกิจของพระยะโฮวาพระเจ้าผู้รักษาเวลาองค์ยิ่งใหญ่น่าจะทำให้เรารู้สึกถ่อมใจให้มาก. มนุษย์ที่ตายได้ช่างกระจ้อยร่อยจริง ๆ เมื่อเทียบกับพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพทุกประการ ซึ่งการสร้างอันยิ่งใหญ่ที่ทรงทำนานมาแล้วหลายพันปีจนไม่อาจนับได้นั้นมีกล่าวไว้อย่างเรียบง่ายในพระคัมภีร์ว่า “ในตอนเริ่มต้นพระเจ้าได้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก.”—เย. 1:1, ล.ม.
ช่วงเวลาที่พระเยซูอยู่บนแผ่นดินโลก
16. (ก) กิตติคุณทั้งสี่เขียนตามลำดับเช่นไร? (ข) เราอาจระบุปีที่พระเยซูเริ่มงานรับใช้ของพระองค์อย่างไร? (ค) เหตุการณ์ในกิตติคุณแต่ละเล่มดำเนินตามลำดับอย่างไร และมีอะไรที่น่าสังเกตเกี่ยวกับบันทึกของโยฮัน?
16 บันทึกโดยการดลใจสี่เล่มเกี่ยวกับชีวิตของพระเยซูทางแผ่นดินโลกดูเหมือนเขียนไว้ตามลำดับดังนี้: มัดธาย (ป. ส.ศ. 41), ลูกา (ป. ส.ศ. 56-58), มาระโก (ป. ส.ศ. 60-65) และโยฮัน (ป. ส.ศ. 98). ดังที่อธิบายในบทก่อน โดยใช้ข้อมูลในลูกา 3:1-3 พร้อมกับปี ส.ศ. 14 สำหรับการเริ่มรัชกาลของทิเบเรียสซีซาร์ (ติเบเรียวกายะซา) เราจึงทราบว่าปี ส.ศ. 29 เป็นจุดเริ่มต้นงานรับใช้อันน่าทึ่งของพระเยซูบนแผ่นดินโลก. ถึงแม้เหตุการณ์ในพระธรรมมัดธายไม่เป็นไปตามลำดับเวลาเสมอไป แต่ในกรณีส่วนใหญ่ พระธรรมอีกสามเล่มก็ดูเหมือนให้ลำดับที่แท้จริงของเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น. เหตุการณ์เหล่านั้นได้มีการรวบรวมไว้โดยสังเขปในแผนภูมิในบทนี้. จะสังเกตเห็นว่าบันทึกของโยฮันซึ่งเขียนหลังจากบันทึกเล่มสุดท้ายของอีกสามเล่มนั้นกว่า 30 ปีได้เติมช่วงสำคัญ ๆ ที่ขาดไปในประวัติศาสตร์ซึ่งไม่มีบันทึกไว้ในสามเล่มนั้น. ที่มีคุณค่าเป็นพิเศษคือ ดูเหมือนโยฮันกล่าวถึงปัศคาสี่ครั้งในงานรับใช้ของพระเยซูทางแผ่นดินโลก ซึ่งยืนยันเรื่องงานรับใช้นานสามปีครึ่งที่สิ้นสุดลงในปี ส.ศ. 33.f—โย. 2:13; 5:1; 6:4; 12:1; และ 13:1.
17. พยานหลักฐานอื่นอะไรอีกบ้างที่สนับสนุนเรื่องวันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์?
17 การสิ้นพระชนม์ของพระเยซูในปี ส.ศ. 33 ได้รับการยืนยันเช่นกันโดยพยานหลักฐานอื่น ๆ. ตามพระบัญญัติของโมเซ วันที่ 15 เดือนไนซานเป็นวันซะบาโตพิเศษเสมอไม่ว่าวันนั้นจะเป็นวันอะไร. ถ้าวันนั้นตรงกับวันซะบาโตตามปกติ วันนั้นก็จะถือกันว่าเป็นวันซะบาโต “สำคัญ” และโยฮัน 19:31 แสดงว่าวันซะบาโตนั้นอยู่ถัดจากวันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์ วันนั้นจึงเป็นวันศุกร์. และไม่ใช่ในปี ส.ศ. 31 หรือ 32 แต่เฉพาะในปี ส.ศ. 33 เท่านั้นที่วันที่ 14 เดือนไนซานตกในวันศุกร์. ฉะนั้น วันที่พระเยซูสิ้นพระชนม์จึงต้องเป็นวันที่ 14 เดือนไนซาน ปี ส.ศ. 33.g
18. (ก) ดานิเอลพยากรณ์อะไรเกี่ยวกับ 69 “สัปดาห์”? (ข) ตามพระธรรมนะเฮมยา ช่วงเวลานี้เริ่มต้นเมื่อไร? (ค) เรามาถึงปีที่อาร์ทาเซอร์เซสเริ่มครองราชย์อย่างไร?
18 “สัปดาห์” ที่ 70 ปี ส.ศ. 29-36. ลักษณะเด่นในเรื่องเวลาแห่งงานรับใช้ของพระเยซูก็มีกล่าวถึงเช่นกันในดานิเอล 9:24-27 (ล.ม.) ซึ่งบอกล่วงหน้าถึงช่วงเวลา 69 สัปดาห์แห่งปี (483 ปี) “ตั้งแต่มีถ้อยคำออกไปให้กู้กรุงเยรูซาเลมและให้สร้างขึ้นใหม่จนถึงพระมาซีฮาผู้นำนั้น.” ตามนะเฮมยา 2:1-8 ถ้อยคำนั้นถูกประกาศออกมา “ในปีที่ยี่สิบแห่งรัชกาลกษัตริย์อะระธาสัศธา” กษัตริย์เปอร์เซีย. อาร์ทาเซอร์เซส (อะระธาสัศธา) เริ่มครองราชย์เมื่อไร? เซอร์เซสซึ่งเป็นราชบิดาของท่านและเป็นผู้ครองราชย์องค์ก่อนสิ้นชีพในตอนปลายปี 475 ก.ส.ศ. ดังนั้น ปีที่อาร์ทาเซอร์เซสขึ้นครองราชย์จึงเริ่มในปี 475 ก.ส.ศ. และเรื่องนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานที่หนักแน่นจากแหล่งข้อมูลของชาวกรีก, เปอร์เซีย และบาบูโลน. ตัวอย่างเช่น นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ทูซีดิเดส (ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องความถูกต้องแม่นยำ) เขียนเรื่องที่เทมิสโทคลีส นักการเมืองชาวกรีก หนีไปยังเปอร์เซียเมื่ออาร์ทาเซอร์เซส “ขึ้นครองบัลลังก์ได้ไม่นานนัก.” ดิโอโดรุส สิคูลุส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกอีกผู้หนึ่งในศตวรรษแรก ก.ส.ศ. ช่วยให้เราสามารถกำหนดปีที่เทมิสโทคลีสเสียชีวิตได้ว่าเป็นปี 471/470 ก.ส.ศ. หลังจากหนีออกจากประเทศของตน เทมิสโทคลีสได้ทูลขออาร์ทาเซอร์เซสให้ทรงอนุญาตให้ศึกษาภาษาเปอร์เซียเป็นเวลาหนึ่งปีก่อนเข้าเฝ้ากษัตริย์ ซึ่งก็ได้รับตามที่ขอ. ฉะนั้น ที่เทมิสโทคลีสตั้งถิ่นฐานในเปอร์เซียคงต้องไม่เกินปี 472 ก.ส.ศ. และอาจกำหนดได้อย่างสมเหตุสมผลว่า ปีที่เขามาถึงเปอร์เซียคือปี 473 ก.ส.ศ. ในเวลานั้น อาร์ทาเซอร์เซส “เพิ่งขึ้นครองบัลลังก์ได้ไม่นานนัก.”h
19. (ก) โดยนับจาก “ปีที่ยี่สิบแห่งรัชกาลกษัตริย์อะระธาสัศธา” เราระบุเวลาแห่งการปรากฏของพระมาซีฮาอย่างไร? (ข) คำพยากรณ์เรื่อง 70 “สัปดาห์” สำเร็จเป็นจริงอย่างไรตั้งแต่เวลานั้น?
19 ด้วยเหตุนั้น “ปีที่ยี่สิบแห่งรัชกาลกษัตริย์อะระธาสัศธา” จึงคงเป็นปี 455 ก.ส.ศ. โดยนับ 483 ปี (69 “สัปดาห์”) จากจุดนี้ และโดยจำไว้ว่าไม่มีปีศูนย์ในการเข้าสู่สากลศักราช เราจึงมาถึงปี ส.ศ. 29 ซึ่งเป็นปีสำหรับการปรากฏของ “พระมาซีฮาผู้นำนั้น.” พระเยซูได้กลายเป็นพระมาซีฮาเมื่อพระองค์รับบัพติสมาและถูกเจิมด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ในฤดูใบไม้ร่วงปีนั้น. คำพยากรณ์ข้อนี้ยังได้ระบุด้วยว่า “พอถึงกึ่งสัปดาห์ [ที่เจ็ดสิบ] พระองค์จะทำให้การถวายเครื่องบูชาและการถวายของหยุดไป.” สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบูชาโดยนัยของชาวยิวไม่มีผลบังคับอีกต่อไปเนื่องด้วยการที่พระเยซูทรงถวายตัวเองเป็นเครื่องบูชา. “กึ่ง” ของ “สัปดาห์” นั้นของปีนำเราไปสามปีครึ่งจนถึงฤดูใบไม้ผลิปี ส.ศ. 33 เมื่อพระเยซูถูกประหาร. อย่างไรก็ตาม “พระองค์ต้องรักษาสัญญาไมตรีสำหรับคนเป็นอันมาก” ตลอดสัปดาห์ที่ 70. ทั้งนี้แสดงว่าพระยะโฮวายังมีความโปรดปรานเป็นพิเศษต่อชาวยิวต่อไปในช่วงเจ็ดปีนับตั้งแต่ปี ส.ศ. 29 ถึง ปี ส.ศ. 36. ครั้นแล้ว โอกาสจึงเปิดให้คนต่างชาติที่ไม่ได้รับสุหนัตเข้ามาเป็นชนยิศราเอลฝ่ายวิญญาณ ดังมีแสดงให้เห็นโดยการที่โกระเนเลียวได้เปลี่ยนเข้ามาเชื่อถือในปี ส.ศ. 36.i—กิจ. 10:30-33, 44-48; 11:1.
การนับปีต่าง ๆ ในสมัยอัครสาวก
20. เป็นไปอย่างไรที่ประวัติศาสตร์ทางโลกกับบันทึกของคัมภีร์ไบเบิลร่วมกันระบุเวลาที่เฮโรดสิ้นชีวิตและเหตุการณ์ต่าง ๆ ก่อนหน้านั้น?
20 ระหว่างปี ส.ศ. 33 ถึงปี ส.ศ. 49. คงเป็นที่ยอมรับว่าปี ส.ศ. 44 เป็นปีที่มีประโยชน์สำหรับช่วงเวลานี้. ดังที่โยเซฟุสกล่าว (ยุคโบราณของชาวยิว [ภาษาอังกฤษ] เล่ม 19 หน้า 351 [viii, 2]) เฮโรด อะฆะริปาที่ 1 ครองราชย์เป็นเวลาสามปีหลังจากจักรพรรดิเคลาดิอุสแห่งโรมขึ้นครองราชย์ (ในปี ส.ศ. 41). หลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งว่าเฮโรดผู้นี้สิ้นชีพในปี ส.ศ. 44.j ตอนนี้เมื่อดูจากบันทึกในคัมภีร์ไบเบิล เราพบว่าเป็นช่วงก่อนการสิ้นชีพของเฮโรดไม่นานที่อะฆะโบพยากรณ์ “โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์” เกี่ยวกับการกันดารอาหารครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้น, ที่อัครสาวกยาโกโบถูกฆ่าด้วยดาบ, และที่เปโตรถูกจำคุก (ในคราวปัศคา) และถูกปล่อยอย่างอัศจรรย์. อาจระบุเวลาได้ว่าเหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดในปี ส.ศ. 44.—กิจ. 11:27, 28; 12:1-11, 20-23.
21. เราสามารถระบุเวลาโดยประมาณของการเดินทางเผยแพร่ในต่างประเทศครั้งแรกของเปาโลโดยอาศัยอะไร?
21 การกันดารอาหารซึ่งบอกไว้ล่วงหน้านั้นเกิดขึ้นประมาณปี ส.ศ. 46. ดังนั้น คงต้องเป็นประมาณเวลานี้เองที่เปาโลกับบาระนาบา “ได้ทำภารกิจที่รับมอบหมายสำเร็จแล้ว จึงจากกรุงเยรูซาเล็มกลับไป.” (กิจ. 12:25, ฉบับแปลใหม่) หลังจากกลับไปที่อันติโอเกียในซีเรียแล้ว ท่านทั้งสองถูกแต่งตั้งไว้เฉพาะโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้เดินทางเผยแพร่ในต่างประเทศครั้งแรก ซึ่งครอบคลุมไซปรัส (กุบโร) กับอีกหลายเมืองและหลายเขตในเอเชียไมเนอร์.k งานนี้คงกินเวลาตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปี ส.ศ. 47 จนถึงฤดูใบไม้ร่วงปี ส.ศ. 48 คือมีหนึ่งช่วงฤดูหนาวที่ใช้ในเอเชียไมเนอร์. ดูเหมือนเปาโลได้ใช้เวลาช่วงฤดูหนาวในปีถัดมากลับไปอันติโอเกียในซีเรีย และทั้งนี้จึงนำเรามาถึงฤดูใบไม้ผลิปี ส.ศ. 49.—กิจ. 13:1–14:28.
22. อาจระบุเวลาที่เปาโลไปเยี่ยมที่ยะรูซาเลมสองครั้งดังที่กล่าวไว้ในฆะลาเตียบท 1 และ 2 นั้นอย่างไร?
22 บันทึกในพระธรรมฆะลาเตียบท 1 และ 2 ดูเหมือนผูกโยงกับลำดับเวลาส่วนนี้. ที่นี่เปาโลกล่าวถึงการไปเยี่ยมที่ยะรูซาเลมเป็นพิเศษอีกสองครั้งหลังจากท่านเปลี่ยนเข้ามาเชื่อถือ ครั้งหนึ่งคือเมื่อ “ล่วงไปสามปีแล้ว” และอีกครั้งหนึ่งเมื่อ “ภายหลังล่วงไปได้สิบสี่ปี.” (ฆลา. 1:17, 18; 2:1) ถ้าถือว่าช่วงเวลาทั้งสองนี้เป็นเลขเชิงอันดับที่ ตามธรรมเนียมการนับเวลาในสมัยนั้น และถ้าตอนที่เปาโลเปลี่ยนเข้ามาเชื่อนั้นเป็นช่วงต้น ๆ ในสมัยของอัครสาวกดังที่บันทึกนั้นดูเหมือนบ่งชี้ เราก็อาจคำนวณได้ว่าช่วง 3 ปีกับช่วง 14 ปีนั้นเป็นช่วงต่อเนื่องกันคือปี ส.ศ. 34-36 และปี ส.ศ. 36-49.
23. หลักฐานอะไรชี้ว่าทั้งฆะลาเตียบท 2 และกิจการบท 15 ต่างก็กล่าวถึงการเยี่ยมของเปาโลที่ยะรูซาเลมในปี ส.ศ. 49?
23 การเยี่ยมที่ยะรูซาเลมครั้งที่สองของเปาโลซึ่งมีกล่าวถึงในพระธรรมฆะลาเตียนั้นดูเหมือนมีความเกี่ยวพันกับประเด็นการรับสุหนัต เพราะมีการกล่าวถึงติโตซึ่งร่วมทางไปกับเปาโลว่าไม่ถูกเรียกร้องให้รับสุหนัต. หากเรื่องนี้ตรงกับการเยี่ยมเพื่อรับเอาข้อตัดสินชี้ขาดเรื่องการรับสุหนัตดังที่อธิบายไว้ในกิจการ 15:1-35 ปี ส.ศ. 49 ก็จะอยู่ระหว่างการเดินทางเผยแพร่ของเปาโลในต่างประเทศรอบแรกและรอบที่สองพอดี. นอกจากนั้น ตามฆะลาเตีย 2:1-10 (ฉบับแปลใหม่) เปาโลใช้โอกาสนี้เพื่อเล่าเรื่องข่าวดีที่ท่านประกาศอยู่ให้ “คนสำคัญ” ในประชาคมที่ยะรูซาเลมฟัง ‘เพราะเกรงว่าท่านวิ่งโดยไร้ประโยชน์.’ ท่านคงทำสิ่งนี้อย่างสมเหตุสมผลเมื่อรายงานแก่พวกเขาหลังจากการเดินทางเผยแพร่ในต่างประเทศรอบแรกของท่าน. เปาโลเยี่ยมที่ยะรูซาเลมคราวนี้ “ตามที่พระเจ้าได้ทรงสำแดง.”
24. ในช่วงปีใดที่เปาโลเดินทางเผยแพร่ในต่างประเทศรอบที่สอง และทำไมจึงไม่มีข้อสงสัยว่าท่านไม่ได้ไปถึงโกรินโธจนกระทั่งปลายปี ส.ศ. 50?
24 การเดินทางเผยแพร่ในต่างประเทศรอบที่สองของเปาโล ประมาณปี ส.ศ. 49-52. ภายหลังกลับจากยะรูซาเลม เปาโลใช้เวลาอยู่ที่อันติโอเกียในซีเรีย; ฉะนั้น คงต้องเป็นในช่วงฤดูร้อนปี ส.ศ. 49 ที่ท่านออกจากที่นั่นไปเดินทางรอบที่สอง. (กิจ. 15:35, 36) การเดินทางรอบนี้ไปไกลกว่ารอบแรกมากและคงทำให้ท่านต้องอยู่ในเอเชียไมเนอร์ในฤดูหนาว. คงจะเป็นในฤดูใบไม้ผลิปี ส.ศ. 50 ที่ท่านตอบรับเสียงเรียกของชาวมาซิโดเนีย (มากะโดเนีย) และเดินทางข้ามไปยุโรป. จากนั้นท่านจึงประกาศสั่งสอนและจัดตั้งประชาคมใหม่ขึ้นในฟิลิปปอย, เธซะโลนิเก, เบรอยะ, และเอเธนส์. การเดินทางรอบนี้คงนำท่านไปยังเมืองโกรินโธในแคว้นอะฆายะในฤดูใบไม้ร่วงปี ส.ศ. 50 หลังจากได้เดินทางไกลราว 2,090 กิโลเมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเดินไป. (กิจ. 16:9, 11, 12; 17:1, 2, 10, 11, 15, 16; 18:1) ตามกิจการ 18:11 เปาโลอยู่ที่นั่น 18 เดือน ซึ่งนำเรามาถึงต้นปี ส.ศ. 52. พอสิ้นฤดูหนาว เปาโลจึงสามารถลงเรือไปซีซาเรีย (กายซาไรอา) โดยผ่านเมืองเอเฟโซ. หลังจากไปเยี่ยมทักทายประชาคมซึ่งดูเหมือนอยู่ในยะรูซาเลม ท่านจึงกลับถึงฐานปฏิบัติการของท่านที่อันติออก(อันติโอเกีย) ในซีเรีย คงเป็นในฤดูร้อนปี ส.ศ. 52.l—กิจ. 18:12-22.
25. (ก) โบราณคดีสนับสนุนอย่างไรว่าปี ส.ศ. 50-52 เป็นปีที่เปาโลไปเยี่ยมโกรินโธเป็นครั้งแรก? (ข) ข้อเท็จจริงที่ว่าอะกุลาและปริศกิลา “พึ่งมาจากประเทศอิตาลี” ยืนยันเรื่องนี้อย่างไร?
25 การค้นพบทางโบราณคดีสนับสนุนว่าปี ส.ศ. 50-52 เป็นปีที่เปาโลไปเยี่ยมโกรินโธเป็นครั้งแรก. นี่เป็นชิ้นส่วนหนึ่งของข้อความจารึก เป็นราชหัตถเลขาจากจักรพรรดิเคลาดิอุสซีซาร์ (เกลาดิโอกายะซา) ถึงพวกเดลไฟแห่งกรีซ ซึ่งมีข้อความว่า “[ลูซิอุส จู] นิอุส, กัลลิโอ, . . . ผู้สำเร็จราชการ.” โดยทั่วไป นักประวัติศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่าเลข 26 ซึ่งพบในข้อความนี้ด้วยนั้นพาดพิงถึงการที่เคลาดิอุสเคยได้รับการสนับสนุนให้เป็นจักรพรรดิเป็นครั้งที่ 26. ข้อความจารึกอื่น ๆ แสดงว่าเคลาดิอุสได้รับการสนับสนุนให้เป็นจักรพรรดิเป็นครั้งที่ 27 ก่อนวันที่ 1 สิงหาคม ปี ส.ศ. 52. ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการนั้นนานหนึ่งปีโดยเริ่มตั้งแต่ต้นฤดูร้อน. ดังนั้น ปีที่กัลลิโอ (ฆาลิโอน) เป็นผู้สำเร็จราชการแคว้นอะฆายะดูเหมือนเริ่มตั้งแต่ฤดูร้อนปี ส.ศ. 51 ถึงฤดูร้อนปี ส.ศ. 52. “คราวเมื่อกัลลิโอเป็นผู้สำเร็จราชการแคว้นอาคายา พวกยิวได้ฮือกันขึ้นต่อสู้เปาโล และพาท่านไปศาล.” หลังจากกัลลิโอปล่อยตัวเปาโล ท่านอัครสาวกจึงพักอยู่ “อีกหลายวัน” แล้วท่านจึงลงเรือไปซีเรีย. (กิจ. 18:11, 12, 17, 18, ฉบับแปลใหม่) ทั้งหมดนี้ดูเหมือนยืนยันว่าฤดูใบไม้ผลิในปี ส.ศ. 52 เป็นตอนสิ้นสุดระยะเวลา 18 เดือนที่เปาโลพักอยู่ในโกรินโธ. สิ่งที่ระบุเวลาอีกอย่างหนึ่งพบในคำกล่าวที่ว่า ตอนที่ไปถึงโกรินโธ เปาโล “ได้พบคนชาติยูดายคนหนึ่งที่นั่นชื่ออะกุลา, ซึ่งได้เกิดในเมืองปนโต, แต่พึ่งมาจากประเทศอิตาลีกับภรรยาชื่อปริศกิลา, เพราะกษัตริย์เกลาดิโอมีรับสั่งให้ชาติยูดายทั้งปวงออกไปจากเมืองโรม.” (กิจ. 18:2) ตามที่เพาลุส โอโรซิอุส นักประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่สมัยต้นศตวรรษที่ห้ากล่าว คำสั่งเนรเทศนั้นออกมาในปีที่เก้าแห่งรัชกาลของเคลาดิอุส นั่นคือในปี ส.ศ. 49 หรือต้นปี ส.ศ. 50. ดังนั้น อะกุลากับปริศกิลาคงมาถึงเมืองโกรินโธระยะหนึ่งแล้วก่อนถึงฤดูใบไม้ร่วงปีนั้น ซึ่งเปิดโอกาสให้เปาโลอยู่ที่นั่นตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี ส.ศ. 50 จนถึงฤดูใบไม้ผลิปี ส.ศ. 52.a
26. ช่วงต่าง ๆ แห่งการเดินทางเผยแพร่ในต่างประเทศรอบที่สามของเปาโลเกิดขึ้นในเวลาใดบ้าง?
26 การเดินทางเผยแพร่ในต่างประเทศรอบที่สามของเปาโล ประมาณปี ส.ศ. 52-56. หลังจากช่วงที่อยู่ที่อันติโอเกียในซีเรีย “หน่อยหนึ่ง” เปาโลจึงเดินทางไปเอเชียไมเนอร์อีกครั้ง และดูเหมือนว่าท่านมาถึงเอเฟโซในฤดูหนาวปี ส.ศ. 52-53. (กิจ. 18:23; 19:1) เปาโลใช้เวลา “สามเดือน” แล้วก็ “สองปี” สอนในเอเฟโซ แล้วหลังจากนั้นท่านจึงออกเดินทางไปมาซิโดเนีย. (กิจ. 19:8-10) ต่อมา ท่านเตือนพวกผู้ดูแลจากเอเฟโซให้ระลึกว่าท่านได้รับใช้ในท่ามกลางพวกเขา “ตลอดสามปี” แต่นี่คงเป็นตัวเลขโดยประมาณ. (กิจ. 20:31) ปรากฏว่าเปาโลจากเอเฟโซไปหลังจาก “เทศกาลเพนเตคอสเต” ตอนต้นปี ส.ศ. 55 แล้วเดินทางโดยตลอดจนถึงโกรินโธ ประเทศกรีซ ทันใช้เวลาช่วงฤดูหนาวอยู่ที่นั่นสามเดือน. แล้วท่านจึงกลับไปทางเหนือจนถึงฟิลิปปอยตอนปัศคาปี ส.ศ. 56. จากที่นั่น ท่านลงเรือผ่านโตรอากับมีเลโตไปที่ซีซาเรียแล้วเดินทางต่อไปยังยะรูซาเลม ถึงที่นั่นในวันเพนเตคอสเตปี ส.ศ. 56.b—1 โก. 16:5-8; กิจ. 20:1-3, 6, 15, 16; 21:8, 15-17.
27. ลำดับเวลาของเหตุการณ์ต่าง ๆ จนถึงตอนสิ้นสุดของการที่เปาโลถูกคุมขังครั้งแรกที่กรุงโรมเป็นอย่างไร?
27 ช่วงหลัง คือปี ส.ศ. 56-100. เปาโลถูกจับไม่นานหลังจากไปถึงยะรูซาเลม. ท่านถูกนำตัวไปซีซาเรียและถูกคุมขังที่นั่นสองปี จนกระทั่งเฟสตุส (เฟศโต) มาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนเฟลิกซ์. (กิจ. 21:33; 23:23-35; 24:27) ปีที่เฟสตุสมาถึงและปีที่เปาโลออกเดินทางไปโรมในครั้งถัดไปดูเหมือนเป็นปี ส.ศ. 58.c หลังจากเรือแตกและเปาโลอยู่ที่มอลตา (เมลีเต) ในช่วงฤดูหนาว การเดินทางก็สิ้นสุดลงประมาณปี ส.ศ. 59 และบันทึกเรื่องราวแสดงว่า เปาโลยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในโรม ประกาศและสอนเป็นเวลาสองปี หรือจนถึงประมาณปี ส.ศ. 61.—กิจ. 27:1; 28:1, 11, 16, 30, 31.
28. อาจระบุอย่างสมเหตุสมผลว่าเหตุการณ์ช่วงท้ายในชีวิตของเปาโลเกิดขึ้นในเวลาใดบ้าง?
28 แม้บันทึกทางประวัติศาสตร์ในพระธรรมกิจการไม่บอกอะไรเรามากกว่านี้ ข้อบ่งชี้ต่าง ๆ คือว่า เปาโลถูกปล่อยตัวและทำงานเผยแพร่ในต่างประเทศต่อไป โดยเดินทางไปเกาะครีต (เกรเต), กรีซ, และมาซิโดเนีย. ท่านได้ไปถึงสเปนหรือไม่นั้นไม่เป็นที่ทราบกัน. อาจเป็นได้ว่าเปาโลพลีชีพเพื่อความเชื่อด้วยน้ำมือของเนโรไม่นานหลังจากที่ท่านถูกคุมขังครั้งสุดท้ายที่โรมประมาณปี ส.ศ. 65. นักประวัติศาสตร์ทางโลกบอกว่าเดือนกรกฎาคมปี ส.ศ. 64 เป็นเวลาที่เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในกรุงโรม ตามด้วยการกดขี่ข่มเหงที่เนโรทำกับชนคริสเตียนอย่างฉับพลัน. การที่เปาโลถูกคุมขังล่าม “โซ่” และถูกประหารในภายหลังจึงตรงกับช่วงเวลานี้อย่างสมเหตุสมผล.—2 ติโม. 1:16; 4:6, 7, ล.ม.
29. ยุคของเหล่าอัครสาวกสิ้นสุดเมื่อไร และพร้อมกับการเขียนพระธรรมเล่มใดบ้าง?
29 พระธรรมห้าเล่มที่เรียบเรียงโดยอัครสาวกโยฮันเขียนในตอนปลาย ๆ ของระยะเวลาแห่งการกดขี่ข่มเหงที่จักรพรรดิโดมิเทียนก่อขึ้น. กล่าวกันว่าจักรพรรดิองค์นี้ได้ลงมือราวกับคนบ้าในช่วงสามปีสุดท้ายแห่งรัชกาลของเขา ซึ่งครอบคลุมปี ส.ศ. 81-96. ขณะถูกเนรเทศให้อยู่ที่เกาะปัตโมสนั่นเองที่โยฮันเขียนพระธรรมวิวรณ์ คือประมาณปี ส.ศ. 96.d ท่านเขียนกิตติคุณและจดหมายสามฉบับของท่านจากเอเฟโซหรือบริเวณใกล้เคียงหลังจากท่านถูกปล่อยตัว และอัครสาวกคนสุดท้ายผู้นี้สิ้นชีวิตประมาณปี ส.ศ. 100.
30. การศึกษาเกี่ยวกับการลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิลให้ประโยชน์อย่างไร?
30 ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า โดยการเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ทางโลกกับการลำดับเวลาและคำพยากรณ์ในคัมภีร์ไบเบิล เราจึงได้รับการช่วยให้กำหนดเวลาที่เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นในกระแสเวลาได้ชัดเจนมากขึ้น. ความสอดคล้องลงรอยของการลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิลทำให้เรามั่นใจยิ่งขึ้นว่า พระคัมภีร์บริสุทธิ์เป็นพระคำของพระเจ้า.
[เชิงอรรถ]
a ในการศึกษาบทเรียนนี้ อาจเป็นประโยชน์ถ้าค้นดูจากหนังสือการหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 1 หน้า 458-467.
b บทเรียนที่ 2, วรรค 28, 29.
c ตั้งแต่อับราฮามข้ามแม่น้ำยูเฟรทิสถึงตอนที่ยิศฮาคเกิดเป็นเวลา 25 ปี; แล้วจากนั้นถึงยาโคบเกิดเป็นเวลา 60 ปี; ยาโคบอายุได้ 130 ปีตอนท่านไปยังอียิปต์.—เย. 12:4; 21:5; 25:26; 47:9.
d ในปี 2000 ระยะเวลานี้ต้องหักออกจาก 6,025 ปี.
e อะเวก! ฉบับ 22 กันยายน 1986 หน้า 17-27; ฉบับ 8 เมษายน 1972 หน้า 5-20.
f การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 57-58.
g เดอะ ว็อชเทาเวอร์ 1976 หน้า 247; 1959 หน้า 489-492.
h การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 614-616.
i การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 899-904.
j สารานุกรมบริแทนนิกาฉบับใหม่ 1987 เล่ม 5 หน้า 880.
k การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 747.
l การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 747.
a การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 1 หน้า 476, 886.
b การหยั่งเห็นเข้าใจพระคัมภีร์ (ภาษาอังกฤษ) เล่ม 2 หน้า 747.
c ปทานุกรมวิเคราะห์ศัพท์คัมภีร์ไบเบิล (ภาษาอังกฤษ) ของยัง หน้า 342 ใต้เรื่อง “เฟสตุส.”
d ข้อสังเกตเกี่ยวกับพระธรรมวิวรณ์ (ภาษาอังกฤษ) 1852 โดยอัลเบิร์ต บานส์ หน้า 29, 30.
เหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซูบนแผ่นดินโลกกิตติคุณทั้งสี่จัดตามลำดับเวลา
เครื่องหมาย: ล. สำหรับ “หลัง”; ป. สำหรับ “ประมาณ.”
เวลา สถานที่ เหตุการณ์
ก่อนงานรับใช้ของพระเยซู
ปี 3 ก.ส.ศ. ยะรูซาเลม, การบอกล่วงหน้าเรื่องการเกิดของ
พระวิหาร โยฮันผู้ให้บัพติสมาแก่ซะคาเรีย
ป. ปี 2 ก.ส.ศ. นาซาเร็ธ; การบอกล่วงหน้าเรื่องการประสูติของ
ยูเดีย พระเยซูแก่นางมาเรียผู้ซึ่งไปเยี่ยมเอลิซาเบท
ปี 2 ก.ส.ศ. แถบเขาใน การเกิดของโยฮันผู้ให้บัพติสมา; ต่อมา
ยูเดีย ชีวิตของท่านในถิ่นทุรกันดาร
ปี 2 ก.ส.ศ. เบธเลเฮม การประสูติของพระเยซู (พระวาทะ
ป. 1 ตุลาคม ซึ่งโดยทางพระองค์สิ่งอื่นทั้งปวง
จึงเกิดขึ้น) ในฐานะผู้เป็นเชื้อสายของ
อับราฮามและดาวิด มัด. 1:1-25
เบธเลเฮม; พระเยซูรับสุหนัต (วันที่ 8),
ยะรูซาเลม ถูกถวายที่พระวิหาร (วันที่ 40)
ปี 1 ก.ส.ศ. ยะรูซาเลม; พวกโหร; หนีไปอียิปต์;
หรือ 1 ส.ศ. เบธเลเฮม; ทารกถูกฆ่า; พระเยซูกลับมา
นาซาเร็ธ มัด. 2:1-23 ลูกา 2:39, 40
ปี 12 ส.ศ. ยะรูซาเลม พระเยซูวัยสิบสองพรรษา ณ การฉลอง
เทศกาลปัศคา; กลับบ้าน ลูกา 2:41-52
ฤดูใบไม้ผลิ ถิ่นทุรกันดาร, งานรับใช้ของโยฮันผู้ให้บัพติสมา
ปี 29 จอร์แดน มัด. 3:1-12 มโก. 1:1-8
การเริ่มต้นงานรับใช้ของพระเยซู
ฤดูใบไม้ แม่น้ำจอร์แดน การรับบัพติสมาและการเจิมพระเยซู
ร่วง ปี 29 ซึ่งประสูติเป็นมนุษย์ในวงศ์ของดาวิด
แต่ได้รับการประกาศว่าเป็นพระบุตร
ของพระเจ้า มัด. 3:13-17 มโก. 1:9-11
บ้านเบธาเนีย โยฮันผู้ให้บัพติสมาเป็น
บนฝั่งแม่น้ำจอร์แดน พยานถึงพระเยซู
หุบเขาจอร์แดน สาวกกลุ่มแรกของพระเยซู
ทางเหนือ โย. 1:35-51
บ้านคานา การอัศจรรย์ครั้งแรกของพระเยซู;
แคว้นแกลิลี; พระองค์เสด็จเยือนกัปเรนาอูม
กัปเรนาอูม โย. 2:1-12
ยะรูซาเลม พระเยซูทรงสนทนากับนิโกเดโม
ยูเดีย; สาวกของพระเยซูให้บัพติสมา;
อายโนน โยฮันลดน้อยลง โย. 3:22-36
ติเบเรีย โยฮันถูกจำคุก; พระเยซูเสด็จ
ไปแกลิลี มัด. 4:12; 14:3-5
งานรับใช้อันยิ่งใหญ่ของพระเยซูในแกลิลี
แกลิลี ประกาศครั้งแรกว่า “ราชอาณาจักร
ฝ่ายสวรรค์มาใกล้แล้ว”
นาซาเร็ธ; รักษาเด็กชาย; อ่านเรื่องงานมอบ
คานา; หมาย; ถูกปฏิเสธ; ไปกัปเรนาอูม
กัปเรนาอูม มัด. 4:13-16 ลูกา 4:16-31
ทะเลแกลิลี ทรงเรียกซีโมนกับอันดะเรอา
ใกล้กัปเรนาอูม ยาโกโบกับโยฮัน มัด. 4:18-22
แกลิลี การเดินทางไปทั่วแกลิลีครั้งแรกกับสาวกสี่คน
ที่ทรงเรียกในช่วงนั้น มัด. 4:23-25
แกลิลี รักษาคนโรคเรื้อน; ฝูงชนมากมาย
หลั่งไหลมาหาพระเยซู มัด. 8:1-4
กัปเรนาอูม รักษาคนง่อย มัด. 9:1-8
กัปเรนาอูม ทรงเรียกมัดธาย; รับประทานอาหาร
กับพวกคนเก็บภาษี มัด. 9:9-17
ยูเดีย ประกาศในธรรมศาลา
ที่ยูเดีย ลูกา 4:44
ปัศคา ยะรูซาเลม ร่วมงานเลี้ยง; รักษาชายคนหนึ่ง;
ปี 31 ตำหนิพวกฟาริซาย โย. 5:1-47
แกลิลี; รักษาคนมือลีบในวันซะบาโต; ไปที่
ทะเลแกลิลี ชายฝั่งทะเล; รักษาโรค มัด. 12:9-21
ภูเขาใกล้ เลือก 12 คนเป็นอัครสาวก
กัปเรนาอูม มโก. 3:13-19 ลูกา 6:12-16
ใกล้กัปเรนาอูม คำเทศน์บนภูเขา
กัปเรนาอูม รักษาคนรับใช้ของนายทหาร
นาอิน ปลุกลูกชายหญิงม่ายให้เป็นขึ้นจากตาย ลูกา 7:11-17
แกลิลี โยฮันซึ่งติดคุกส่งศิษย์ไปหาพระเยซู
แกลิลี การเดินทางประกาศในแกลิลีรอบที่สอง
กับอัครสาวก 12 คน ลูกา 8:1-3
แกลิลี รักษาคนถูกผีสิง; ถูกกล่าวหาว่า
เป็นพวกเดียวกับเบละซาบูล
แกลิลี พวกอาลักษณ์และฟาริซายแสวงหา
หมายสำคัญ มัด. 12:38-45
ทะเลแกลิลี อุทาหรณ์: ผู้หว่านเมล็ดพืช, ข้าวละมาน,
และอื่น ๆ; คำอธิบาย มัด. 13:1-53
ฆะดาราทาง รักษาคนถูกผีสิงสองคน; ฝูงสุกรถูกผีสิง
ตะวันออกเฉียงใต้ มัด. 8:28-34 มโก. 5:1-20
ของทะเลแกลิลี ลูกา 8:26-39
น่าจะเป็นที่ ลูกสาวญายโรถูกปลุกให้เป็นขึ้นจากตาย;
กัปเรนาอูม หญิงคนหนึ่งได้รับการรักษา มัด. 9:18-26
กัปเรนาอูม (?) รักษาคนตาบอดสองคนและชายถูก
ผีสิงพูดไม่ได้ มัด. 9:27-34
แกลิลี การเดินทางทั่วแกลิลีครั้งที่สามขยาย
งานประกาศโดยส่งพวกอัครสาวกออกไป
ติเบเรีย โยฮันผู้ให้บัพติสมาถูกตัดศีรษะ;
เฮโรดกลัวความผิด มัด. 14:1-12
ปี 32 กัปเรนาอูม (?); พวกอัครสาวกกลับจากเดินทาง
ใกล้ ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ประกาศ; การเลี้ยงอาหารคน 5,000 คน
ถึงปัศคา ของทะเลแกลิลี มัด. 14:13-21 มโก. 6:30-44
ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ความพยายามจะตั้งพระเยซูเป็นกษัตริย์;
ของทะเลแกลิลี; พระเยซูทรงเดินบนทะเล; รักษาคนป่วย
เฆ็นเนซาเร็ต มัด. 14:22-36 มโก. 6:45-56 โย. 6:14-21
กัปเรนาอูม ระบุ “อาหารที่ให้ชีวิต”; สาวกหลายคน
เลิกติดตาม โย. 6:22-71
ปี 32 น่าจะเป็นที่ ประเพณีที่ทำให้พระคำของพระเจ้าไม่มีผล
หลังปัศคา กัปเรนาอูม มัด. 15:1-20 มโก. 7:1-23 โย. 7:1
ฟอยนิเก ใกล้ตุโร, ซีโดน; แล้วก็ไปเดคาโปลีส์;
(ฟินิเซีย); เลี้ยงอาหารคน 4,000 คน
เดคาโปลีส์ มัด. 15:21-38 มโก. 7:24–8:9
มัฆดาลา พวกซาดูกายกับพวกฟาริซายขอหมายสำคัญอีก
ฝั่งตะวันออก เตือนให้ระวังเชื้อของพวกฟาริซาย;
เฉียงเหนือของทะเล รักษาคนตาบอด
แกลิลี; เบธซายะดา มัด. 16:5-12 มโก. 8:13-26
ซีซาเรีย พระเยซู พระมาซีฮา; ทรงบอก
ฟิลิปปี ล่วงหน้าถึงการสิ้นพระชนม์
การคืนพระชนม์ มัด. 16:13-28
น่าจะเป็นที่ การจำแลงพระกายต่อหน้าเปโตร,
ภูเขาเฮอร์มอน ยาโกโบ, และโยฮัน
ซีซาเรีย รักษาคนถูกผีสิงที่
ฟิลิปปี พวกสาวกไม่อาจรักษาได้
แกลิลี บอกล่วงหน้าอีกครั้งถึงเรื่องการสิ้นพระชนม์
และการคืนพระชนม์ของพระองค์ มัด. 17:22, 23
กัปเรนาอูม ทำให้มีเงินภาษีด้วยการอัศจรรย์
กัปเรนาอูม ผู้ที่ใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักร; การจัดการ
กับข้อผิดพลาด; ความเมตตา มัด. 18:1-35
แกลิลี; ออกจากแกลิลีไปฉลองเทศกาล
ซะมาเรีย ตั้งทับอาศัย; จัดทุกสิ่งไว้สำหรับ
งานรับใช้ มัด. 8:19-22
งานรับใช้ของพระเยซูช่วงต่อมาในยูเดีย
ปี 32 เทศกาล ยะรูซาเลม การสอนอย่างเปิดเผยของพระเยซู
ตั้งทับอาศัย ณ งานฉลองเทศกาลตั้งทับอาศัย โย. 7:11-52
ยะรูซาเลม การสอนหลังเทศกาล; รักษา
คนตาบอด โย. 8:12–9:41
น่าจะเป็นที่ ส่งสาวก 70 คนไปประกาศ; พวกเขา
ยูเดีย กลับมารายงาน ลูกา 10:1-24
ยูเดีย; เล่าเรื่องชาวซะมาเรียใจดี; ที่บ้าน
เบธาเนีย มาธากับมาเรีย ลูกา 10:25-42
น่าจะเป็นที่ หักล้างข้อกล่าวหาผิด ๆ; แสดงให้
ยูเดีย เห็นคนชั่วอายุที่น่าตำหนิ
น่าจะเป็นที่ ที่โต๊ะอาหารของชาวฟาริซาย พระเยซูทรง
ยูเดีย กล่าวโทษพวกหน้าซื่อใจคด ลูกา 11:37-54
น่าจะเป็นที่ บรรยายเรื่องความใฝ่พระทัยของพระเจ้า;
ยูเดีย คนต้นเรือนที่ซื่อสัตย์ ลูกา 12:1-59
ปี 32 ยะรูซาเลม พระเยซูอยู่ที่งานฉลองการอุทิศ;
งานฉลอง ผู้เลี้ยงแกะที่ดี
การอุทิศ โย. 10:1-39
งานรับใช้ของพระเยซูช่วงต่อมาทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดน
ห่างจากแม่น้ำ หลายคนเชื่อในพระเยซู
จอร์แดนออกไป โย. 10:40-42
พีเรีย (ห่างจากแม่น้ำ ทรงสอนในเมือง, หมู่บ้านต่าง ๆ,
จอร์แดนออกไป) ไปยังยะรูซาเลม ลูกา 13:22
น่าจะเป็นที่พีเรีย ความถ่อมใจ; อุทาหรณ์เรื่องการเลี้ยง
อาหารมื้อเย็นครั้งใหญ่ ลูกา 14:1-24
น่าจะเป็นที่พีเรีย การประเมินค่าของการเป็นสาวก
น่าจะเป็นที่พีเรีย อุทาหรณ์: แกะที่หายไป; เงินเหรียญที่
หายไป; บุตรสุรุ่ยสุร่าย ลูกา 15:1-32
น่าจะเป็นที่พีเรีย อุทาหรณ์: คนต้นเรือนอธรรม,
ชายเศรษฐีและลาซะโร ลูกา 16:1-31
เบธาเนีย พระเยซูทรงปลุกลาซะโรให้เป็นขึ้น
จากบรรดาคนตาย โย. 11:1-46
ยะรูซาเลม; เอฟรายิม กายะฟาแนะให้ต่อต้านพระเยซู;
พระเยซูเสด็จไปจากที่นั่น โย. 11:47-54
ซะมาเรียหรือแกลิลี อุทาหรณ์: แม่ม่ายที่วิงวอนไม่
หยุดหย่อน, ชาวฟาริซายกับ
คนเก็บภาษี ลูกา 18:1-14
น่าจะเป็นที่พีเรีย พระเยซูทรงบอกล่วงหน้าเรื่องการสิ้น
พระชนม์และการคืนพระชนม์ของพระองค์
เป็นครั้งที่สาม มัด. 20:17-19
น่าจะเป็นที่พีเรีย การขอตำแหน่งในราชอาณาจักร
ให้ยาโกโบกับโยฮัน
ยะริโฮ ขณะผ่านเมืองยะริโฮ พระองค์ทรง
รักษาชายตาบอดสองคน; เยี่ยมซักคาย;
อุทาหรณ์เรื่องเงินสิบมินา
งานรับใช้ของพระเยซูช่วงสุดท้ายที่ยะรูซาเลม
8 ไนซาน เบธาเนีย มาถึงบ้านเบธาเนียก่อนถึงปัศคาหกวัน
ปี 33 โย. 11:55–12:1
9 ไนซาน เบธาเนีย รับประทานอาหารที่บ้านซีโมน
คนโรคเรื้อน; มาเรียเอาน้ำมันหอม
ชโลมพระเยซู; พวกยิวมาดูพระเยซู
กับลาซะโร มัด. 26:6-13
เบธาเนีย- พระคริสต์เสด็จเข้าสู่ยะรูซาเลม
ยะรูซาเลม อย่างผู้มีชัย มัด. 21:1-11, 14-17
10 ไนซาน เบธาเนีย– สาปต้นมะเดื่อเทศที่ไม่เกิดผล;
ยะรูซาเลม การชำระพระวิหารครั้งที่สอง
ยะรูซาเลม การสนทนากับชาวกรีก;
พวกยิวไม่เชื่อ โย. 12:20-50
11 ไนซาน เบธาเนีย ต้นมะเดื่อเทศที่ไม่เกิดผลเหี่ยวเฉาไป
–ยะรูซาเลม มัด. 21:19-22 มโก. 11:20-25
ยะรูซาเลม, พระวิหาร อำนาจของพระคริสต์ถูกสงสัย;
อุทาหรณ์เรื่องบุตรชายสองคน
ยะรูซาเลม, พระวิหาร อุทาหรณ์เรื่องผู้เช่าสวนชั่วร้าย,
เรื่องงานเลี้ยงสมรส มัด. 21:33–22:14
ยะรูซาเลม, พระวิหาร คำถามเพื่อจับผิดเรื่องภาษี, การกลับเป็น
ขึ้นจากตาย, พระบัญญัติ มัด. 22:15-40
ยะรูซาเลม, พระวิหาร พระเยซูทรงทำให้คนที่ถามเรื่อง
เชื้อสายของพระมาซีฮาเงียบเสียงไป
ยะรูซาเลม, พระวิหาร การตำหนิพวกอาลักษณ์กับพวกฟาริซาย
อย่างรุนแรง มัด. 23:1-39
ยะรูซาเลม, พระวิหาร เงินเหรียญค่าน้อยนิดของหญิงม่าย
ภูเขา คำพยากรณ์เรื่องความล่มจม
มะกอกเทศ ของยะรูซาเลม, การเสด็จประทับของ
พระเยซู, อวสานของระบบ มัด. 24:1-51
ภูเขา อุทาหรณ์: สาวพรหมจารีสิบคน,
มะกอกเทศ เงินตะลันต์, แกะและแพะ มัด. 25:1-46
ยะรูซาเลม ยูดาต่อรองกับพวกปุโรหิตสำหรับ
การทรยศพระเยซู มัด. 26:14-16
13 ไนซาน บริเวณใกล้เคียง การตระเตรียมสำหรับปัศคา
(บ่ายวัน และในกรุง มัด. 26:17-19 มโก. 14:12-16
พฤหัสบดี) ยะรูซาเลม ลูกา 22:7-13
ยะรูซาเลม พระเยซูทรงล้างเท้าพวกอัครสาวก
ยะรูซาเลม ยูดาถูกชี้ตัวว่าเป็นคนทรยศ
และถูกสั่งให้ออกไป
ยะรูซาเลม ตั้งอาหารมื้อเย็นเป็นอนุสรณ์
กับอัครสาวก 11 คน
ยะรูซาเลม ทรงบอกล่วงหน้าเรื่องที่เปโตรจะปฏิเสธ
พระองค์และการกระจัดกระจายของพวก
อัครสาวก มัด. 26:31-35 มโก. 14:27-31
ยะรูซาเลม ผู้ช่วยเหลือ; การรักซึ่งกันและกัน;
ความทุกข์ลำบาก; คำอธิษฐานของ
พระเยซู โย. 14:1–17:26
เฆ็ธเซมาเน ความปวดร้าวในสวน; พระเยซูถูกทรยศ
และถูกจับ มัด. 26:30, 36-56
ยะรูซาเลม ถูกอันนาศซักถาม; ถูกกายะฟากับ
ศาลซันเฮดรินสอบสวน; เปโตรปฏิเสธ
ยะรูซาเลม ยูดาคนทรยศแขวนคอตัวเอง
ยะรูซาเลม ต่อหน้าปีลาต แล้วก็เฮโรด,
แล้วกลับไปที่ปีลาต
ยะรูซาเลม ถูกส่งไปประหาร หลังจาก
ปีลาตหาทางปล่อยพระองค์
(ป. 15:00 น.
วันศุกร์) โกลโกทา, พระเยซูสิ้นพระชนม์บนเสาทรมาน,
ยะรูซาเลม และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดในเวลาเดียวกัน
ยะรูซาเลม พระศพของพระเยซูถูกนำลงจาก
เสาทรมานและนำไปฝัง
15 ไนซาน ยะรูซาเลม พวกปุโรหิตกับพวกฟาริซายให้เฝ้า
อุโมงค์ฝังศพไว้ มัด. 27:62-66
16 ไนซาน ยะรูซาเลม พระเยซูคืนพระชนม์
และบริเวณ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ในวันนั้น
ใกล้เคียง มัด. 28:1-15 มโก. 16:1-8
ล. 16 ไนซาน ยะรูซาเลม; การปรากฏตัวของพระเยซู
แกลิลี คริสต์หลังจากนั้น มัด. 28:16-20
25 อียาร์ ภูเขามะกอกเทศ พระเยซูเสด็จสู่สวรรค์ 40 วัน
ใกล้เบธาเนีย หลังจากพระองค์คืนพระชนม์
คำถามเกี่ยวกับแผนภูมิ “เหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซูบนแผ่นดินโลก”:
(ก) จงบอกถึงเหตุการณ์เด่น ๆ บางอย่างในงานรับใช้ของพระเยซูจนถึงเวลาที่โยฮันผู้ให้บัพติสมาถูกจำคุก.
(ข) จงบอกสถานที่และปีที่เกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้: (1) การเรียกซีโมนกับอันดะเรอา, ยาโกโบกับโยฮัน. (2) การเลือกอัครสาวก 12 คน. (3) คำเทศน์บนภูเขา. (4) การจำแลงพระกาย. (5) การปลุกลาซะโรให้เป็นขึ้นจากบรรดาคนตาย. (6) พระเยซูเสด็จเยือนบ้านซักคาย.
(ค) จงบอกถึงการอัศจรรย์เด่น ๆ บางอย่างที่พระเยซูทรงทำ; บอกว่าการอัศจรรย์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไรและที่ไหน.
(ง) เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระเยซูซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 8 ถึง 16 เดือนไนซาน ปี ส.ศ. 33 มีอะไรบ้าง?
(จ) อุทาหรณ์เด่น ๆ ที่พระเยซูทรงยกขึ้นมากล่าวระหว่างงานรับใช้ของพระองค์บนแผ่นดินโลกมีอะไรบ้าง?
[แผนภูมิหน้า 369]
แผนภูมิเวลาเด่น ๆ ในประวัติศาสตร์
เครื่องหมาย: ก. สำหรับ “ก่อน”; ล. สำหรับ “หลัง”; ป. สำหรับ “ประมาณ.”
เวลา เหตุการณ์ ข้ออ้างอิง
4026 ก.ส.ศ. การสร้างอาดาม เย. 2:7
ล. 4026 ก.ส.ศ. สัญญาไมตรีที่ทำในสวน เย. 3:15
เอเดน, คำพยากรณ์แรก
ก. 3896 ก.ส.ศ. คายินฆ่าเฮเบล เย. 4:8
3896 ก.ส.ศ. เซธเกิด เย. 5:3
3404 ก.ส.ศ. ฮะโนคผู้ชอบธรรมเกิด เย. 5:18
3339 ก.ส.ศ. มะธูเซลาเกิด เย. 5:21
3152 ก.ส.ศ. ลาเม็คเกิด เย. 5:25
3096 ก.ส.ศ. อาดามตาย เย. 5:5
3039 ก.ส.ศ. การเอาฮะโนคไป; สิ้นสุด เย. 5:23, 24;
ช่วงเวลาพยากรณ์ของท่าน ยูดา 14
2970 ก.ส.ศ. โนฮาเกิด เย. 5:28, 29
2490 ก.ส.ศ. พระเจ้าทรงแถลง เย. 6:3
เกี่ยวกับมนุษยชาติ
2468 ก.ส.ศ. เซมเกิด เย. 7:11; 11:10
2370 ก.ส.ศ. มะธูเซลาตาย เย. 5:27
เกิดน้ำท่วมโลก (ในฤดูใบไม้ร่วง) เย. 7:6, 11
2368 ก.ส.ศ. อาระฟักซัดเกิด เย. 11:10
ล. 2269 ก.ส.ศ. การสร้าง เย. 11:4
หอบาเบล
2020 ก.ส.ศ. โนฮาตาย เย. 9:28, 29
2018 ก.ส.ศ. อับราฮามเกิด เย. 11:26, 32; 12:4
1943 ก.ส.ศ. อับราฮามข้ามแม่น้ำยูเฟรทิส เย. 12:4, 7;
(ฟะราธ) บนเส้นทางสู่ เอ็ก. 12:40;
คะนาอัน; สัญญาไมตรีกับ ฆลา. 3:17
อับราฮามมีผลบังคับ; การเริ่มต้น
ของช่วงเวลา 430 ปี จนถึง
พระบัญญัติแห่งสัญญาไมตรี
ก. 1933 ก.ส.ศ. โลตได้รับการช่วยให้พ้นภัย; เย. 14:16, 18; 16:3
อับราฮามไปหาเมลคีเซเด็ก
1932 ก.ส.ศ. ยิศมาเอลเกิด เย. 16:15, 16
1919 ก.ส.ศ. ทำสัญญาไมตรีเรื่องสุหนัต เย. 17:1, 10, 24
การพิพากษาเมืองโซโดม เย. 19:24
และโกโมร์ราห์
1918 ก.ส.ศ. ยิศฮาคเกิด เป็นพงศ์พันธุ์ เย. 21:2, 5;
ที่แท้จริง; การเริ่มต้นของ กิจ. 13:17-20
ช่วงเวลา ‘ประมาณ 450 ปี’
1913 ก.ส.ศ. ยิศฮาคหย่านม; ยิศมาเอล เย. 21:8; 15:13;
ถูกขับ; การเริ่มต้นของ กิจ. 7:6
ความยากลำบาก 400 ปี
1881 ก.ส.ศ. ซาราตาย เย. 17:17; 23:1
1878 ก.ส.ศ. ยิศฮาคแต่งงานกับริบะคา เย. 25:20
1868 ก.ส.ศ. เซมตาย เย. 11:11
1858 ก.ส.ศ. เอซาวกับยาโคบเกิด เย. 25:26
1843 ก.ส.ศ. อับราฮามตาย เย. 25:7
1818 ก.ส.ศ. เอซาวแต่งงานมีภรรยาสองคนแรก เย. 26:34
1795 ก.ส.ศ. ยิศมาเอลตาย เย. 25:17
1774 ก.ส.ศ. ยาโคบแต่งงานกับเลอาและราเฮ็ล เย. 29:23-30
1767 ก.ส.ศ. โยเซฟเกิด เย. 30:23, 24
1761 ก.ส.ศ. ยาโคบกลับจากฮาราน เย. 31:18, 41
สู่คะนาอัน
ป. 1761 ก.ส.ศ. ยาโคบปล้ำสู้กับทูตสวรรค์; เย. 32:24-28
ถูกตั้งชื่อว่ายิศราเอล
1738 ก.ส.ศ. ยิศฮาคตาย เย. 35:28, 29
1737 ก.ส.ศ. โยเซฟได้รับการแต่งตั้ง เย. 41:40, 46
เป็นนายกรัฐมนตรีของอียิปต์
1711 ก.ส.ศ. ยาโคบตาย เย. 47:28
1657 ก.ส.ศ. โยเซฟตาย เย. 50:26
ก. 1613 ก.ส.ศ. การทดลองโยบ โยบ 1:8; 42:16
ล. 1600 ก.ส.ศ. อียิปต์มีชื่อโดดเด่นใน เอ็ก. 1:8
ฐานะมหาอำนาจแรกของโลก
1593 ก.ส.ศ. โมเซเกิด เอ็ก. 2:2, 10
1553 ก.ส.ศ. โมเซเสนอตัวเป็นผู้ช่วย เอ็ก. 2:11, 14, 15;
ให้รอด; หนีไปมิดยาน กิจ. 7:23
ป. 1514 ก.ส.ศ. โมเซเห็นพุ่มไม้ที่ เอ็ก. 3:2
มีไฟลุกโพลงอยู่
1513 ก.ส.ศ. ปัศคา; ชาวยิศราเอลออกจาก เอ็ก. 12:12;
อียิปต์; การช่วยให้รอดที่ทะเลแดง; เอ็ก. 14:27, 29, 30;
อำนาจของอียิปต์สั่นคลอน; ช่วง เย. 15:13, 14
400 ปี แห่งความยากลำบากสิ้นสุด
ทำสัญญาไมตรีโดยทางพระบัญญัติ เอ็ก. 24:6-8
ที่ภูเขาไซนาย (โฮเร็บ)
1512 ก.ส.ศ. สร้างพลับพลา เอ็ก. 40:17
เสร็จ
การแต่งตั้งคณะปุโรหิต เลวี. 8:34-36
เชื้อสายอาโรน
โมเซเขียนพระธรรม เลวี. 27:34;
เอ็กโซโดกับเลวีติโกเสร็จ อาฤ. 1:1
ป. 1473 ก.ส.ศ. โมเซเขียนพระธรรม โยบ 42:16, 17
โยบเสร็จ
1473 ก.ส.ศ. โมเซเขียนพระธรรม อาฤ. 35:1; 36:13
อาฤธโมเสร็จ ณ ที่ราบโมอาบ
สัญญาไมตรีกับชาติยิศราเอลที่โมอาบ บัญ. 29:1
โมเซตายบนภูเขา บัญ. 34:1, 5, 7
เนโบในโมอาบ
ชาติยิศราเอลเข้าสู่แผ่นดิน ยโฮ. 4:19
คะนาอันภายใต้การนำของยะโฮซูอะ
1467 ก.ส.ศ. เสร็จสิ้นการพิชิตแผ่นดิน ยโฮ. 11:23;
ส่วนใหญ่; สิ้นสุดช่วงเวลา ยโฮ. 14:7, 10-15
‘ประมาณ 450 ปี’ ในพระธรรมกิจการ 13:17-20
ป. 1450 ก.ส.ศ. เขียนพระธรรมยะโฮซูอะเสร็จ ยโฮ. 1:1; 24:26
ยะโฮซูอะตาย ยโฮ. 24:29
1117 ก.ส.ศ. ซามูเอลเจิมซาอูลเป็น 1 ซามู. 10:24;
กษัตริย์ยิศราเอล กิจ. 13:21
1107 ก.ส.ศ. ดาวิดเกิดที่เบธเลเฮม 1 ซามู. 16:1
ป. 1100 ก.ส.ศ. ซามูเอลเขียนพระธรรม วินิจ. 21:25
ผู้วินิจฉัยเสร็จ
ป. 1090 ก.ส.ศ. ซามูเอลเขียนพระธรรม รูธ 4:18-22
ประวัตินางรูธเสร็จ
ป. 1078 ก.ส.ศ. เขียนพระธรรม 1 ซามูเอลเสร็จ 1 ซามู. 31:6
1077 ก.ส.ศ. ดาวิดขึ้นเป็นกษัตริย์ 2 ซามู. 2:4
ยูดาห์ที่เฮ็บโรน
1070 ก.ส.ศ. ดาวิดได้เป็นกษัตริย์เหนือชาติ 2 ซามู. 5:3-7
ยิศราเอลทั้งสิ้น; ตั้งยะรูซาเลม
เป็นนครหลวงของตน
ล. 1070 ก.ส.ศ. หีบสัญญาไมตรีถูกนำเข้ามา 2 ซามู. 6:15; 7:12-16
ในยะรูซาเลม; ทำสัญญาไมตรี
เรื่องราชอาณาจักรกับดาวิด
ป. 1040 ก.ส.ศ. ฆาดกับนาธานเขียน 2 ซามู. 24:18
พระธรรม 2 ซามูเอลเสร็จ
1037 ก.ส.ศ. ซะโลโมเป็นกษัตริย์ 1 กษัต. 1:39; 2:12
ยิศราเอลต่อจากดาวิด
1034 ก.ส.ศ. ซะโลโมเริ่มสร้าง 1 กษัต. 6:1
พระวิหาร
1027 ก.ส.ศ. สร้างพระวิหารในยะรูซาเลมเสร็จ 1 กษัต. 6:38
ป. 1020 ก.ส.ศ. ซะโลโมเขียนพระธรรมเพลง ไพเราะ. 1:1
ไพเราะของกษัตริย์ซะโลโมเสร็จ
ก. 1000 ก.ส.ศ. ซะโลโมเขียนพระธรรม ผู้ป. 1:1
ท่านผู้ประกาศเสร็จ
997 ก.ส.ศ. ระฮับอามเป็นกษัตริย์สืบต่อ 1 กษัต. 11:43;
จากซะโลโม; อาณาจักรแบ่ง 1 กษัต. 12:19, 20
แยก; ยาระบะอามเริ่มครอง
ราชย์เป็นกษัตริย์ยิศราเอล
993 ก.ส.ศ. ชีชัคแห่งอียิปต์มารุกรานยูดาห์ 1 กษัต. 14:25, 26
และขนเอาทรัพย์สมบัติไปจากพระวิหาร
980 ก.ส.ศ. อะบียาม (อะบียา) เป็นกษัตริย์ 1 กษัต. 15:1, 2
ยูดาห์ต่อจากระฮับอาม
977 ก.ส.ศ. อาซาเป็นกษัตริย์ยูดาห์ 1 กษัต. 15:9, 10
ต่อจากอะบียาม
ป. 976 ก.ส.ศ. นาดาบเป็นกษัตริย์ยิศราเอล 1 กษัต. 14:20
ต่อจากยาระบะอาม
ป. 975 ก.ส.ศ. บาอะซาเป็นกษัตริย์ 1 กษัต. 15:33
ยิศราเอลต่อจากนาดาบ
ป. 952 ก.ส.ศ. เอลาเป็นกษัตริย์ยิศราเอล 1 กษัต. 16:8
ต่อจากบาอะซา
ป. 951 ก.ส.ศ. ซิมรีเป็นกษัตริย์ 1 กษัต. 16:15
ยิศราเอลต่อจากเอลา
อัมรีกับธิบนีเป็นกษัตริย์ 1 กษัต. 16:21
ยิศราเอลต่อจากซิมรี
ป. 947 ก.ส.ศ. อัมรีปกครองเป็นกษัตริย์ 1 กษัต. 16:22, 23
ยิศราเอลเพียงผู้เดียว
ป. 940 ก.ส.ศ. อาฮาบเป็นกษัตริย์ 1 กษัต. 16:29
ยิศราเอลต่อจากอัมรี
936 ก.ส.ศ. ยะโฮซาฟาดเป็นกษัตริย์ 1 กษัต. 22:41, 42
ยูดาห์ต่อจากอาซา
ป. 919 ก.ส.ศ. อาฮัศยาเป็นกษัตริย์ยิศราเอล 1 กษัต. 22:51, 52
แต่ผู้เดียวต่อจากอาฮาบ
ป. 917 ก.ส.ศ. ยะโฮรามแห่งยิศราเอลเป็น 2 กษัต. 3:1
กษัตริย์แต่ผู้เดียวต่อจากอาฮัศยา
913 ก.ส.ศ. ยะโฮรามแห่งยูดาห์ ‘ได้เป็น 2 กษัต. 8:16, 17
กษัตริย์’ พร้อมกับยะโฮซาฟาด
ป. 906 ก.ส.ศ. อาฮัศยาเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 8:25, 26
ยูดาห์ต่อจากยะโฮราม
ป. 905 ก.ส.ศ. ราชินีอะธัลยา 2 กษัต. 11:1-3
ชิงบัลลังก์ยูดาห์
เยฮูเป็นกษัตริย์ยิศราเอล 2 กษัต. 9:24, 27;
ต่อจากยะโฮราม 2 กษัต. 10:36
898 ก.ส.ศ. ยะโฮอาศเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 12:1
ยูดาห์ต่อจากอาฮัศยา
876 ก.ส.ศ. ยะโฮอาฮัดเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 13:1
ยิศราเอลต่อจากเยฮู
ป. 859 ก.ส.ศ. ยะโฮอาศเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 13:10
ยิศราเอลแต่ผู้เดียวต่อจากยะโฮอาฮัด
858 ก.ส.ศ. อะมาซียาเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 14:1, 2
ยูดาห์ต่อจากยะโฮอาศ
ป. 844 ก.ส.ศ. ยาระบะอามที่ 2 เป็น 2 กษัต. 14:23
กษัตริย์ยิศราเอลต่อจากยะโฮอาศ
โยนาเขียนพระธรรม โยนา 1:1, 2
โยนาเสร็จ
829 ก.ส.ศ. อุซียา (อะซาระยา) เป็น 2 กษัต. 15:1, 2
กษัตริย์ยูดาห์ต่อจากอะมาซียา
ป. 820 ก.ส.ศ. คงจะมีการเขียนพระธรรมโยเอล โยเอล 1:1
ป. 804 ก.ส.ศ. อาโมศเขียนพระธรรม อาโมศ 1:1
อาโมศเสร็จ
ป. 792 ก.ส.ศ. ซะคาเรียปกครองเป็น 2 กษัต. 15:8
กษัตริย์ยิศราเอล (6 เดือน)
ป. 791 ก.ส.ศ. ซาลุมเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 15:13, 17
ยิศราเอลต่อจากซะคาเรีย
มะนาเฮ็มเป็นกษัตริย์
ยิศราเอลต่อจากซาลุม
ป. 780 ก.ส.ศ. พคายาเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 15:23
ยิศราเอลต่อจากมะนาเฮ็ม
ป. 778 ก.ส.ศ. เพคาเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 15:27
ยิศราเอลต่อจากพคายา
ป. 778 ก.ส.ศ. ยะซายาเริ่มพยากรณ์ ยซา. 1:1; 6:1
777 ก.ส.ศ. โยธามเป็นกษัตริย์ยูดาห์ 2 กษัต. 15:32, 33
ต่อจากอุซียา (อะซาระยา)
ป. 761 ก.ส.ศ. อาฮาศเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 16:1, 2
ยูดาห์ต่อจากโยธาม
ป. 758 ก.ส.ศ. โฮเซอา “ขึ้นเสวยราชย์” 2 กษัต. 15:30
เป็นกษัตริย์ยิศราเอล
745 ก.ส.ศ. ฮิศคียาเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 18:1, 2
ยูดาห์ต่อจากอาฮาศ
ล. 745 ก.ส.ศ. โฮเซอาเขียนพระธรรม โฮ. 1:1
โฮเซอาเสร็จ
740 ก.ส.ศ. อัสซีเรียพิชิตยิศราเอล, 2 กษัต. 17:6, 13, 18
ยึดครองซะมาเรีย
732 ก.ส.ศ. ซันเฮริบรุกรานยูดาห์ 2 กษัต. 18:13
ล. 732 ก.ส.ศ. ยะซายาเขียนพระธรรม ยซา. 1:1
ยะซายาเสร็จ
ก. 717 ก.ส.ศ. มีคาเขียนพระธรรม มีคา 1:1
มีคาเสร็จ
ป. 717 ก.ส.ศ. การรวบรวมพระธรรม สุภา. 25:1
สุภาษิตเสร็จสมบูรณ์
716 ก.ส.ศ. มะนาเซเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 21:1
ยูดาห์ต่อจากฮิศคียา
661 ก.ส.ศ. เอโมนเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 21:19
ยูดาห์ต่อจากมะนาเซ
659 ก.ส.ศ. โยซียาเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 22:1
ยูดาห์ต่อจากเอโมน
ก. 648 ก.ส.ศ. ซะฟันยาเขียน ซฟัน. 1:1
พระธรรมซะฟันยาเสร็จ
647 ก.ส.ศ. ยิระมะยาได้รับมอบ ยิระ. 1:1, 2, 9, 10
หมายเป็นผู้พยากรณ์
ก. 632 ก.ส.ศ. นาฮูมเขียนพระธรรม นาฮูม 1:1
นาฮูมเสร็จ
632 ก.ส.ศ. กรุงนีนะเวแตกแก่ นาฮูม 3:7
บาบูโลนกับมีเดีย
ตอนนี้บาบูโลนอยู่ในฐานะ
ที่จะเป็นมหาอำนาจที่สามของโลก
628 ก.ส.ศ. ยะโฮอาฮัศ รัชทายาทของ 2 กษัต. 23:31
โยซียา ปกครองเป็นกษัตริย์ยูดาห์
ยะโฮยาคิมเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 23:36
ยูดาห์ต่อจากยะโฮอาฮัศ
ป. 628 ก.ส.ศ. ฮะบาฆูคเขียน ฮบา. 1:1
พระธรรมฮะบาฆูคเสร็จ
625 ก.ส.ศ. นะบูคัดเนซัร (ที่ 2) ขึ้น ยิระ. 25:1
เป็นกษัตริย์บาบูโลน; ปี
แห่งรัชกาลปีแรกนับตั้งแต่
เดือนไนซานปี 624 ก.ส.ศ.
620 ก.ส.ศ. นะบูคัดเนซัรตั้งยะโฮยาคิม 2 กษัต. 24:1
เป็นกษัตริย์ประเทศราช
618 ก.ส.ศ. ยะโฮยาคินขึ้นเป็นกษัตริย์ 2 กษัต. 24:6, 8
ที่ยูดาห์ต่อจากยะโฮยาคิม
617 ก.ส.ศ. นะบูคัดเนซัรกวาดต้อนเชลย ดานิ. 1:1-4;
ชาวยิวพวกแรกไปบาบูโลน
ซิดคียาถูกตั้งเป็นกษัตริย์ยูดาห์ 2 กษัต. 24:12-18
613 ก.ส.ศ. ยะเอศเคลเริ่มพยากรณ์ ยเอศ. 1:1-3
609 ก.ส.ศ. นะบูคัดเนซัรยกมาตี 2 กษัต. 25:1, 2
ยูดาห์เป็นครั้งที่สาม;
เริ่มล้อมกรุงยะรูซาเลม
607 ก.ส.ศ. เดือนห้า (อับ) พระวิหารถูก 2 กษัต. 25:8-10;
ทำลายราบและกรุงยะรูซาเลมถูกทำลาย ยิระ. 52:12-14
เดือนเจ็ด ชาวยิวละทิ้ง 2 กษัต. 25:25, 26;
ยูดาห์; เริ่มนับ “เวลา ลูกา 21:24, ล.ม.
กำหนดของนานาชาติ”
ยิระมะยาเขียน คำนำบทเพลงร้องทุกข์
บทเพลงร้องทุกข์ ฉบับเซปตัวจินต์
ป. 607 ก.ส.ศ. โอบัดยาเขียน โอบัด. 1
พระธรรมโอบัดยา
ป. 591 ก.ส.ศ. ยะเอศเคลเขียนพระธรรม ยเอศ. 40:1; 29:17
ยะเอศเคลเสร็จ
580 ก.ส.ศ. พระธรรม 1 และ 2 กษัตริย์ ยิระ. 52:31;
และยิระมะยา เขียนเสร็จ 2 กษัต. 25:27
539 ก.ส.ศ. บาบูโลนแตกแก่มีเดียกับ ดานิ. 5:30, 31
เปอร์เซีย; มีเดีย–เปอร์เซียกลาย
เป็นมหาอำนาจที่สี่ของโลก
537 ก.ส.ศ. ราชโองการของไซรัสแห่ง 2 โคร. 36:22, 23;
เปอร์เซียที่อนุญาตให้ ยิระ. 25:12; 29:10
ชาวยิวกลับสู่ยะรูซาเลม
มีผลบังคับ; ความร้างเปล่า
70 ปีของยะรูซาเลมสิ้นสุด
ป. 536 ก.ส.ศ. ดานิเอลเขียน ดานิ. 10:1
พระธรรมดานิเอลเสร็จ
536 ก.ส.ศ. ซะรูบาเบลวางราก เอษรา 3:8-10
พระวิหาร
522 ก.ส.ศ. งานสร้างพระวิหาร เอษรา 4:23, 24
ถูกสั่งห้าม
520 ก.ส.ศ. ฮาฆีเขียนพระธรรม ฮาฆี 1:1
ฮาฆีเสร็จ
518 ก.ส.ศ. ซะคาระยาเขียนพระธรรม ซคา. 1:1
ซะคาระยาเสร็จ
515 ก.ส.ศ. ซะรูบาเบลสร้างพระวิหาร เอษรา 6:14, 15
หลังที่สองเสร็จ
468 ก.ส.ศ. เอษราและพวกปุโรหิต เอษรา 7:7
กลับสู่ยะรูซาเลม
ป. 460 ก.ส.ศ. เอษราเขียนพระธรรม 1 และ เอษรา 1:1;
2 โครนิกา และพระธรรมเอษราเสร็จ; 2 โคร. 36:22
การรวบรวมเพลงสรรเสริญช่วงสุดท้าย
455 ก.ส.ศ. นะเฮมยาสร้างกำแพงกรุงยะรูซาเลม นเฮม. 1:1;
ขึ้นใหม่; คำพยากรณ์เรื่อง นเฮม. 2:1, 11; 6:15;
70 สัปดาห์เริ่มสำเร็จเป็นจริง ดานิ. 9:24
ล. 443 ก.ส.ศ. นะเฮมยาเขียนพระธรรม นเฮม. 5:14
นะเฮมยาเสร็จ
มาลาคีเขียนพระธรรม มลคี. 1:1
มาลาคีเสร็จ
406 ก.ส.ศ. ดูเหมือนว่าการสร้างกรุงยะรูซาเลม ดานิ. 9:25
ขึ้นใหม่เสร็จสมบูรณ์
332 ก.ส.ศ. กรีซ มหาอำนาจที่ห้าของโลก ดานิ. 8:21
ยึดครองยูดาห์
ป. 280 ก.ส.ศ. เริ่มแปลพระคัมภีร์ฉบับกรีกเซปตัวจินต์
165 ก.ส.ศ. การอุทิศพระวิหารครั้งใหม่ โย. 10:22
หลังจากการหมิ่นความศักดิ์สิทธิ์
โดยการไหว้รูปเคารพของ
ชาวกรีก; งานฉลองการอุทิศ
ป. 37 ก.ส.ศ. เฮโรด (ซึ่งโรมแต่งตั้งเป็น
กษัตริย์) บุกยึดกรุงยะรูซาเลม
2 ก.ส.ศ. โยฮันผู้ให้บัพติสมาโยฮันผู้ให้ ลูกา 1:60; 2:7
บัพติสมาและพระเยซูเกิด
ส.ศ. 29 โยฮันและพระเยซู ลูกา 3:1, 2, 23
เริ่มงานรับใช้
ส.ศ. 33 วันที่ 14 เดือนไนซาน: ลูกา 22:20;
พระเยซูเป็นเครื่องบูชาที่ 23:33
ให้พื้นฐานไว้สำหรับ
สัญญาไมตรีใหม่; ถูกตรึง
วันที่ 16 เดือนไนซาน: มัด. 28:1-10
การคืนพระชนม์ของพระเยซู
วันที่ 6 เดือนซีวาน กิจ. 2:1-17, 38
เพนเตคอสเต: การเทพระวิญญาณ
บริสุทธิ์; เปโตรเปิดทางให้ชาวยิว
เข้าสู่ประชาคมคริสเตียน
ส.ศ. 36 สิ้นสุด 70 สัปดาห์แห่งปี; ดานิ. 9:24-27;
เปโตรไปหาโกระเนเลียว กิจ. 10:1, 45
คนต่างชาติซึ่งไม่ได้
รับสุหนัตคนแรกที่
เข้าสู่ประชาคมคริสเตียน
ป. ส.ศ. 41 มัดธายเขียนกิตติคุณ
ที่มีชื่อว่า “มัดธาย”
ป. ส.ศ. 47-48 เปาโลเริ่มงานเดินทางเผยแพร่ กิจ. 13:1–14:28
ในต่างประเทศรอบแรก
ป. ส.ศ. 49 คณะกรรมการปกครอง กิจ. 15:28, 29
ตัดสินว่าไม่มีข้อเรียกร้อง
ให้รับสุหนัตสำหรับ
ผู้เชื่อถือจากชาติต่าง ๆ
ป. ส.ศ. 49-52 การเดินทางเผยแพร่ในต่าง กิจ. 15:36–18:22
ประเทศรอบที่สองของเปาโล
ป. ส.ศ. 50 เปาโลเขียน 1 เธซะโลนิเก 1 เธ. 1:1
จากโกรินโธ
ป. ส.ศ. 51 เปาโลเขียน 2 เธซะโลนิเก 2 เธ. 1:1
จากโกรินโธ
ป. ส.ศ. 50-52 เปาโลเขียนจดหมายจาก ฆลา. 1:1
โกรินโธ หรือไม่ก็อันติโอเกีย
ในซีเรียถึงชาวฆะลาเตีย
ป. ส.ศ. 52-56 การเดินทางเผยแพร่ในต่าง กิจ. 18:23–21:19
ประเทศรอบที่สามของเปาโล
ป. ส.ศ. 55 เปาโลเขียน 1 โกรินโธ 1 โก. 15:32;
จากเอเฟโซ และ 2 โกรินโธ 2 โก. 2:12, 13
จากมาซิโดเนีย
ป. ส.ศ. 56 เปาโลเขียนจดหมายจากโกรินโธ โรม 16:1
ถึงคริสเตียนในโรม
ป. ส.ศ. 56-58 ลูกาเขียนกิตติคุณ ลูกา 1:1, 2
ที่มีชื่อว่า “ลูกา”
ป. ส.ศ. 60-61 เปาโลเขียนจากโรมถึง:
ชาวเอเฟโซ เอเฟ. 3:1
ชาวฟิลิปปี ฟิลิป. 4:22
ชาวโกโลซาย โกโล. 4:18
ฟิเลโมน ฟิเล. 1
ป. ส.ศ. 61 เปาโลเขียนจดหมายจาก เฮ็บ. 13:24; 10:34
โรมถึงคริสเตียนชาวฮีบรู
ลูกาเขียนพระธรรม
กิจการเสร็จในโรม
ป. ส.ศ. 60-65 มาระโกเขียนกิตติคุณ
ที่มีชื่อว่า “มาระโก”
ป. ส.ศ. 61-64 เปาโลเขียน 1 ติโมเธียว 1 ติโม. 1:3
จากมาซิโดเนีย
เปาโลเขียนจากมาซิโดเนีย ติโต 1:5
(?) ถึงติโต
ป. ส.ศ. 62-64 เปโตรเขียน 1 เปโตร 1 เป. 1:1; 5:13
จากบาบูโลน
ป. ส.ศ. 64 เปโตรเขียน 2 เปโตร 2 เป. 1:1
จากบาบูโลน (?)
ป. ส.ศ. 65 เปาโลเขียน 2 ติโมเธียว 2 ติโม. 4:16-18
จากโรม
ป. ส.ศ. 96 โยฮันเขียนพระธรรมวิวรณ์ วิ. 1:9
บนเกาะปัตโมส
ป. ส.ศ. 98 โยฮันเขียนกิตติคุณที่มีชื่อว่า โย. 21:22, 23
“โยฮัน” และจดหมายของท่าน
1, 2, และ 3 โยฮัน;
การเขียนพระคัมภีร์เสร็จสมบูรณ์
ป. ส.ศ. 100 โยฮัน อัครสาวก 2 เธ. 2:7
คนสุดท้ายสิ้นชีวิต
หมายเหตุ: ควรจำไว้ว่าขณะที่เวลาเหล่านี้หลายรายการกำหนดไว้แน่นอน แต่ในบางกรณี มีการให้เวลาโดยประมาณไว้โดยอาศัยหลักฐานเท่าที่หาได้. วัตถุประสงค์ของแผนภูมินี้ไม่ใช่เพื่อกำหนดเวลาตายตัวสำหรับเหตุการณ์แต่ละอย่าง แต่เพื่อช่วยนักศึกษาคัมภีร์ไบเบิลให้ทราบว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นตรงไหนในกระแสเวลาและเห็นว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร.
(ก) โดยการเปรียบเทียบแผนภูมิทั้งสองนี้ จงบอกชื่อผู้พยากรณ์และผู้เขียนคัมภีร์ไบเบิลบางคนที่มีชีวิตอยู่ (1) ก่อนการตั้งอาณาจักรยิศราเอลในปี 1117 ก.ส.ศ. (2) ระหว่างสมัยแห่งอาณาจักรยิศราเอลและยูดาห์ (3) ระหว่างเวลาตั้งแต่ตอนเริ่มต้นของการถูกเนรเทศไปอยู่บาบูโลนจนกระทั่งสารบบพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูครบถ้วน.
(ข) จงบอกเวลาที่เปาโลเขียนจดหมายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเผยแพร่ของท่านในต่างประเทศ.
(ค) คุณสังเกตเห็นจุดที่น่าสนใจอื่นอะไรบ้างเกี่ยวกับเวลาที่มีการเขียนพระธรรมเล่มอื่น ๆ ในพระคัมภีร์คริสเตียนภาคภาษากรีก?
(ง) จงเชื่อมโยงบุคคลต่อไปนี้เข้ากับเหตุการณ์เด่นบางอย่างในประวัติศาสตร์คัมภีร์ไบเบิล โดยบอกว่าเขามีชีวิตอยู่ก่อนหรือหลังเหตุการณ์นั้น หรือผูกโยงเขาเข้ากับบุคคลอื่นซึ่งอยู่ในสมัยเดียวกัน: เซม, ซามูเอล, มะธูเซลา, โลต, กษัตริย์ซาอูล, ดาวิด, โยบ, กษัตริย์โฮเซอาแห่งยิศราเอล, ซะโลโม, อาโรน, กษัตริย์ซิดคียาแห่งยูดาห์.
(จ) มีเหตุการณ์โดดเด่นอะไรบ้างเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของ (1) โนฮา (2) อับราฮาม (3) โมเซ?
(ฉ) จงจับคู่ปี (ก.ส.ศ.) ต่อไปนี้กับเหตุการณ์เด่น ๆ ในรายการข้างล่าง: 4026, 2370, 1943, 1513, 1473, 1117, 997, 740, 607, 539, 537, 455.
การสร้างอาดาม
การทำสัญญาไมตรีโดยทางพระบัญญัติที่ไซนาย
ยะรูซาเลมถูกทำลาย
ชาติยิวกลับสู่ยะรูซาเลมหลังจากมีราชโองการของไซรัส
การเขียนคัมภีร์ไบเบิลที่มีขึ้นโดยการดลใจเริ่มต้น
น้ำท่วมโลกเริ่มต้น
บาบูโลนถูกชาวมีเดียกับเปอร์เซียยึด
กษัตริย์องค์แรกแห่งยิศราเอลได้รับการเจิม
อับราฮามข้ามแม่น้ำยูเฟรทิส; สัญญาไมตรีกับอับราฮามมีผลบังคับ
การแบ่งแยกอาณาจักรยิศราเอลกับยูดาห์
อาณาจักรทางเหนือถูกอัสซีเรียพิชิต
นะเฮมยาสร้างกำแพงกรุงยะรูซาเลมขึ้นใหม่
ชาติยิศราเอลได้รับการช่วยให้รอดจากอียิปต์
ยะโฮซูอะนำชาติยิศราเอลเข้าสู่คะนาอัน
ความร้างเปล่านาน 70 ปีของยะรูซาเลมสิ้นสุด
[แผนภูมิหน้า 375]
ตารางรายการพระธรรมต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิล
(เวลา [และสถานที่เขียน] บางรายการไม่แน่นอน. เครื่องหมาย ก. หมายถึง “ก่อน”; ล. หมายถึง “หลัง”; และ ป. หมายถึง “ประมาณ.”)
พระธรรมต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ภาคภาษาฮีบรูก่อนสากลศักราช (ก.ส.ศ.)
ชื่อ ผู้เขียน สถานที่เขียน เขียนเสร็จ ระยะเวลา
พระธรรม ที่ครอบคลุม
เยเนซิศ โมเซ ถิ่นทุรกันดาร 1513 “ในตอน
เริ่มต้น”
ถึง 1657
เอ็กโซโด โมเซ ถิ่นทุรกันดาร 1512 1657-1512
เลวีติโก โมเซ ถิ่นทุรกันดาร 1512 1 เดือน (1512)
อาฤธโม โมเซ ถิ่นทุรกันดาร/ 1473 1512-1473
ที่ราบ
โมอาบ
พระบัญญัติ โมเซ ที่ราบ 1473 2 เดือน (1473)
โมอาบ
ยะโฮซูอะ ยะโฮซูอะ คะนาอัน ป. 1450 1473–ป. 1450
วินิจฉัย ซามูเอล ยิศราเอล 1100 ป. 1450–ป. 1120
ประวัตินางรูธ ซามูเอล ยิศราเอล ป. 1090 11 ปีแห่งการปกครอง
โดยผู้วินิจฉัย
1 ซามูเอล ซามูเอล;
ฆาด;
นาธาน ยิศราเอล ป. 1078 ป. 1180–ป.1078
2 ซามูเอล ฆาด;
นาธาน ยิศราเอล ป. 1040 1077–ป. 1040
1 และ
2 กษัตริย์ ยิระมะยา ยูดาห์/อียิปต์ 580 ป. 1040-580
เอษรา เอษรา ยะรูซาเลม ป. 460 537–ป. 467
นะเฮมยา นะเฮมยา ยะรูซาเลม ล. 443 456–ล. 443
เอศเธระ มาระดะคาย ซูซัร,
เอลาม ป. 475 493–ป. 475
โยบ โมเซ ถิ่นทุรกันดาร ป. 1473 กว่า 140 ปีระหว่าง
ปี 1657
ถึง 1473
บทเพลง ดาวิด ป. 460
สรรเสริญ และคนอื่น ๆ
สุภาษิต ซะโลโม; ยะรูซาเลม ป. 717
อาฆูร (อากูร์);
ละมูเอล
ท่านผู้ประกาศ ซะโลโม ยะรูซาเลม ก. 1000
เพลงไพเราะของ ซะโลโม ยะรูซาเลม ป. 1020
กษัตริย์ซะโลโม
ยะซายา ยะซายา ยะรูซาเลม ล. 732 ป. 778–ล. 732
ยิระมะยา ยิระมะยา ยูดาห์/อียิปต์ 580 647-580
บทเพลง ยิระมะยา ใกล้ยะรูซาเลม 607
ร้องทุกข์
ยะเอศเคล ยะเอศเคล บาบูโลน ป. 591 613–ป. 591
ดานิเอล ดานิเอล บาบูโลน ป. 536 618–ป. 536
โฮเซอา โฮเซอา ซะมาเรีย ล. 745 ก. 804–ล. 745
(แคว้น)
โยเอล โยเอล ยูดาห์ ป. 820 (?)
อาโมศ อาโมศ ยูดาห์ ป. 804
โอบัดยา โอบัดยา ป. 607
โยนา โยนา ป. 844
มีคา มีคา ยูดาห์ ก. 717 ป. 777-717
นาฮูม นาฮูม ยูดาห์ ก. 632
ฮะบาฆูค ฮะบาฆูค ยูดาห์ ป. 628 (?)
ซะฟันยา ซะฟันยา ยูดาห์ ก. 648
ฮาฆี ฮาฆี ยะรูซาเลม 520 112 วัน (520)
ซะคาระยา ซะคาระยา ยะรูซาเลม 518 520-518
มาลาคี มาลาคี ยะรูซาเลม ล. 443
พระธรรมต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ภาคภาษากรีกซึ่งเขียนระหว่างสากลศักราช (ส.ศ.)
ชื่อ ผู้เขียน สถานที่เขียน เขียนเสร็จ ระยะเวลา
พระธรรม ที่ครอบคลุม
มัดธาย มัดธาย ปาเลสไตน์ ป. 41 2 ก.ส.ศ.–ส.ศ. 33
มาระโก มาระโก โรม ป. 60-65 ส.ศ. 29-33
ลูกา ลูกา ซีซาเรีย ป. 56-58 3 ก.ส.ศ.–ส.ศ. 33
โยฮัน อัครสาวก เอเฟโซหรือ ป. 98 หลังคำนำ
โยฮัน บริเวณใกล้เคียง ส.ศ. 29-33
กิจการ ลูกา โรม ป. 61 ส.ศ. 33–ป. 61
โรม เปาโล โกรินโธ ป. 56
1 โกรินโธ เปาโล เอเฟโซ ป. 55
2 โกรินโธ เปาโล มาซิโดเนีย ป. 55
ฆะลาเตีย เปาโล โกรินโธ ป. 50-52
หรืออันติโอเกีย
ในซีเรีย
เอเฟโซ เปาโล โรม ป. 60-61
ฟิลิปปอย เปาโล โรม ป. 60-61
โกโลซาย เปาโล โรม ป. 60-61
1 เธซะโลนิเก เปาโล โกรินโธ ป. 50
2 เธซะโลนิเก เปาโล โกรินโธ ป. 51
1 ติโมเธียว เปาโล มาซิโดเนีย ป. 61-64
2 ติโมเธียว เปาโล โรม ป. 65
ติโต เปาโล มาซิโดเนีย ป. 61-64
(?)
ฟิเลโมน เปาโล โรม ป. 60-61
เฮ็บราย เปาโล โรม ป. 61
ยาโกโบ ยาโกโบ ยะรูซาเลม ก. 62
(น้องชายพระเยซู)
1 เปโตร เปโตร บาบูโลน ป. 62-64
2 เปโตร เปโตร บาบูโลน (?) ป. 64
1 โยฮัน อัครสาวก เอเฟโซหรือ ป. 98
โยฮัน บริเวณใกล้เคียง
2 โยฮัน อัครสาวก เอเฟโซหรือ ป. 98
โยฮัน บริเวณใกล้เคียง
3 โยฮัน อัครสาวก เอเฟโซหรือ ป. 98
โยฮัน บริเวณใกล้เคียง
ยูดา ยูดา(น้องชาย ปาเลสไตน์ (?) ป. 65
พระเยซู)
วิวรณ์ อัครสาวก ปัตโมส ป. 96
โยฮัน